4 เสาหลัก ทักษะครูเหนือกาลเวลา
โดยธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความแตกต่างทางความคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเห็นความต่างให้ได้ เพราะถ้าเริ่มกระบวนการเรียนรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในโหมดหรือฐานะใด สุดท้ายแล้วธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีความแตกต่างทางความคิดเห็น ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเน้นทักษะการสะท้อนและการถามที่ไม่จำเป็นต้องใช้เฉพาะในห้องเรียน แต่สามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ จุดหมายสำคัญคือการสร้างสัมพันธภาพที่นำไปสู่การเรียนรู้จากกระบวนการออกแบบที่หลากหลาย
ความเชื่อพื้นฐานของการเรียนรู้ร่วมกัน โดยธรรมชาติของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นลักษณะ ดังนี้
1) เมื่อใดที่ครูทำให้ห้องเรียนเกิดการแข่งขัน การแบ่งปันในห้องเรียนจะลดลง
2) ถ้าครูแบ่งปัน ครูจะเลือกแบ่งปันให้กับคนที่ครูรักก่อน และ
3) นักเรียนจะบอกความจริงกับครูที่ไว้ใจ
ฉะนั้น ความเชื่อที่ครูต้องมี คือ เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีศักยภาพพัฒนาได้ และเชื่อว่าสรรพสิ่งล้วนเชื่อมโยงถึงกันได้ ทั้งนี้ หน้าที่ของครู คือ กระบวนกรเพื่อการเรียนรู้ หรือเป็นผู้ออกแบบกระบวนการเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ซึ่งการออกแบบไม่ใช่เรื่องของการทำให้ดูดี แต่เป็นการที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าการออกแบบนั้นทำงานได้อย่างไร (สตีฟ จ๊อบ) ดังนั้น การออกแบบเพื่อการเรียนรู้ เป็นการสร้างปรากฏการณ์ให้เกิดการรับรู้ เพื่อเรียนรู้จากการมีประสบการณ์ร่วม อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญคือ “เด็กไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่พบเจอ เขาเรียนรู้จากการที่ได้สะท้อนความคิด ความเห็นหลังจากผ่านประสบการณ์นั้น” (จอห์น ดิวอี้)
จากประสบการณ์โดยตรง พบว่า การศึกษาควรจะทำให้คนมีคุณลักษณะ 4 อย่าง ที่เรียกว่า “Learning OS” คือ
1) Soft Skill + Moral เด็กมีความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้อื่น และทักษะชีวิต
2) Knowledge Discovery การแสวงหาความรู้เอง
3) Research Mindset มีทัศนคติชอบหาเหตุผลมากกว่าการเสพผล (หลักคิด : ผลเกิดจากเหตุ) 4) Practice & Create ได้ทำจริง ปฏิบัติจริง
ซึ่งมาจากการที่ครูมีหลักการ (ปรับฐานใจ ใช้ฐานกาย ขยายฐานคิด) และ 4 เสาหลัก ทักษะด้านฟัง สะท้อน ถาม ถอด สำหรับนักเรียนที่จะนำไปสู่ทักษะในศตวรรษที่ 21 (ร่วมงาน สื่อสาร คิดเหตุ-ผล คิดสร้างสรรค์) และที่สำคัญคือ ครูเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
สำหรับ 4 เสาหลักทักษะ สิ่งแรกเริ่มจากทักษะการฟัง โดย Otto Scharmer แบ่งการฟังไว้ 4 แบบคือ
1) Download การฟังเพื่อยืนยันความถูกต้องของสิ่งที่เราคิด
2) Factual ฟังเพื่อหาความถูกต้องหรือความผิดของเรื่องราวนั้น
3) Empathic การฟังเพื่อรับรู้ความรู้สึกของผู้เล่า
4) Generative การฟังอย่างมีความรู้สึกร่วม เพื่อความเข้าอกเข้าใจผู้เล่า
ต่อมาคือ การสะท้อนการรับรู้ หมายถึงเมื่อเราคุยหรือฟังใครสักคนหนึ่ง การสะท้อนคือการที่ยังไม่ได้ถาม แนะนำ ตัดสินหรือชี้นำ แต่เป็นการแสดงออกโดยการสะท้อนการรับรู้ เช่น การพยักหน้า หรือการใส่เครื่องหมาย “Pause” เพื่อให้คนพูดรู้ว่า “ฉันฟังอยู่” เป็นต้น แทนการใช้คำถาม
