8 วิธีฝึกให้นักเรียนมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ
เบื่อตามงานนักเรียน ? นักเรียนไม่ส่งงานสักที
ก่อนอื่นจะต้องตั้งคำถามว่า ‘เพราะอะไรนักเรียนถึงไม่ส่งงาน หรือทำงานที่เราให้ไว้ไม่สำเร็จ?’
แล้วคุณครูจะมีตัวช่วยอะไรบ้าง ที่จะทำให้นักเรียนกลับมาอยู่ในลู่ทางของการทำงานให้สำเร็จ ?
วันนี้ Starfish ชวนอ่าน 8 วิธีฝึกให้นักเรียนมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ เพื่อคุณครูจะได้ไม่ต้องเหนื่อยตามงานกันนะคะ
1. ฝึกให้นักเรียนจดจ่อ ผ่านการตั้งเป้าหมายส่วนตัวของนักเรียนรายบุคคล
กลวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง ก็คือการที่คุณครูให้การบ้าน หรืองานตามความสนใจส่วนตัว และตรงกับเป้าหมายส่วนตัวของนักเรียน โดยการเริ่มให้นักเรียนแลกเปลี่ยนเป้าหมาย หรือสิ่งที่อยากทำกับเพื่อนในกลุ่ม แล้วปล่อยให้นักเรียนลงมือทำงาน อาจจะมีนักเรียนบางคนที่หลุดโฟกัสกับสิ่งที่ตัวเองทำ แต่โอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อย ถ้าหากนักเรียนมีเป้าหมายในงานของตัวเองชัดเจน
2. ฝึกให้นักเรียนจดจ่อ ผ่านการตั้งนาฬิกาจับเวลาเพื่อนับถอยหลัง
นักเรียนจะมีทักษะการจัดเวลาได้ ต้องตระหนักรู้และเข้าใจเรื่องเวลาที่นักเรียนจะสูญเสียไป ดังนั้นการตั้งนาฬิกาจับเวลา เป็นวิธีการที่มีประโยชน์เสมอ ใช้ได้ทั้งกับเด็กเล็กและเด็กโต การจับเวลานับถอยหลังจะช่วยให้นักเรียนรู้ว่าเหลือเวลาเท่าไหร่ในการจัดการงานแต่ละชิ้น และวิธีนี้ช่วยให้กระตุ้นนักเรียนให้จดจ่อได้ดีเลยทีเดียว
3. หาคู่หู เพื่อการรับผิดชอบงานร่วมกัน
บ่อยครั้งที่ผู้ใหญ่อย่างเราเองก็ต้องมีเพื่อนร่วมชะตากรรมในการทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ เช่น การตั้งใจที่จะลดน้ำหนักให้ได้ เพราะการมีเพื่อนร่วมชะตากรรม หรือมีเป้าหมายเดียวกัน จะช่วยทำให้สิ่งที่ตั้งใจมีโอกาสสำเร็จมากยิ่งขึ้น ลองกลับมาสู่ห้องเรียน สิ่งที่คุณครูต้องทำคือ นักเรียนเลือกเพื่อน 1 คน ซึ่งคุณครูจะต้องชี้แจงบทบาทหน้าที่ของการเป็น ‘คู่หู’ ว่า คู่หู จะต้องทำหน้าที่คอยเช็กอิน และติดตามการทำงานของกันและกันจนกว่างานจะสำเร็จ
4. มีช่วงเวลาที่ให้นักเรียนได้ ‘พักเบรก’ ที่ชัดเจน
สร้างกฎกติกาในการพักเบรกในห้องเรียนให้ชัดเจน เช่น การปล่อยให้นักเรียนได้หยุดพักจากการเรียน แล้วรีบกลับมาสู่โหมดทำงานต่อให้ไว เพื่อให้สมองของนักเรียนได้พัก ได้มีการพูดคุยกับเพื่อนๆ เป็นต้น
5. ฝึกให้นักเรียนจดจ่อ ผ่านการทำงานแบบโปรเจกต์
การฝึกให้นักเรียนทำงานแบบโปรเจกต์ จะช่วยให้นักเรียนเห็น Timeline หรือระยะทั้งหมดของการทำงานชิ้นหนึ่งให้สำเร็จ คุณครูมีหน้าที่สอบถาม หรือบอกความคาดหวังว่า โปรเจกต์นี้ควรเสร็จเมื่อไหร่ และให้นักเรียนลองแตกย่อยสิ่งที่ต้องทำเป็นรายสัปดาห์ หรือรายวัน และจัดลำดับความสำคัญของงานให้ถูกต้อง ซึ่งอาจจะมีบ้างที่นักเรียนบางคนหลุดจาก Timeline ที่ตั้งใจไว้ แต่อย่างน้อยวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณครูติดตามความก้าวหน้าในงานของนักเรียนได้
6. ใช้วิธี ‘ASK 3, ASK ME’
บางครั้งการที่นักเรียนไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ เพราะว่านักเรียนอาจจะไม่เข้าใจคำชี้แจงของงาน และด้วยความที่มีนักเรียนหลายคน อาจทำให้คุณครูไม่สามารถตอบคำถามได้หมด ดังนั้นลองใช้วิธี ASK 3, ASK ME คือ การให้นักเรียนที่กำลังติดปัญหาในการทำงานถามเพื่อน 3 คน ซึ่งเป็นคนที่รู้วิธีการทำงานในขั้นตอนต่อไป และหลังจากนั้นก็ค่อยมาถามครู ถ้าเพื่อนทั้ง 3 คน ยังไม่สามารถที่จะให้คำตอบได้ วิธีการนี้จะช่วยแก้ปัญหาและลดระยะในการทำงานของคุณครูด้วย และอาจเป็นวิธีการที่ช่วยตรวจสอบว่าคำชี้แจงของคุณครูนั้นชัดเจนหรือไม่
7. แจก Checklist ให้นักเรียน
การแจก Checklist หรือกระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอนให้กับนักเรียน ก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้นักเรียนเห็นความก้าวหน้าในการทำงานของตัวเองได้ เพราะนักเรียนหลายคนที่ทำงานไม่สำเร็จ อาจเป็นเพราะเขาไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหนของกระบวนการทำงานทั้งหมด เพราะฉะนั้น ถ้าคุณครูแจก Checklist ให้นักเรียน อาจจะในรูปแบบของกระดาษ หรือติดบนบอร์ดผนังห้อง ก็จะช่วยได้
8. มีช่วงเวลาติดตามงานนักเรียนชัดเจน และทำอย่างเป็นประจำ
หากคุณครูออกแบบห้องเรียนที่มีช่วงเวลาในการติดตามงานที่ชัดเจน เช่น อาจจะใช้เวลาในแต่คาบเรียนประมาณ 1 นาที เพื่อติดตามงานของแต่ละคน หรืออาจให้นักเรียนนัดวันมา โดยใช้คำถามสั้นประมาณ 2 คำถาม เช่น ‘นักเรียนทำอะไรไปบ้างในสัปดาห์นี้’ และ ‘นักเรียนจะต้องทำอะไรต่อไป’ และอย่าลืมสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายให้กับนักเรียนสำหรับช่วงเวลาในการติดตามงานนี้ เพื่อไม่ให้เป็นการกดดันมากเกินไป
แปลและเรียบเรียงจาก
Moss. (2017). 8 No-Fail Ideas for Keeping Kids on Task. bit.ly/3B0R9XX
Related Courses
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกายระดับชั้น ม.ต้น
วัยรุ่น หากมีร่างกายที่สมส่วนย่อมทำให้มีสุขภาพดี การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะส่งผลร่างกายแข็งแร ...