นวัตกรรมและแนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย” กรณีศึกษาสมุทรสาครโมเดล

นวัตกรรมและแนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย” กรณีศึกษาสมุทรสาครโมเดล

Learning Recovery เครือข่ายโรงเรียนเปลี่ยนใหม่ โดยโครงการโรงเรียนพัฒนาคุณภาพตนเอง (TSQP) “นวัตกรรมและแนวทางฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย” กรณีศึกษาสมุทรสาครโมเดล

การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย ถือได้ว่าเป็นวาระที่จำเป็น ซึ่งจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่เริ่มทดลองการปรับการเรียนรู้ และการฟื้นฟูทั้งระบบในโครงการที่บูรณาการร่วมกัน ในการช่วยทำ Intervention หรือเครื่องมือต่างๆ ที่มาหนุนเสริมโรงเรียนและคุณครู เพื่อให้มีเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ สำหรับแนวทางในการรับมือการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยทั้งระบบได้ใช้พื้นที่สมุทรสาครเป็นต้นแบบในการทำงาน โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง กสศ. UNICEF และสตาร์ฟิช รวมถึงคณะกรรมการ

บูรณาการความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นศึกษาธิการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการประสาน และส่งเสริมการศึกษาเอกชนสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

ในการทำงานลักษณะ Area based ร่วมกัน

สำหรับเป้าประสงค์ของโครงการ เพื่อพัฒนาแนวทางในการลดความถดถอย ที่เกิดขึ้นจากการหยุดการเรียนการสอนที่เป็นเวลานานในพื้นที่สมุทรสาคร ทั้งนี้ การดำเนินการได้จัดตั้งคณะทำงาน ประกอบด้วย ตัวแทนของศึกษานิเทศก์ ตัวแทนผู้อำนวยการโรงเรียนและโค้ชของสตาร์ฟิช โดยเติมเต็มในเรื่องของปัจจัยพื้นฐาน เครื่องมือ วิธีการจัดการเรียนการสอนต่างๆ และการให้คำปรึกษากับครู เพื่อให้ครูสามารถออกแบบและจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้ ถึงแม้ว่า สถานการณ์โควิดทำให้เกิดอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน แต่ในขณะเดียวกันถือว่าเป็นโอกาสในการหาวิธีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อลดช่องว่างในการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียน โดยเน้นกระบวนการ Active Learning ในการช่วยให้เด็กสามารถ working memory หรือทำให้เด็กมีความสามารถใน

การเรียนรู้ในระยะยาวและนำไปสู่การขยายผลได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ 

1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฟื้นฟูความรู้ถดถอยให้แก่นักเรียน 

2) เพื่อสนับสนุนปัจจัยพื้นฐาน รวมถึงเครื่องมือที่จำเป็น 

3) เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถของครูและโรงเรียน 

4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน 

5) เพื่อพัฒนาต้นแบบ หรือโมเดลระดับจังหวัด ซึ่งองค์ประกอบในการวางมาตรการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย เพื่อให้เห็นถึงการวางแผนหรือวางมาตราการที่มีความครอบคลุม ประกอบด้วย 5 ส่วน ดังนี้

1) การประเมินสภาพแวดล้อมทั้งระบบ (Landscape Assessment) พิจารณาตั้งแต่การเรียนรู้ที่ถดถอย ข้อมูลครอบครัว ความต้องการพื้นฐาน เทคโนโลยี และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต

2) การวางแผนของโรงเรียนทั้งระบบ (Whole School Planning) การขับเคลื่อนในโรงเรียนทั้งคณะทำงานของโรงเรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระยะเวลา ความปลอดภัย ทรัพยากร และงบประมาณ

3) การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (PD Support for Teacher) เพื่อที่ครูจะได้เห็นถึงช่องว่างระหว่างการเรียนรู้ สามารถบูรณาการในหลักสูตร เครื่องมือครู การเรียนรู้ถึงวิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ

4) การช่วยเหลือนักเรียน (Intervention and Support for Students) การจัดการเรียนรู้รายบุคคลมากขึ้น การให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นด้านการเรียน อุปกรณ์การเรียน ด้านสุขภาวะและการช่วยเหลือทางครอบครัว

5) การติดตาม ปรับปรุง และผลสะท้อนกลับ (Monitoring and Invention Redesign) การพัฒนา ผลตอบรับ การประเมิน

กรอบแนวคิดในการฟื้นฟูการเรียนรู้ถดถอย เน้นเรื่องของการพัฒนาสมรรถนะที่ครูสามารถนำไปจัดการเรียนการสอนได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครูในรูปแบบของบทเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (workshop) โดยการให้ครูสามารถเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นได้ การโค้ชชิ่ง (Coaching) ที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้ครูสามารถพัฒนาตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างระยะยาว 

