PLC Teacher หัวข้อ “การพัฒนาวิชาชีพครู”

Starfish Academy
Starfish Academy 4271 views • 2 ปีที่แล้ว
PLC Teacher หัวข้อ “การพัฒนาวิชาชีพครู”

กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 8 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564 หัวข้อ “การพัฒนาวิชาชีพครู”

การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นใจว่าครูจะมีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น การพัฒนาครูเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางวิชาชีพให้เกิดขึ้น จึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างครูให้เกิดศักยภาพ ซึ่งกิจกรรม PLC Teacher ในครั้งนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันถึงแนวทาง วิธีการพัฒนาวิชาชีพครูของตนเองอย่างไร เพื่อเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพและวิธีการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนาการศึกษาต่อไป

เป็นที่ยอมรับว่า ครูถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในการพัฒนาการศึกษา ฉะนั้น การพัฒนาครูให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพสูงสุดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของการพัฒนาวิชาชีพครูนั้น ครูและผู้บริหารแต่ละโรงเรียน ย่อมมีกระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาวิชาชีพครูที่หลากหลาย และหนึ่งในการที่จะพัฒนาวิชาชีพครู ก็คือ การเข้าร่วมกระบวนการ PLC ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาตนเอง พัฒนาความรู้ในการแลกเปลี่ยนระหว่างเพื่อนครูในโรงเรียน และจากประสบการณ์ของโค้ชที่ได้เข้าร่วมวง PLC หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกับโรงเรียน ยกตัวอย่างโรงเรียนวัดบ้านม้า จังหวัดลำพูน ที่ได้เข้าร่วมวิพากษ์ โดยมีกระบวนการเป็นขั้นตอนและมีหลายกระบวนการ เริ่มจากกระบวนการ PDCA เป็นกรอบในการวิเคราะห์และวางแผนดำเนินงาน ซึ่งขั้นตอนที่สอง DO (การปฏิบัติ) ตามแผน ทางโรงเรียนได้ใช้กระบวนการ PLC ตามรูปแบบของ สพฐ. ในขั้นตอนที่ 6 ของกระบวนการ 7 ขั้นตอน ได้ใช้วงจรการทำ PLC ที่เรียกว่า PDSR (Plan DO See และ Reaction) จำนวน 3 รอบวง ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบที่น่าสนใจและเป็นรูปธรรม 

สำหรับการ PLC ในโครงการ Teacher Hero พบว่า องค์ประกอบในการ PLC มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู เพื่อนร่วมเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงอาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ยากในการทำ PLC แต่สิ่งที่ได้รับจากการ PLC ในหลายภาคส่วน ทำให้เกิดการพัฒนาได้หลากหลายมุมมอง กรณีที่มีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม PLC จะทำให้การวางแผน การออกแบบการจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการพัฒนาวิชาชีพมีแนวทางที่หลากหลายมากขึ้น เห็นภาพชัดเจนขึ้น และทำให้ได้องค์ความรู้จากภายนอกเข้ามาในโรงเรียนอีกด้วย นอกเหนือจากการเข้าร่วมวง PLC ของครูแล้ว นักเรียนก็สามารถทำ PLC ได้ โดยการที่เด็กนำปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมา PLC ร่วมกัน ลงมือทำและสะท้อนผลร่วมกัน โดยการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ร่วมกับกระบวนการ PLC ของกลุ่ม ในรูปแบบของคณะกรรมการนักเรียนของโรงเรียนอีกด้วย

ทั้งนี้ การเข้าร่วมกิจกรรมได้มีการแบ่งกลุ่มครูผู้เข้าร่วม ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกันถึงเทคนิค วิธีการในการพัฒนาตนเอง หรือพัฒนาวิชาชีพของตนเองอย่างไร โดยสรุปได้ดังนี้ สำหรับมุมมองของครู สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การที่ครูให้ความสำคัญกับตนเอง มีความตั้งใจ เข้าใจในเนื้อหาที่สอน และมีความสุขกับการสอน ตลอดจนการร่วมกันทำ PLC ในระดับช่วงชั้น เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของผู้เรียนเป็นหลัก โดยมีผู้อำนวยการ หัวหน้าวิชาการ และครูประจำชั้นทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิธีการ หรือนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหาที่มีความหลากหลาย และนำไปต่อยอดเป็นวิจัยในชั้นเรียน 

สำหรับมุมมองของผู้อำนวยการ การพัฒนาวิชาชีพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถหยุดนิ่งได้ เนื่องจากการพัฒนาวิชาชีพถือว่าเป็นการพัฒนาการศึกษา ผลผลิตก็คือนักเรียน ฉะนั้น การที่ครูสามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นอยู่กับผลผลิต การตั้งเป้าหมายการทำงาน เป้าหมายสถานศึกษา การทำงานเป็นทีม การยอมรับซึ่งกันและกัน การใช้หลักการ วิธีการที่หลากหลายแต่มีเป้าหมายร่วมกัน ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาครูและวิชาชีพครูในโรงเรียน

เห็นได้ว่า การพัฒนาครูเป็นการดำเนินงานที่พยายามสร้างเสริมความรู้ ทักษะ ความสามารถที่มีความสำคัญต่อวิชาชีพ การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่องเป็นการช่วยพัฒนาคุณภาพ และวิธีการทำงานของครูให้มีประสิทธิภาพ ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในยุคสังคมแห่งการเรียนรู้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ สามารถรับฟังเพิ่มเติมได้ที่ www.starfishlabz.com

โค้ชศิริรัตน์ คำจูกัลย์ หัวหน้าทีมนักพัฒนาการศึกษา

โค้ชชลสาย กาศรีวิชัย นักพัฒนาการศึกษา

โค้ชสมศรี หล้าบุดดา นักพัฒนาการศึกษา

คุณศรศักดิ์ หลาบนอก นักพัฒนาการศึกษา

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1057 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10687 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7078 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งวิทยฐานะครู (วPA) เพื่อการพัฒนาการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เตรียมพร้อมกับวิทยฐานะใหม่

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
5890 ผู้เรียน

Related Videos

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1154 views • 3 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
03:43
Starfish Academy

การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่

Starfish Academy
14709 views • 3 ปีที่แล้ว
การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1583 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
797 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน