4 ข้อสงสัย ชวนผู้บริหารสถานศึกษา และครูเข้าใจกฎหมาย PDPA ใช้คุ้มครองสิทธิเด็กในโรงเรียน

เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) คือ พ.ร.บคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ได้ถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้ถูกจัดเก็บหรือนำไปใช้โดยไม่ได้แจ้งให้เราทราบ และ/หรือได้รับความยินยอมจากเราในฐานะเจ้าของข้อมูลก่อน
เพราะในปัจจุบันบริษัทต่างๆ หรือนักการตลาดอาจได้รับการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทั่วไปของเรา (Personal Data) ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง หรือ ข้อมูลบนอื่นๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username / Password ต่างๆ ซึ่งนอกจากข้อมูลส่วนตัวทั่วไปแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่ง ที่เรียกว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว ที่อาจส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลทั้งในแง่ของการทำงาน สังคม และความเป็นอยู่ ซึ่งนำไปสู่การเลือกปฏิบัติได้ ได้แก่ เชื้อชาติ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในศาสนา หรือพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น ซึ่งถ้าหากองค์กรได้เก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ โดยไม่ได้รับความยินยอม ก็อาจมีความผิดตาม พ.ร.บ ได้
ซึ่งการเก็บข้อมูลเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งข้อมูลส่วนตัวทั่วไป หรือข้อมูลส่วนที่อ่อนไหว ย่อมมีความเกี่ยวกับบุคลากรในสถานศึกษา เพราะสถานศึกษาจะต้องเก็บข้อมูลของนักเรียนเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน หรือใช้ในกรณีอื่นๆ ตามที่ผู้อำนวยการเห็นสมควร แต่การนำข้อมูลของนักเรียนไปใช้นั้น ผู้บริหารและคุณครูจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้างที่เป็นหลักสำคัญ
- ข้อมูลทางศาสนา ยังคงเป็นข้อมูลที่โรงเรียนเก็บจากนักเรียน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่มีเหตุผลที่สมควรมารองรับก็ไม่ควรเก็บ เช่น เพื่อการสร้างห้องละหมาด และเตรียมอาหารเฉพาะให้กับนักเรียนชาวมุสลิม เป็นต้น
- การเมืองและการชุมนุมในปัจจุบันกำลังเป็นประเด็น โรงเรียนห้ามเก็บข้อมูลความคิดเห็นทางการเมือง หรือพฤติกรรมการออกไปชุมนมของเด็กๆ แบบระบุตัวตนได้เป็นอันขาด
- การเก็บข้อมูลชีวภาพ รูปร่างหน้าตาของเด็กผ่านกล้องวงจรปิด มีเหตุผลรองรับที่เพียงพอและอ้างอิงฐานการประมวลผลตามกฎหมายที่ถูกต้องหรือไม่
เพราะประเด็นสำคัญของการเก็บข้อมูลอ่อนไหวก็คือ การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล จะต้องบอกให้ได้ว่าเอาไปทำอะไร และไม่สามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ในโรงเรียน เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกเก็บข้อมูลส่วนใหญ่มีฐานะเป็น “ผู้เยาว์” การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจะมีความซับซ้อน กรณีของเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบต้องให้ผู้ปกครองให้ความยินยอม ส่วนเด็กที่มีอายุ 10-19 ปี (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้งตัวนักเรียนเองและผู้ปกครอง
4 ข้อสงสัย ชวนผู้บริหารสถานศึกษาและครู
เข้าใจกฎหมาย PDPA ที่ใช้คุ้มครองสิทธิเด็กในโรงเรียน
ประเด็นที่ 1 : หากคุณครูจะต้องทำคลิปเพื่อขอเลื่อน/ขอมีวิทยฐานะ จะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่