โดยเน้นเนื้อหา ทักษะการสอนและเทคโนโลยี ซึ่งในการพัฒนาผู้เรียนมุ่งเน้น 3 ประเด็น คือ การพัฒนาทักษะการอ่าน/การเขียน การพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ และการพัฒนาทักษะสุขภาวะกาย/จิต โดยออกแบบในลักษณะการจัดการเรียนการสอนทางไกล หรือ on-site หรือเรียนรู้ผ่านกล่องการเรียนรู้ Learning Box การจัดการเรียนการสอนรายบุคคลทั้งผู้เรียนปกติและผู้เรียนที่มีความต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งผู้ปกครอง และครูอาสาชุมชนเป็นผู้สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก โดยใช้สื่อจากตัวอย่างกิจกรรม ใบความรู้/ใบงาน และ Micro Learning สำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง 

ทั้งนี้ ในเรื่องของศาสตร์การสอน ถูกแบ่งออกตามวิธีการ หรือหัวข้อในการพัฒนาทักษะต่างๆ ตามแต่ละช่วงชั้น การจัดการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนเครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำมาจัดการเรียนรู้ได้ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ขอบเขตการดำเนินงาน หัวใจสำคัญในการทำ Learning Intervention สิ่งที่ครูจะต้องออกแบบตัวเสริม หรือตัวช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้จะเป็นในลักษณะการจัดทำ Focus Group โรงเรียนประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยที่เกิดขึ้น สำรวจความพร้อมและความต้องการของครูและนักเรียน พัฒนานวัตกรรม และออกแบบการเรียนรู้ เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอยและการทำ PLC เพื่อพัฒนานวัตกรรม

ผลลัพธ์ของโครงการ 

1) ด้านผู้เรียน ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการฟื้นฟูความถดถอยในการเรียนรู้ด้านการอ่าน เขียน คณิตศาสตร์ และทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม 

2) ด้านครูกลุ่มเป้าหมาย สามารถวางแผน ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในภาวะวิกฤติได้ 

3) ด้านโรงเรียน มีเครื่องมือและวิธีในการประเมินภาวะการณ์เรียนรู้ถดถอย มีการสำรวจความพร้อมและความต้องการของครูและผู้เรียน มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤติเพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านต่างๆ 

4) ระดับจังหวัด เกิดโมเดลระดับจังหวัดในการจัดการเรียนการสอน เพื่อลดภาวะความรู้ถดถอยและฟื้นฟูการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในภาวะวิกฤติ

แผนการดำเนินงาน ได้มีการกำหนด Timeline การดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 โดยการปฐมนิเทศ และชี้แจงแนวทางการจัดการเรียนรู้เมื่ออยู่ในภาวะวิกฤต การจัดประชุมเพื่อการสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์เชิงสมรรถนะเพื่อเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ การจัดทำกรอบเนื้อหาในการทำบทเรียนออนไลน์ การทำกรอบเนื้อหา Micro Learning เพื่อช่วยหนุนเสริม เพิ่มความสามารถให้กับโรงเรียนในการออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรียนการสอน การจัดทำเครื่องมือให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน การทำแผนฟื้นฟูของโรงเรียน ซึ่งในระหว่างการทำงานได้มีการจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของโรงเรียนในโครงการ ตลอดจนการสนับสนุนในด้านการให้คำปรึกษา แหล่งเรียนรู้ การจัดอบรม งบประมาณ และส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับบทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ด้านผู้ปกครองหรืออาสาสมัครอยู่ในชุมชน ได้มีการสนับสนุนให้สามารถส่วนช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม การประสานความร่วมมือกับครู การกำกับ ดูแล ช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ ด้านครู ได้มีการสำรวจและประเมินความพร้อมของผู้เรียน กำหนดวิธีการและวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ การประสานความร่วมมือ ผู้ปกครอง อาสาสมัคร เห็นได้ว่า โครงการช่วยเพิ่มขีดความสามารถ รวมถึงการเพิ่มทรัพยากร สื่อต่างๆ ที่จะเข้าไปสนับสนุนครูและโรงเรียนให้สามารถจัดการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น

ดร.นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร CEO Starfish Education

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์ การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
Starfish Academy

การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การพัฒนาทักษะการอ่าน

หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การพัฒนาทักษะการอ่าน
Starfish Academy

การพัฒนาทักษะการอ่าน

Starfish Academy
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
Starfish Academy

การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
Starfish Academy

การสอนคณิตศาสตร์ (3R)

Starfish Academy
2714 ผู้เรียน

Related Videos

จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)
05:41
Starfish Academy

จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)

Starfish Academy
1040 views • 3 ปีที่แล้ว
จากภาวะการเรียนถดถอยสู่การสร้างสรรค์ (Learning Box)
กล้าสอน KLA-SON  KN ENJOY MODEL
27:38
Starfish Academy

กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL

Starfish Academy
65 views • 1 ปีที่แล้ว
กล้าสอน KLA-SON KN ENJOY MODEL
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
84 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
617 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก