การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน
กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 10 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน”
การสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น เป็นแนวทางในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนหรือท้องถิ่นในพื้นที่บริการของโรงเรียน และเปิดโอกาสให้ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงาน หรือองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ส่งเสริม สนับสนุนคุณภาพของการศึกษา เพื่อมุ่งหวังให้โรงเรียนได้มีการจัดการศึกษาให้ตรงตามความต้องการของชุมชน โดยโรงเรียนบ้านแม่คะ โรงเรียนต้นเรื่องจะร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงแนวทาง หรือวิธีการในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนต่อไป
โรงเรียนบ้านแม่คะ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 จัดการเรียนการสอนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนส่วนใหญ่เป็นชนชาติพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธุ์ พื้นที่เขตบริการของตำบลแม่คะทั้งหมด 15 หมู่บ้าน และพื้นที่เขตบริการของโรงเรียนจำนวน 6 หมู่บ้าน อาชีพของชุมชนส่วนใหญ่ ค้าขาย รับจ้าง และเกษตรกรรม
ความสำคัญของการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน เนื่องจากการศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ชุมชน รวมถึงคณะกรรมการการศึกษา ที่ได้มีบทบาทสำคัญในการเป็นแรงผลักดันช่วยผู้บริหารและครูให้ทำงานได้สำเร็จ ตลอดจนให้การสนับสนุนสถานศึกษา นอกจากนี้ โรงเรียนยังได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือจากองค์กรหรือหน่วยงานในพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้เป็นองค์กรที่ใหญ่ขึ้นในการร่วมกันพัฒนาโรงเรียน หรือที่เรียกว่า “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน คือสามเสาหลักการบริหารงานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จะเห็นได้ว่า โรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ การร่วมมือกันเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนจึงมีความสำคัญ เพราะช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ลดและแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน ช่วยให้ทราบความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย และช่วยให้เกิดการมีส่วนร่วมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ทั้งสองฝ่ายอีกด้วย
สำหรับเทคนิคในการสร้างเครือข่ายกับชุมชน โรงเรียนใช้หลักการสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจ เพื่อพัฒนาสู่ความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน ผ่านเทคนิค 3S’s ในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนจากชุมชน ดังนี้
1) Shared vision การสร้างให้ชุมชนมีวิสัยทัศน์ร่วมกันกับสถานศึกษา ในการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองของนักเรียนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ เป็นคนเก่ง คนดี
2) Synergy การรวมพลังประสานความร่วมมือกับชุมชนให้ทำงานร่วมกับสถานศึกษา โดยเอาจุดแข็ง และความพร้อมของบุคคล และทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาสร้างสรรค์จนเกิดประโยชน์สูงสุด
3) School-based Activities การสร้างสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งความรู้ศูนย์กลางพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชุมชน รวมถึงการฝึกอบรมตามที่ชุมชนต้องการ เปิดดอกาสให้สมาชิกชุมชนที่มีความรู้เป็นปู้ถ่ายทอดภูมิความรู้
สรุปได้ว่า การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้ามามีบทบาท มีส่วนร่วมในการพัฒนาในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานของโรงเรียนและชุมชนเป็นหนึ่งเดียวกัน มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผอ.สิราลักษณ์ ธนะเกียรติกุล โรงเรียนบ้านแม่คะ
ครูอุไรวรรณ พงษ์มี
คุณโกมล ศิริวงค์
ประธานกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านแม่คะ
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...