กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 1 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564

กิจกรรม PLC Teacher ครั้งที่ 1 โครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ต่อเนื่องในปี 2564

บทบาทและทักษะของครูโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาตนเอง (Free writing)

ครูสิทธิชัย โรงเรียนวัดนาทุ่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา – บทบาทในการถ่ายทอด ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือรวมถึงทักษะอื่นๆ ที่มีความจำเป็น เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหา กระบวนการ และรู้ถึงผลลัพธ์ในการแก้ปัญหา และให้นักเรียนมีแนวทางในการเรียนรู้ที่เป็นแนวทางเดียวกัน

ครูกิ่งกานต์ โรงเรียนวัดสันคะยอม - ครูมีการพัฒนาตนให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง มีทัศนคติทางบวก มีการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ พัฒนาและปรับปรุงตนเองอย่างมีประสิทธิภาพที่จะเป็นหลักในการถ่ายทอดไปสู่นักเรียน

ครูเกรียงไกร โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง – บทบาทและทักษะของครูโรงเรียนต้นแบบ จะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ เน้นการเรียนให้เกิดกับเด็ก พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆ พร้อมรับข้อมูลแล้วนำไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้ดีขึ้น โดยที่ไม่จำกัดแค่เพียงสาระใดสาระหนึ่ง มีการบูรณาการทุกกลุ่มสาระและสอดแทรกทักษะการสอนให้กับเด็กอย่างเหมาะสม

จะเห็นได้ว่า บทบาทและทักษะของครูโรงเรียนต้นแบบ จะต้องมีการพัฒนาตนเอง พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะความรู้เข้ามาเต็มเติมเสมอ ไม่เพียงแต่เป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียน แต่ยังเป็นการต่อยอดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งในครั้งนี้จะเป็นการพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับครูต้นแบบ ครูวรรณ์นิษฐา พื้นผา โรงเรียนอนุบาลวังดิน และครูสุพัตรา ปินตา โรงเรียนเทศบาลตำบลบ้านธิ (ป่าตาลหมื่นราษฎร์อุปการ) ถึงการดำเนินกิจกรรม เจอปัญหา และวิธีแก้ปัญหาในปีที่ผ่านมา

ในปีที่ผ่านมา มีบทบาทในการดำเนินโครงการอย่างไร

ครูวรรณ์นิษฐา – เนื่องจากโรงเรียนอนุบาลวังดินอยู่ใจกลางอ.ลี้ มีพื้นที่เขตบริการนักเรียนที่กว้าง ทำให้มีความแตกต่าง และหลากหลายของเด็กสูง หลังจากที่ได้เข้าร่วมรับการอบรมจากมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ โดยได้ใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ ผ่านกิจกรรม Makerspace และกระบวนการ STEAM Design Process มาขยายผลกับครูและทดลองใช้ที่โรงเรียน พบว่า เด็กมีความกล้าแสดงออก กล้าคิดกล้าพูด มีเหตุมีผล ในการร่วมกิจกรรมเด็กมีทักษะในการแก้ปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ กระบวนการ STEAM Design Process ยังสามารถนำมาบูรณาการร่วมกับวิชาหลักได้ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลได้ดี ซึ่งปัจจุบันนี้ โรงเรียนได้มีการจัดกระบวนการเรียน STEAM Design Process ครบทุกชั้นเรียน สำหรับบทบาทของครูที่ผ่านมา ดำเนินการสนับสนุนให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการทุกห้อง การสร้างความเข้าใจกับครูผู้สอน ตลอดจนการให้กำลังใจซึ่งกันและกันในการดำเนินโครงการ

ครูสุพัตรา – โรงเรียนเทศบาลตำบลบ้านธิได้เข้าร่วมโครงการ TSQP ในรุ่นที่ 2 หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้มีการจัดประชุมคณะครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกันในการดำเนินโครงการ และจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process มุ่งเน้นการส่งเสริม พัฒนาทักษะและศักยภาพผู้เรียนตามแนวพหุปัญญาที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของโรงเรียนผ่านพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ (Makerspace) ซึ่งดำเนินการจัดให้ผู้เรียนได้เป็นนักคิด นักแก้ปัญหา เป็นคนมีเหตุผล สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ในปีที่ผ่านมา โรงเรียนได้ดำเนินการจัดห้อง Makerspace ทั้งหมด 9 ห้อง โดยให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัด ความสนใจของตนเอง ผลจากการจัดกิจกรรม พบว่า เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่ครูและผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นการลดช่องว่างการเรียนรู้ของผู้เรียน

การจัดการปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ครูสุพัตรา – หลังจากที่มีการจัดกิจกรรม ปัญหาที่พบ คือ การจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด ซึ่งโรงเรียนได้ทำการปรับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ มีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองผ่านไลน์กลุ่มแต่ละห้องเรียน และมีการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับอัจฉริยภาพทั้ง 8 ด้านของผู้เรียน สำหรับครูทุกระดับชั้น มีการออกแบบและพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ในวิชาที่สอน โดยใช้กระบวนการ Active Learning และกระบวนการ STEAM Design Process การจัดการเรียนการสอนแบบ Thinking School และแบบหลักธรรมชาติปัญญา 3 ซึ่งเป็นจุดเน้นของโรงเรียน เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับผู้เรียน ซึ่งในการจัดกิจกรรม พบว่า ผู้เรียนมีความสุขที่สามารถแสดงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งผู้เรียนและคณะครู