ตอบ : ไม่ผิด เพราะถ้านำคลิปหรือรูปที่ถ่ายติด ไปโพสในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอม สามารถโพสได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้ในการแสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อแนะนำที่ครูควรทำ คือ ในการทำวิดีทัศน์ในห้องเรียนของน่าจะมี consent form หรือ เอกสารการขออนุญาตให้เผยแพร่จาก ให้ นร. และผู้ปกครอง ทราบและยินยอม ในนั้นจะมีรายละเอียดการทำวิดีทัศน์และวัตถุประสงค์ของการถ่ายวิดีทัศน์ เหมือนตอนเราทำงานวิจัยกับ นร. สำหรับกรณีทั่วไป
ประเด็นที่ 2 : หากผู้อำนวยการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ที่โรงเรียน แล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผู้ปกครอง หรือนักเรียน จะผิดกฎหมาย PDPA หรือไม่
ตอบ : ไม่ผิด เพราะการติดตั้งกล้องวงจรปิดที่โรงเรียน หากใช้เพื่อป้องกันอาชญกรรม หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่นักเรียน และรักษาความปลอดภัยของนักเรียน
ประเด็นที่ 3 : หากคุณครูกำลังถ่ายรูปตนเองแล้ว ถ่ายติดนักเรียน โดยที่นักเรียนไม่ได้ยินยอม และไม่รู้ตัวผิดกฎหมายหรือไม่
ตอบ : ไม่ผิด กรณีถ่ายรูปหรือถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายไม่ได้เจตนา และการถ่ายรูป ถ่ายคลิปดังกล่าว ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
ประเด็นที่ 4 : หากคุณครูจะต้องถ่ายรูปนักเรียนเพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานการในพัฒนานักเรียน จะผิดกฎหมาย และต้องแจ้งให้นักเรียนทราบคือไม่
ตอบ : ไม่ผิดกฏหมาย แต่มีความจำเป็นต้องแจ้งให้นักเรียนและผู้ปกครองรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร เพราะในกรณีที่เก็บข้อมูลนักเรียน อาจจะเข้าข่ายการใช้ในลักษณะเพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
ทั้งนี้ นี่เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้น หากคุณครูและผู้บริหารต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถหาอ่านได้จากหน่วยงานราชการที่ดูแลเรื่องนี้โดยตรง เช่น กระทรวงดิจิทัลฯ หรือสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือ และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายได้เลยค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง
- PDPA คนไทยต้องรู้ คุณครูต้องสอน สถานศึกษาต้องระวัง | PDPA Thailand bit.ly/3NSv2X5
- PDPA คืออะไร? – สรุป PDPA เกี่ยวกับธุรกิจที่คุณควรรู้! ฉบับเข้าใจง่าย | Easy PDPA bit.ly/3aCLQ63
Related Courses
Micro Learning การเรียนรู้แบบพอดีคำ
ฉีกกฏการเรียนการสอนแบบเดิมด้วยเทรนด์การเรียนรู้แนวใหม่แบบสั้น ง่าย ได้ความรู้ กับเทคนิคการสอนแบบพอดีคำ เพื่อลดภาระและ ...



การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน
AR เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่สามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดที่ซับซ้อนได้ง่ายขึ้นและยังช่วยสร้างการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มาก ...



การใช้เทคโนโลยีโลกเสมือนจริง Immersive Technology ในห้องเรียน
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Digital Technology ความสำคัญกับการศึกษา
ในคอร์สการศึกษานี้ ได้แนะนำ 4 แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาที่น่าสนใจ โดยครูผู้สอนสามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะ ...



Micro Learning - แหล่งเครื่องมือช่วยครูจัดการชั้นเรียน
Starfish แหล่งเครื่องมือช่วยครูในจัดการชั้นเรียนที่หลากหลาย เช่น Starfish Labz, Starfish Class แบบเว็บไซต์ และแ ...



Related Videos


เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”


น้องยินดี: เด็กอัจฉริยะ คิดค้นการใช้มอส กำจัด PM2.5


การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management)