การสะท้อนการรับรู้ (Acknowledge) คือ การแสดงความรับรู้ด้วยประโยคสั้นๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณรับฟังและเข้าใจในคำถามหรือคำเสนอแนะ การเตรียมตอบคำถามเพื่อสนองตอบผู้พูด ดังนั้น หลักคิดการสะท้อนการรับรู้ คือ ชัดเจนและสัมพันธ์กับสิ่งที่ผู้พูดแสดงออกมา สั้น กระชับ และแสดงถึงความเข้าใจในสิ่งที่ผู้พูดกล่าวถึงหรือสนใจ ซึ่งวิธีการสะท้อนมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบที่ 1 การสะท้อนคำพูด โดยการทวนคำพูด แบบที่ 2 การสรุปใจความตามความเข้าใจ และแบบที่ 3 การสะท้อนความรู้สึก ดังนั้น สิ่งสำคัญของการสะท้อนมีเป้าหมายเดียว คือ “ฉันฟังเธออยู่ และรู้ว่าเธอพูด รู้สึกอะไร และเข้าใจอย่างไร” ซึ่งจะทำให้ผู้ที่สนทนาด้วยรู้สึกถึงความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้การสร้างสัมพันธ์ครั้งแรกง่ายขึ้น ยกตัวอย่างวลีที่สะท้อนการรับรู้ถึงความเข้าใจ เช่น ตามที่เข้าใจ ฉันรู้สึกว่า...., ผมจับความได้ว่า คุณ... สิ่งที่เราได้ยินคือ..., ผมเข้าใจความรู้สึกของคุณดีว่า... ฯลฯ เป็นต้น
สำหรับการถาม การถามไม่ใช่การตั้งคำถามแต่การถาม คือ การพูดคุย โดยทั่วไปครูส่วนใหญ่จะสะท้อนพร้อมคำถามซึ่งสามารถทำได้ แต่ข้อควรระวังคือ การดูปฏิกิริยาของผู้ที่สนทนาว่าต้องการพูดต่อหรือไม่ ทั้งนี้ ธรรมชาติของการถาม เริ่มต้นจากความสนใจ ประสบการณ์เดิมหรือสิ่งเร้า จากนั้นใช้การสังเกตและสะท้อนกลับ ซึ่งจะทำให้เด็ก หรือผู้ที่สนทนาค่อยๆ ปล่อยความคิดออกมา ซึ่งเป็นวิธีการสอน (The Socratic Method) เพื่อให้เด็กคิดแล้วสะท้อน ฉะนั้น หัวใจหลักคือการตั้งคำถาม
วิธีการสอนแบบ “โสเครติส” เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนใช้เหตุผลในการสืบค้นร่วมกัน โดยการสนทนา และใช้คำถามแบบต่อเนื่องเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อเข้าถึงความจริง ซึ่งวิธีการสอนแบบโสเครติส เชื่อว่า การศึกษาเป็นกิจกรรมทางจิตไม่ใช่หลักสูตรที่นำมามอบให้แก่ผู้เรียน ดังนั้น สไตล์การออกแบบสภาวะการถามเพื่อสอนคิดสามารถใช้ได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นด้วย “เรื่องราว” ใช้สื่อ หรือ “คำถามนำ” ที่เป็นคำถามกว้างๆ ที่เร้าประสบการณ์ร่วมเดิม และเริ่มบทสนทนาเรื่อยๆ ด้วยการเน้นคำถามหรือปัญหาเดียว การไม่จำกัดเรื่องที่สนทนา การแสดงทัศนะคติ ความเห็นที่สอดคล้องหรือแตกต่าง การสืบค้นโดยการสนทนา การเขียนข้อคำถามก่อนหรือระหว่างอภิปราย การทบทวนโดยการพูดหรือเขียน และมีกิจกรรมตอนท้ายหรือสนทนาต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นใน 7 ขั้นตอน เป็นกระบวนการที่เกิดจากข้อสรุปการวิจัยและถือได้ว่าเป็นอุดมคติในห้องเรียน
สรุปได้ว่า ผลลัพธ์ปรากฏการณ์ หลักการตั้งแต่เริ่มต้น ตัวอย่างการสะท้อนการเรียนรู้ การตั้งคำถาม เป็นปรากฏการณ์ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่สมรรถนะ เป็นหัวใจที่สามารถออกแบบให้เกิดการเรียนรู้ได้ โดยอาศัยทักษะการตั้งคำถามที่ไม่ใช่การถาม แต่เป็นการออกแบบให้เด็กเจอประสบการณ์ใดประสบการณ์หนึ่งแล้วนำประสบการณ์เหล่านั้นมาพูดคุย ซึ่งเป็นการสะท้อนการรับรู้ผนวกกับการถามกลับในเรื่องนั้นๆ
อาจารย์คงวุฒิ นิรันตสุข กระบวนกรเรียนรู้
มูลนิธิปัญญาวุฑฒิ ศูนย์พี่เลี้ยงเพาะพันธ์ปัญญา (เดิม)
บทความใกล้เคียง
Related Courses
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...
สร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนด้วยทักษะ Resilience
ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องเผชิญกับสิ่งที่ไม่คาดคิดและรับมือกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ได้ ดังนั้นจะสร้างภูมิคุ้มกัน ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