ครูวรรณ์นิษฐา – สิ่งแรกที่ได้เรียนรู้ คือ การสนับสนุน แนะนำให้เด็กเกิดการเรียนรู้เป็นสิ่งดีกว่าการบังคับ ครูเป็นผู้คอยกระตุ้น ให้แรงบันดาลใจ ให้กำลังใจในการเรียนรู้ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กเกิดความสนุก รู้สึกดีทั้งครูและนักเรียน เกิดบรรยากาศที่ดีในห้องเรียน อีกประการหนึ่งคือ ได้รู้และตระหนักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ ความชอบและความถนัดเป็นของตนเอง ทำให้เด็กเกิดแรงบันดาลใจและรักในการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ในส่วนของโรงเรียนที่ทำได้ดีและประสบความสำเร็จ คือ การกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญในการดำเนินโครงการ คือ การประสานงานระหว่างโค้ช มูลนิธิ และโรงเรียน และการขยายผลการสอนที่ดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับปัญหาที่พบ คือ การจัดการเรียนการสอนที่ไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์โควิด จึงปรับเป็นรูปแบบการสอนออนไลน์ โดยการให้เด็กทำงานเป็นรายบุคคล ติดตามพฤติกรรมการเรียนรู้และผลพัฒนาของนักเรียน อีกทั้งยังสนับสนุนครูให้พัฒนาตนเองในด้านเทคโลยีการจัดการเรียนการสอน ปรับเทคนิคการสอน ใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและการแลกเปลี่ยน พูดคุยระหว่างเพื่อนครูให้มากขึ้น

หน่วยงานภายนอกมีส่วนช่วยโรงเรียนในการขับเคลื่อนโครงการให้ประสบผลสำเร็จอย่างไร

ครูสุพัตรา – สำหรับภาคีเครือข่ายภายนอก เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนหลายภาคส่วน เนื่องจากโรงเรียนได้รับคัดเลือกเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับประเทศของกระทรวงศึกษาธิการ จึงมีหน่วยงานเข้ามาศึกษาดูงานจากทั้งในและนอกประเทศ มีการจัดกิจกรรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สำหรับเครือข่ายผู้ปกครองมีส่วนช่วยสนับสนุนเรื่องการเรียนรู้ทางด้านวิชาการ การพัฒนาผู้เรียนด้านต่างๆ การสนับสนุนด้านวัสดุ อุปกรณ์ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ เช่น การเป็นวิทยากร ปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น ตลอดจนการร่วมมือกับมูลนิธิสตาร์ฟิขฯและคณะกรรมการสถานศึกษา

ครูวรรณ์นิษฐา – ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม การทัศนศึกษา และการสนับสนุนทุนการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สภ.ลี้ เทศบาลวังริน วัดที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียน การดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง หน่วยงาน สพป.เขต 2 สำนักอุทยานแห่งชาติฯ และมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ ที่ได้สนับสนุนทุน และการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนการสอน ส่งผลให้โรงเรียนได้รับโอกาสเป็นโรงเรียนต้นแบบขยายผลยังโรงเรียนอื่นๆ ในส่วนของผู้ปกครองอยู่ในรูปแบบการพัฒนา และติดตามพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนผ่านทางไลน์ของห้องเรียน ตลอดจนการช่วยด้านการเรียนของนักเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด

ในอนาคต อยากพัฒนาทักษะในด้านใด

ครูสุพัตรา – สำหรับการพัฒนาการดำเนินโครงการในปีต่อไป โรงเรียนจะดำเนินการด้านนวัตกรรม ภายใต้นวัตกรรม “STEAM Design Process ผ่านการเรียนรู้ตามหลักธรรมชาติปัญญา 3 ที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน” โดยการดำเนินการในขั้น Ask จะใช้การเรียนรู้แบบสุตมยปัญญา หมายถึง ให้ผู้เรียนได้รู้จักการคิด การฟัง การถาม และการจดบันทึก ใช้หลัก สุ จิ ปุ ริ ขั้น Imagine จะใช้หลักจินตมยปัญญา ขั้น Plan จะใช้หลักภาวนมยปัญญา การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการใช้หลัก สุ จิ ปุ ริ ขั้น Create มีการวิเคราะห์ ประเมินผล ปรับเปลี่ยนวิธีการ และขั้น Reflect & Reaction จะนำผลลัพธ์และผลการดำเนินการทั้งหมด ทำการวิเคราะห์ ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้นต่อไป

ครูวรรณ์นิษฐา – การพัฒนาด้านการเรียนการสอนออนไลน์ ให้เด็กรู้สึกสนุก กระตือรือร้นในการเรียนรู้ และการปลูกฝังในเด็กเป็นผู้ใฝ่รู้อย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งหลักสูตรฐานสมรรถนะ และหลักสูตรแกนกลาง ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน จะมีการนำกระบวนการ STEAM Design Process ขยายผลให้มากขึ้น ลงมือปฏิบัติมากขึ้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาเทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ และเพื่อเป็นแนวทางในการประเมินวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)
นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์

การสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning เพื่อวิทยฐานะ (PA)

นายเชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์
1056 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7072 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10678 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy

Related Videos

การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
03:43
Starfish Academy

การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่

Starfish Academy
14647 views • 3 ปีที่แล้ว
การเตรียมตัวกับวิทยฐานะเกณฑ์ใหม่
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
05:22
Starfish Academy

6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ

Starfish Academy
1150 views • 3 ปีที่แล้ว
6 เรื่องต้องรู้ ก่อนส่งไฟล์ดิจิทัลกับการขอมี หรือขอเลื่อนวิทยฐานะ
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
797 views • 3 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1582 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง