วงแบ่งปันสารพัดความเป็นไปได้ วPA
ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA "วงแบ่งปันสารพัดความเป็นไปได้ วPA"
ความเข้าใจในหลักเกณฑ์เป็นสิ่งสำคัญ หากครูและผู้บริหารเปิดใจเรียนรู้ ปรับเปลี่ยน พัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ย่อมส่งผลให้การศึกษาทั้งระบบสู่ความสำเร็จได้
การทำ PA ส่วนใหญ่ครูอาจจะมีความรู้สึกกังวลใจ ในส่วนของเกณฑ์การประเมิน เนื่องจากเกณฑ์ในการประเมินมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ ว17 ว21 และ ว9 ซึ่งอยากให้มองวิกฤติเป็นโอกาส และลองเปิดใจในการพัฒนาตนเองให้ก้าวผ่านอุปสรรค ด้วยระยะเวลาที่เปลี่ยน รูปแบบการประเมินย่อมเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ซึ่งในครั้งนี้จะแนะนำเทคนิคดีดี พิชิตเกณฑ์ วPA ดังนี้
1. บริบทของโรงเรียนที่ต่างกัน ความท้าทายย่อมแตกต่าง วPA เป็นการแสดงถึงความเป็นตัวตนของแต่ละโรงเรียน และเป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนานักเรียน ครู และโรงเรียน ฉะนั้น ในการเขียนประเด็นท้าทายความยากง่ายย่อมมีความแตกต่างกัน ถ้าหากครูพยายามหาจุดแข็งและเข้าถึงบริบทของตนเอง เรียนรู้จากนักเรียน ลงมือทำอย่างเต็มที่ ย่อมส่งผลลัพธ์ที่ดีแก่นักเรียน อีกทั้งครูยังสามารถนำผล หรือร่องรอยการพัฒนามาใช้เป็นผลงาน ในการยื่นขอวิทยฐานะได้อีกด้วย
2. มุมกล้องยิ่งกว้างเท่าไหร่ยิ่งดี ในการถ่ายคลิปการสอนเพื่อเลื่อน/ขอมีวิทยฐานะ มุมที่ดีที่สุด คือ มุมที่เก็บภาพรวมได้ดีที่สุดทั้งตัวครู นักเรียน และกระดานบางส่วนในบางวิชา เนื่องจากในการจัดการเรียนรู้ กรรมการต้องการเห็นแผนการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบ 8 ตัวชี้วัดที่ถ่ายทอดเนื้อหามโนทัศน์ที่ถูกต้อง เหมาะสมตรงตามหลักสูตร และเกิดตัวชี้วัดในแต่ละตัวตามหน่วยการเรียนรู้ในชั่วโมงนั้นๆ อย่างชัดเจน รวมถึงบริบทและลักษณะท่าทางของเด็ก ดังนั้น ในการถ่ายคลิปวิดีโอ มุมกล้องควรจะเก็บให้มากที่สุด ให้เห็นพฤติกรรม ปฏิกิริยาของเด็กและครูให้ได้มากที่สุด ที่สำคัญคือทำอย่างไรให้เข้ากับแผนการสอนของครูให้มีจุดเน้น จุดสำคัญมากขึ้น
3. คาบเรียนดี คลิปดี มีชัยไปกว่าครึ่ง สำหรับการเลือกคาบการสอน ในการอัดคลิปวิดีโอ 1 คลิป ตามหลักเกณฑ์สอนได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ครูอาจจะต้องวางแผนคาบที่ตอบตัวชี้วัด ที่มีตัวชี้วัดย่อยได้ดีที่สุด ซึ่งครูอาจจะต้องเรียนรู้เกณฑ์หรือตัวชี้วัดเพิ่มว่า ต้องการแสดงให้เห็นอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสอน รูปแบบกิจกรรม หลังจากนั้นค่อยทำการเลือกคาบเรียนที่มีความท้าทาย ความยากง่ายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ครูต้องเลือกช่วงเวลาให้เหมาะ และเลือกเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่ชีวิตจริงได้ หรือเด็กสามารถเชื่อมโยงไปสู่ชีวิตประจำวันได้ ซึ่งเป็นจุดที่ตอบโจทย์ วPA ได้
4. อย่าเขียนสคริปต์ การถ่ายคลิปวิดีโอการสอนจะเป็นลักษณะ Long Shot ไม่มีการตัดต่อ ความยาวประมาณ 50 นาที ถ้าครูเขียนสคริปต์จะทำให้ทั้งครู และนักเรียนเกิดความไม่เป็นธรรมชาติ แต่ถ้าครูเอาความธรรมชาติแบบที่ครูสอน จัดการเรียนรู้ให้สนุก เด็กโฟกัสที่ตัวครูและบทเรียน นั่นคือธรรมชาติของเด็กในการเรียนรู้
