check up body
ชุดเล่าเรื่อง ภารกิจของเช้าวันใหม่ (ภารกิจที่ช่วยให้เขา สามารถเอาตัวรอด และใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป)
ตอนที่ 3 check up body!!!
เรื่องป่วย เรื่องสุขภาพ ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากค่ะ เพราะการไม่สบายแล้วเขาบอกไม่ได้นั้น อาจจะทำให้อาการป่วยหนักขึ้นได้ ดังนั้นตอนนี้เราจะมาพูดคุยกันว่า สอนน้องชายดูแลสุขภาพอย่างไรกันค่ะ นีทว่าการดูแลสุขภาพของน้องชายนีทมีหลายระดับค่ะ นีทจะขอแบ่งเป็น 3 ระดับนะคะ เรามาดูกันที่ระดับแรกก่อนเลยค่ะ
ระดับแรก นีทให้ชื่อว่า “หัดกินยาให้ตรงเวลา”
สมัยที่น้องชายเด็กๆเรียนอยู่ช่วงชั้นประถมศึกษา เวลาที่น้องชายป่วย เขายังบอกไม่ได้ ซึ่งนีทคิดว่าเรื่องแบบนี้ ดูปกติ เพราะคนที่มักจะเป็นผู้สังเกตอาการว่าเราไม่สบายในตอนเด็ก คือ พ่อแม่ ดังนั้น ในช่วงที่น้องชายยังบอกไม่ได้ว่า ป่วยนั้น ก็ไม่เป็นไรค่ะ ที่บ้านนีทฝึกแค่ให้เขาหัดกินยาให้ตรงเวลา เช่น ถ้ายาตัวนี้ ต้องกินเช้า กลางวัน เย็น นั้นหมายความว่า น้องชายต้องหยิบยามากิน ที่บ้านเลยฝึกให้น้องชายโดยเริ่มจาก
1. ทำตามที่ที่บ้านบอก ไปหยิบยามากินเอง
2. เตือนว่า กินยายัง?
จากนั้น น้องชายจะเริ่มทำได้ค่ะ
ระดับที่2 คือ รู้จัก “ความป่วย”
เป็นช่วงที่น้องชาย โตขึ้นประมาณชั้นมัธยมศึกษา รอบนี้นีทเริ่มสอนให้น้องชายเข้าใจอาการ ว่าอาการแบบไหนจึงเรียกว่าป่วย เช่น มีอยู่วันหนึ่งที่น้องชายเขามีน้ำมูก เขาก็สั่งน้ำมูกปกตินะคะ แต่ไม่ได้มาบอกเรา หรือขอให้เราไปซื้อยาให้.........(ทุกทีคนส่วนใหญ่จะโกรธว่า ป่วยแล้วไม่บอก) ตอนแรกนีทก็โกรธค่ะ แต่พอถามน้องชายตรง ๆก็เลยทำให้รู้ว่าเค้าคิดอย่างไร น้องชายคิดว่าเดี๋ยวก็หาย พอฟังจบถึงบางอ้อเลยค่ะ เราเลยสอนว่าทุกทีถ้าร่างกายของเราเป็นปกติจะไม่มีแบบนี้ แต่หากว่าอยู่ๆมันมีอะไรแปลกๆเกิดขึ้น แปลว่าป่วย ต้องมาบอกเพื่อกินยา
เราเลยทดลองว่า ตอนนี้ มีอะไรแปลก ......
น้องชายตอบ มีน้ำมูก แสดงว่า ผมป่วยครับ
เราก็ฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆค่ะ บางครั้งที่น้องป่วยจะเดินมาบอกเอง เราก็ดีใจ แต่บางครั้งน้องป่วยแล้วยังไม่เดินมาบอก เราก็แค่ถามเขาว่า มีอะไรผิดปกติไหม (เพื่อฝึกให้คิดและตอบได้ค่ะ)
ระดับที่ 3 “ซื้อยาเป็น หาหมอเอง”
ระดับนี้ จริงๆ ก็เริ่มฝึกตั้งแต่สมัยม.ปลายค่ะว่าเวลาไม่สบายต้องไปซื้อยา วิธีการฝึกก็ดูสนุกดีนะคะ
ขั้นแรก นีทก็พาน้องชายไปซื้อยาด้วยกัน หัดให้เขาบอกอาการเอง โดยมีเรากำกับ เราก็จินตนาการว่า แค่บอกอาการป่วย ไม่ยากหรอก แต่ปรากฎว่าคิดผิดค่ะ อาการป่วยมันบอกยากอยู่เหมือนกันนะ เช่น ถ้าเราไอ ไอแบบไหนล่ะ ไอแห้ง หรือไอที่เสมะ เจ็บคอไหม มีน้ำมูกไหม และสีอะไร บลาๆ เต็มไปหมด ครั้งแรกที่พาไปล้มเหลว ไม่เป็นท่าเลยค่ะ นีทเลยมานั่งคิดว่า เกิดจากอะไรนะ น้องชายถึงลำดับอาการป่วยได้ไม่ดี ดังนั้น ก็มาฝึกเรื่องการสื่อสารให้เขากันค่ะ ว่า ถ้าพี่เภสัชถามแบบนี้ ตอบว่าอะไร และในการป่วยครั้งต่อๆไป ก่อนพาเขาไปเราก็ซ้อมกันก่อน ก็ทำได้ดีขึ้นนะคะ จนสุดท้ายนีทประเมินว่า เขาสามารถตอบได้คล่องขึ้นแล้ว จากนั้นก็ปล่อบไปซื้อยาเองค่ะ แต่เวลาน้องชายนำยากลับมา นีทก็จะถามเขานิดนึงว่าได้ยาอะไรมาบ้าง? (เช็คกันนิดนึง กันพลาดค่ะ)
ส่วนเรื่องไปหาคุณหมอ ส่วนมาก เราจะไปด้วยกันค่ะ เพราะคนป่วยไปคนเดียวก็น่าสงสาร แต่น้องชายต้องตอบเรื่องของอาการป่วยเองนะ (พี่ไม่ช่วย) ซึ่งการหาหมอ นีทก็ฝึกแบบซื้อยาที่ร้านเภสัชเลยค่ะ (วิธีเดียวกัน) นีทว่าจากที่น้องชายทำได้แค่กินยาเอง เปลี่ยนมาบอกอาการเองได้ ซื้อยาเองได้ ถือเป็นความสำเร็จเล็กๆ ที่ทำให้เราวางใจค่ะ ว่า น้องชายดูแลตนเอง และสังเกตตนเองได้ดีมากขึ้นนะ
Related Courses
เจาะลึกสอบ TCAS
การสอบ TCAS ที่ควรรู้ในแต่ละปีเริ่มเตรียมตัวสอบกันด้วยประเด็นอะไร และสอบอะไร ลองมาดูกันว่ามีประเด็นไหนเกี่ยวกับการสอบ ...
การพัฒนาสุขภาวะกาย
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน
การเรียนรู้เรื่อง ชะลอการตัดสินนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการแยกแยะความจริงออกจากความคิดเห็น เพื่อชะลอการตัดสิน ...
แชร์ประสบการณ์ การสอบครูผู้ช่วย
การสอบแข่งขันสอบครูผู้ช่วย ถือเป็นอาชีพที่หลายๆ คนไฝ่ฝัน เมื่อเรามีความตั้งใจแล้วก็ต้องทำให้เต็มความสามารถ ความพยายามอยู่ที่ ...