ครู SMART ทำได้ สร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA
การสร้างห้องเรียนสมรรถนะตามเกณฑ์ วPA เป็นการพาครูกลับสู่ห้องเรียนให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าห้องเรียนนั้นจะมีการสอนในรูปแบบใด ตามแนวคิด Focus on Classroom และจากการดูคลิปตัวอย่างการจัดการเรียนสอนในครั้งนี้ จะเป็นการแบ่งปันไอเดียต่างๆ วิธีการสอน เทคนิคการสอนในสาระต่างๆ จากการนำหลัก 8 ตัวชี้วัด หรือที่เรียกว่า 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง สอดแทรกในการจัดการเรียนรู้ตามที่ทาง กคศ. กำหนดใช้เป็นเกณฑ์ในการวัด Performance ของครูในการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ และช่วยให้ครูได้พัฒนาตนเองให้เป็นครูมืออาชีพ ซึ่งสิ่งสำคัญจากไอเดียเหล่านี้ ครูสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้เด็กเกิดสมรรถนะได้อย่างสูงสุด
ทั้งนี้ ได้มีการนำหลัก 8 ตัวชี้วัด หรือที่เรียกว่า 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง ที่ได้แนวคิดจากหนังสือ How Learning Work ซึ่งได้พูดถึง 7 หลักการสอนที่ทรงพลัง และอีก 1 ตัวชี้วัดที่ กคศ. เพิ่มเติม เพื่อใช้ในการเป็นทิศทางพัฒนาการสอนของครู ประกอบด้วย
1) เชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่จะสอน
2) ทำให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองผ่านการลงมือทำจริง
3) สร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้
4) ฝึกให้นักเรียนคิดและค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
5) ครูให้ Feedback นักเรียน และให้นักเรียนสะท้อนการเรียนรู้ของตนเอง
6) จัดบรรยากาศชั้นเรียนให้นักเรียนกระตือรือร้น และมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
7) ทำให้นักเรียนมีการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ และ
8) ความแม่นยำถูกต้องของเนื้อหา
สำหรับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนวัดเวฬุวัน จ.เชียงใหม่ โรงเรียนต้นเรื่องในครั้งนี้ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบผสมผสานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เปิดการสอนในระดับชั้นป.1, ป.6 และ ม.3 แบบแบ่งครึ่งห้องมาเรียน อีกครึ่งห้องเรียนแบบไฮบริด (ออนไลน์ที่บ้าน) พร้อมกัน และในระดับชั้นอื่นได้จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบออนไลน์ โดยได้มีการนำหลักการ 8 วิธีการสอนที่ทรงพลังเข้ามาสอดแทรกในการจัดการเรียนรู้
ทั้งนี้ โรงเรียนได้นำคลิปวิดีโอการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้น ป.4 ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้ คลิปช่วงที่ 1 การสำรวจความรู้ก่อนเรียน เป็นกระบวนการสอนในการสำรวจความรู้ของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับวิธีการสอนที่ทรงพลัง ในการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่จะสอน ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า ในการเรียนของเด็กในห้องเรียนไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์หรือมาจากความคิดทางบวกหรือลบ ดังนั้น ครูมีหน้าที่ที่จะต้องปรับความคิดของนักเรียน โดยการนำความรู้เดิมของเด็กออกมาในรูปแบบของการใช้คำถามปลายเปิดทั้งหมด และจากข้อจำกัดของเด็กเล็กในด้านความถนัดทางภาษา อาจใช้การวาดภาพมากกว่าการเขียน และการใช้คำถามเพิ่มเติมให้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ทราบความรู้เดิมของเด็ก ทั้งนี้ ครูอาจจะต้องสร้างกระบวนการคิดให้เด็ก การให้พื้นที่ ให้ความรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น โดยการสร้างความมั่นใจและเน้นย้ำคำพูด “ไม่เป็นไร” “ไม่มีผิด-ถูก” ให้บ่อยขึ้น