5. ห้องเรียนปลอดภัย การอัดคลิปการสอน ครูอาจจะต้องให้นักเรียนกรอกแบบฟอร์มยินยอมการเผยแพร่คลิป การสื่อสารกับนักเรียน การสร้างความรู้สึกที่ดีต่อกัน และการทำให้ห้องเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่เด็กจะไม่รู้สึกถึงการบูลลี่ หรือการนำสื่อไปใช้ในทางที่ไม่ดี สิ่งเหล่านี้จะทำให้นักเรียนรู้สึกดีและสบายใจกับครูมากขึ้น
พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กรณีถ่ายวิดีโอส่งผลกับครูอย่างไร
สำหรับการถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อพัฒนาการศึกษา การสอนของครูที่ส่งผลสะท้อนของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญในการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้เป็นไปตามจุดประสงค์ที่วางไว้ สิ่งที่ ก.ส.ศ. หรือครูทำในการถ่ายคลิปวิดีโอส่งในระบบ PDPA เชื่อว่าไม่ส่งผลกระทบ กรณีที่ครูไม่สบายใจ สามารถมีแบบฟอร์มขออนุญาต หรือแสดงความยินยอมจากนักเรียน หรือการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองผ่านครูประจำชั้นก็ได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละโรงเรียน
ส่งแผนการสอน สู่ระบบ DPA
สำหรับการส่งผลงาน เมื่อครูมีคุณสมบัติครบ (กรณีชำนาญการหรือขอเลื่อนชำนาญการพิเศษ) จะต้องส่ง 2 ด้าน คือ
ด้านที่ 1 ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผนไฟล์ PDF
2) คลิปการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้และตรงตาม 8 ตัวชี้วัดไม่เกิน 60 นาที
3) คลิปที่แสดงถึงปัญหา ที่มา และแรงบันดาลใจ ประกอบการประเมิน ไม่เกิน 10 นาที
ด้านที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งได้ไม่เกิน 3 ไฟล์ ประกอบด้วย
1) คลิปวิดีทัศน์ หรือวิดีโอที่เป็นการแสดงออกของนักเรียนไม่เกิน 10 นาที
2) การวัดและประเมินผล การบันทึกหลังสอน แบบประเมินต่างๆ ที่ช่วยให้เห็นตัวชี้วัดมากขึ้น ในรูปแบบไฟล์ PDF 2-3 ไฟล์
3) ไฟล์รูปภาพ
เห็นได้ว่า ในการดำเนินการได้มุ่งเน้นผลลัพธ์สู่นักเรียนเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการสอน การจัดการเรียนรู้ เชื่อว่าหัวใจของความเป็นครู สิ่งที่มุ่งมั่นและอยากพัฒนาที่สุด คือ ตัวเด็ก เพราะฉะนั้น เด็กเปรียบเสมือนกระจกบานหนึ่งที่สะท้อนตัวครู จะทำอย่างไรให้กระจกบานนั้นดีที่สุด ส่องแสงสว่างที่ดีที่สุด ที่สำคัญคือ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ครูทำและสร้างขึ้นมา ทั้งนี้ สามารถรับฟังสารพัดความเป็นไปได้ วPA กับคำถามอีกมากมายได้ที่ www.facebook.com/starfishlabz/videos/1202395656999544/
ครูตะวัน แสงทอง โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ จังหวัดกาญจนบุรี
ครูจักรกฤช เลื่อนกฐิน โรงเรียนบางละมุง จังหวัดชลบุรี
บทความใกล้เคียง
ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
มัดรวมข้อมูลสำคัญ ว.PA สำหรับศึกษานิเทศก์
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู