ประเมินความสุข และกิจวัตรประจำวัน ตอนที่ 2
การประเมินตนเอง คือ สิ่งสำคัญในการตรวจสอบความสุข และตรวจสอบกิจวัตรประจำวัน (เราต้องเชื่อใจนักเรียนในสถานการณ์แบบนี้) ซึ่งผมจะเน้นย้ำลูกชายผมเสมอว่า ให้ประเมินตนเองก่อนนอนทุกคืน โดยการ scan QR code (สมรรถนะด้านการสื่อสาร) และต้องประเมินตามจริง ทำคือทำ ไม่ได้ทำคือไม่ได้ทำ (สมรรถนะด้านการจัดการตนเอง)
เมื่อลูกชายผม scan QR code เสร็จแล้ว ผมก็จะรู้ว่าวันนี้ลูกผมทำอะไรบ้าง และมีความสุขมากน้อยเพียงใด (ตรงนี้เรียกว่า measurement) และเมื่อครบ 7 วันผมก็ได้นำกราฟแท่งจาก google form มาพูดคุยกับลูกชายผมต่อ ตรงนี้คือ concept ของ Assessment For Life คือ เอาผลการประเมินไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิต
ผมคิดว่า Assessment For Life ควรเป็นสมรรถนะสำคัญประการหนึ่งที่ครูเรา หรือผู้ปกครองเราควรจะติดตั้งให้นักเรียนในระดับประถมศึกษาทุกคน
ตัวอย่าง Assessment For Life ที่นำเสนอผ่านกราฟจาก google form
จากกราฟที่ google form นำเสนอ ผมได้ลองตั้งคำถามง่าย ๆ กับลูกชายผม ตัวอย่าง
คำถามเช่น
1. กราฟแท่งสีน้ำเงิน และสีแดง คืออะไร
2.กิจกรรมใดบ้าง “ที่ทำ” มีจำนวนครั้งมากกว่า “ที่ไม่ทำ” เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น
3.กิจกรรมใดบ้าง “ที่ไม่ทำ” มีจำนวนครั้งมากกว่า “ที่ทำ” เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น
4.กิจกรรมที่ไม่ได้ทำเลย เราจะเปลี่ยนเป็นทำบ้าง ได้อย่างไร
5.วันที่มีความสุขมาก เป็นเพราะอะไร วันที่มีความสุขปานกลาง เป็นเพราะอะไร
คำถามอื่น ๆ ผู้ปกครองท่านอื่นสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม แต่บรรยากาศการถามควรเป็นไปในลักษณะการพูดคุยแบบสบาย ๆ ไม่ใช่จริงจังจนเกิดภาวะเกร็งกันทั้งบ้าน
ทักษะพื้นฐานที่จะได้รับเพิ่มเติมจากกราฟ เช่น การอ่านกราฟ การเปรียบเทียบจำนวน ความน่าจะเป็น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ซึ่งผมคิดว่าการถามคำถามจากกราฟ จะเป็นการพัฒนาสมรรถนะด้วยวิธีการง่าย ๆ โดยใช้สถานการณ์จริง หรือจากข้อมูลที่ลูกชายผมได้ประเมินจริง เป็นต้น
จากตัวอย่างที่ผมยกมานั้น หากครูเรานำไปปรับใช้กับนักเรียน ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยเริ่มตั้งแต่กำหนดกิจวัตรประจำวันร่วมกับนักเรียนในระดับชั้นตนเอง (เป็นกิจวัตรที่นอกเหนือจากการเรียน การสอนออนไลน์) และควรเป็นกิจวัตรประจำวันที่สอดคล้องกับระดับชั้นของนักเรียน เมื่อได้กิจวัตรประจำวันแล้ว ครูเราก็นำกิจวัตรดังกล่าวไปออกแบบใน google form อาจจะทำในลักษณะเดียวกับผมก็ได้ เพราะเป้าหมายคือ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนในเรื่องกิจวัตรประจำวัน
เมื่อครูทำ google form เสร็จแล้ว ก็ส่ง link ฟอร์มการประเมินไปให้นักเรียนผ่าน google classroom ผ่าน MS Team ผ่าน group line หรือ group FB แล้วกำหนดกติกาสำหรับการประเมินร่วมกัน เช่น ความถี่ในการประเมิน ใครจะประเมิน หรือช่วงเวลาที่จะทำแบบประเมิน เป็นต้น
เมื่อนักเรียนประเมินตนเองตามกติกาที่กำหนดร่วมกันแล้ว ผลการประเมินจะวิ่งไปที่ google sheet หลังจากนั้นเราสามารถประยุกต์ใช้ google data studio เพื่อประมวลผลข้อมูลนักเรียนทั้งหมดเป็น “สารสนเทศ” ระดับชั้นเรียน
หากโรงเรียนจัดระบบสารสนเทศในประเด็นนี้ให้ชัดเจน ผลที่ตามมาคือ โรงเรียนได้นวัตกรรมด้าน การบริหารจัดการช่วง Covid 19 แบบ real time ผมเชื่อว่าเป็นนวัตกรรมที่ไม่เหมือนใครแน่นอนครับ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ google data studio จากผลการประเมินของลูกชายผม
หากสมมติสารสนเทศดังกล่าว เป็นสารสนเทศของนักเรียนที่ครูสอนจริง จะทำให้ครูเรามองเห็นภาพรวมว่า นักเรียนห้องเราทั้งหมดที่ LFH อยู่ที่บ้าน ณ เวลานี้ นักเรียนได้รับการพัฒนาครอบคลุมแล้วหรือยัง
คำว่าครอบคลุมหมายถึง การพัฒนาความรู้ (เนื้อหาที่ครูสอน) การพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (กิจวัตรประจำวัน) และความสุขของนักเรียนช่วง LFH
เมื่อครูเรามองเห็นสารสนเทศแบบ real time ก็จะสามารถนำสารสนเทศดังกล่าวไปปรับการเรียน เปลี่ยนการสอนแบบใหม่ได้ เช่น จากรูปภาพ พบว่า ตอนนี้นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกวาดบ้าน / ไม่ค่อยมีความสุข ครูเราจะแก้ปัญหาร่วมกับผู้ปกครองนักเรียนได้อย่างไร (เรามีข้อมูลนักเรียนเป็นรายคน) หรือครูเราอาจออกแบบกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้กวาดบ้านบ่อยขึ้น หรือลดภาระงานที่มอบหมายให้นักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในช่วง LFH
การประเมินในสถานการณ์แบบนี้ควรบูรณาการการประเมินร่วมกัน ประมาณว่ามอบหมายงานน้อยชิ้น แต่ได้สารสนเทศกลับคือมากมายมหาศาล หรือการใช้สถานการณ์จากชีวิตจริงมาเป็นสิ่งเร้าในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ครูต้องไว้ใจนักเรียน และต้องพยายามดึงให้ผู้ปกครองเข้ามามี ส่วนร่วมในการประเมิน หรือรับทราบผลการประเมินให้ได้มากที่สุด
คุณค่าที่แท้จริงของการประเมินทุกชนิด คือการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาไม่ใช่การตัดสิน
Related Courses
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...