ตลอดจนเป็นการสร้างแรงจูงใจกระตุ้นให้นักเรียนอยากเรียนรู้ ซึ่งจากคลิปแรงจูงใจไม่ได้ส่งผ่านทางคะแนน แต่เป็นการสร้างแรงจูงใจภายในจากความรู้เดิมของนักเรียนและเพื่อนร่วมชั้น ทำให้เกิดการสะท้อนคิดถึงสิ่งที่เรียนรู้มา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระตุ้นความอยากเรียนรู้ของนักเรียน
คลิปช่วงที่ 2 ขั้นตอนของการสอน นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการสังเกต และการค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากการลงมือปฏิบัติ ทั้งนี้ เน้นย้ำว่าการลงมือปฏิบัติอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องผ่านกระบวนการคิด การลงมือทำ และการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสังคมด้วย และในระหว่างทางก็จะเห็นการสะท้อนกลับ
จากคลิปวิดีโอจะเห็นว่า เด็กเกิดมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน หรือเกิดความผิดพลาดจากการสอนที่นักเรียนดูคลิปหรือจากประสบการณ์ที่เกิดจากการสังเกตไม่เพียงพอ ทำให้การสอนสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ ฉะนั้นต้องกลับมาที่กระบวนการ feedback กับนักเรียนถึงความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน โดยการดูคลิปเพิ่มเติม หรือดูตัวอย่างของเพื่อนที่มีความถูกต้อง ใกล้เคียงกับเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังไว้ รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน ที่ได้มาจากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า การที่ กคศ. กำหนดเกณฑ์โดยการให้อัดคลิปวิดีโอการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อที่จะได้ทราบถึงแนวทาง เทคนิคหรือวิธีการสอนของครูเป็นเช่นไร นักเรียนมีความคุ้นชินมากน้อยเพียงใด เพราะ feedback ของเด็กมาจากธรรมชาติของเด็ก ซึ่งอยู่ที่กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไรให้มีพลังและส่งพลังให้เด็กและเด็กส่งตอบกลับมา
คลิปช่วงที่ 3 การสรุปและการสะท้อนเนื้อหาในบทเรียน เป็นเรื่องของการสะท้อนคิดเกี่ยวกับตนเอง โดยการใช้แอปพลิเคชั่น Wordwall เป็นการสร้างคำถามง่ายๆ ในการสะท้อนคิดของนักเรียนตามหลักการสอนทรงพลัง คือ นักเรียนมีการกำกับตัวเองในการเรียนรู้ (Self-regulation) เป็นการกำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ว่าจะทำอะไร นำไปสู่การลงมือปฏิบัติ เห็นข้อจำกัดในผลงานจากการสะท้อนผลของครู นำผลงานไปปรับ แก้ไขจนเกิดเป็นผลงานที่สมบูรณ์
จะเห็นได้ว่า ทั้ง 8 วิธีการสอนที่ทรงพลัง สามารถสอดแทรกไว้ในกระบวนการเรียนการสอนได้ และเชื่อว่าครูทุกคนสามารถทำได้ และสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิชาที่สอนได้ สุดท้ายแล้ว พลังจากเด็ก ไม่ว่าจะเป็นความรู้ที่เด็กได้รับ รอยยิ้ม ความสนุก และความสุขที่ได้จากการเรียนการสอนก็จะสะท้อนกลับมาที่ครูเช่นกันทั้งนี้สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.facebook.com/starfishlabz/videos/964020490984607/
ครูวสุพงษ์ อิวาง โรงเรียนวัดเวฬุวัน จ.เชียงใหม่
บทความใกล้เคียง
ออกแบบการสอนอย่างไร? ให้ตอบโจทย์ประเด็นท้าทายเกณฑ์ วPA
เพราะ วPA ไม่ใช่ตัวร้าย ถ้าครูทำแบบเข้าใจ
มัดรวมข้อมูลสำคัญ ว.PA สำหรับศึกษานิเทศก์
Related Courses
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
เตรียมพร้อมก่อนทำคลิปประเมินวิทยฐานะ EP.1 วิธีการสอน
หลักสำคัญ ในการสอนที่มีประสิทธิภาพ 8 ข้อ ซึ่งจะใช้ในการประเมินคลิปการสอนของครู เป็นแนวทางใหม่ของการประเมินวิทยฐานะของครู