การประเมินความสุข จากกิจวัตรประจำวัน ตอนที่ 1
บทความนี้ผมขอเขียนต่อเนื่องจากบทความเรื่อง เมื่อนักเรียนเรียนออนไลน์ ครูควรประเมินอย่างไร โดยมีประเด็นเพิ่มเติมคือเรื่องของการประเมินความสุขที่ผมได้นำไปปรับใช้กับ ลูกชายของผม และบทความนี้ผมขอเขียนเพื่อขยายความชัดเจนในเรื่องของการประเมินความสุข ซึ่งผมคิดว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน รายละเอียดเป็นดังนี้
Concept สำคัญของการเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน คือ หยุดการเรียนการสอนที่โรงเรียน แต่การเรียนรู้ของนักเรียน “หยุดไม่ได้” การเรียนการสอนออนไลน์ และ on hand จึงได้ถูกนำมาใช้อีกครั้ง เมื่อเราจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และ on hand แล้ว การวัดและประเมินผลควรมีลักษณะอย่างไร? ซึ่งผมได้เขียนมุมมองของผมไว้ในบทความแรกแล้ว
ประเด็นที่ขอเขียนเพิ่มเติมคือเรื่องของความสุขและกิจวัตรประจำวันที่นักเรียนควรทำในช่วง LFH
กล่าวคือเมื่อนักเรียนใช้เวลาอยู่ที่บ้านทั้งวัน จะดีเหรอที่ต้องให้นักเรียนนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน ด้วยสาเหตุคือเพื่อเรียนออนไลน์ เพื่อให้ครูเช็คชื่อ หรือเพื่อรอครูมอบหมายงาน
ผมเชื่อว่าครูเรา และผู้ปกครองเรามีคำตอบอยู่แล้ว และเป็นคำตอบที่สอดคล้องกันด้วย การลดความเครียดของผู้ปกครอง นักเรียน และการลดภาระการตรวจงานของครูผู้สอน ผมได้ยกตัวอย่างง่าย ๆ ไว้ในบทความเรื่อง ลดความเครียดด้วยการบูรณาการงานที่มอบหมาย ทั้ง 2 บทความมุ่งเน้นไปที่การวัดและประเมินผล การเรียนรู้ในสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคยควรทำอย่างไร ก้าวข้ามคำว่าถูกผิดนะครับ ผมได้เขียนบทความทั้ง 2 เรื่องในฐานะของพ่อที่มีลูกชาย 2 คน และลูกชายทั้ง 2 คนก็ได้เรียนออนไลน์อยู่ที่บ้านเหมือนกับเด็กส่วนใหญ่
เมื่อนักเรียนใช้เวลาอยู่ที่บ้านทั้งวัน สิ่งสำคัญที่เราควรใส่ใจมากเป็นพิเศษคือ ความสุขของนักเรียน และการฝึกความรับผิดชอบในเรื่องของกิจวัตรประจำวัน ซึ่งในสถานการณ์ปกติ อาจไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ ทั้งความสุขและกิจกรรมวัตรประจำวัน เราสามารถประยุกต์ใช้เรื่อง Assessment For Life (การประเมินเพื่อการดำรงอยู่) ไปปรับใช้ได้ โดยวิธีการที่ผมปรับใช้มีดังนี้
ก่อนอื่น ผมได้คุยกับลูกชายผมก่อนว่า พ่ออยากรู้ว่าทั้งวันลูกชายพ่อทำกิจวัตรประจำวันอะไรบ้างที่นอกเหนือจากการเรียนออนไลน์? เราลองมากำหนดกิจวัตรประจำวันที่เราควรทำกันดีกว่า กิจวัตรประจำวันที่ผมกับลูกชายผมร่วมกันกำหนด เป็นกิจวัตรง่าย ๆ ที่ลูกชายผมคุ้นเคย เช่น เก็บที่นอน อาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างจาน เปลี่ยนขยะ เล่นเกมส์ ดู TV รดน้ำต้นไม้ วิ่งเล่นกับเพื่อน และไหว้พระก่อนนอน เป็นต้น
จุดสำคัญคือต้องกำหนดกิจกรรมร่วมกัน โดยนำกิจวัตรที่คุ้นเคยมาเป็นโจทย์ เพราะเป้าหมายของการทำตรงนี้คือ ผมต้องการฝึกความรับผิดชอบเรื่องกิจวัตรประจำวันให้กับลูกชายผมในช่วง LFH
เมื่อได้กิจวัตรประจำวันแล้ว ผมนำกิจวัตรดังกล่าว ไปทำเป็นแบบประเมินกิจวัตรประจำวันใน google form ตัวอย่างดังภาพ
และในส่วนของความสุขนั้น ผมก็ใช้คำถามง่าย ๆ ในการถามเรื่องความสุข ตัวอย่างดังภาพ
ออกแบบ google form ด้วยรูปแบบที่เรียบง่าย และไม่ต้องถามเยอะ เน้นเฉพาะประเด็นสำคัญๆ เป็นต้น
Related Courses
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...