เราไม่รู้หรอกว่าในภายภาคหน้าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราและครอบครัวได้บ้าง แต่ถ้าหากมันเกิดอย่างปัญหาที่จะมาพูดถึงในวันนี้ อย่างปัญหาพ่อแม่แยกทางกัน ซึ่งในสังคมในปัจจุบันนี้ก็มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ หากคู่ไหนไม่มีลูกแล้วเลิกลากันก็ต่างคนต่างอยู่ แต่ถ้าครอบครัวไหนมีลูกขึ้น ก็มีคำถามที่ว่า “ลูกจะอยู่กับใคร ?” ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นนี้กันค่ะ
เชื่อได้เลยว่าพ่อแม่ทุกคนย่อมรักและเป็นห่วงลูกเสมอ ไม่ว่าใครก็อยากที่จะให้ลูกมาอยู่กับตนเองทั้งนั้น จึงทำให้การตัดสินใจยากสำหรับทั้งสองฝ่าย เพราะฉะนั้นเราเลยมีกฎหมายเข้ามาช่วยในการตัดสินว่าลูกควรอยู่กับใครให้เข้าใจและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ในกรณีที่ 1 หากไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน
คุณแม่มีสิทธิที่จะดูแลลูกเพียงผู้เดียว อำนาจการปกครองของลูกจะเป็นของแม่เพียงฝ่ายเดียว และถ้ามีการจดทะเบียนสมรสกันภายหลัง หรือจดทะเบียนรับรองว่าเป็นบุตร พ่อก็สามารถมีอำนาจในการปกครองบุตรร่วมกันได้ ลูกก็จะสามารถใช้นามสกุลและรับมรดกของพ่อได้เช่นกัน
ในกรณีที่ 2 หากพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกัน และหย่ากันด้วยดี
พ่อและแม่สามารถใช้อำนาจในการดูแลบุตรร่วมกันได้ แต่ต้องมีหนังสือตกลงระบุว่าใครมีอำนาจในการปกครองบุตร หากตกลงกันไม่ได้ ศาลจะเป็นผู้ตัดสินเอง เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งตัวกันเกิดขึ้น ซึ่งพ่อกับแม่หากใครคนใดคนหนึ่งมีสิทธิในตัวลูกแล้ว ก็อาจจะมีการเปลียนแปลงเกิดขึ้นได้ ซึ่งก็อยู่ที่พฤติกรรมที่ดีหรือไม่ดีของพ่อกับแม่ด้วย ส่วนเรื่องค่าเลี้ยงดูหรืออุปการะนั้น หากไม่ได้มีการกำหนดในสัญญา ศาลก็จะเป็นคนกำหนดให้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งเรื่องการติดต่อระหว่างพ่อกับแม่ทุกฝ่ายมีสิทธิที่จะติดต่อกับลูกได้ตามสมควร แต่ที่สำคัญเลยก็คือความปลอดภัยของลูกนั้นเองค่ะ
กรณีที่ 3 หากไม่ปรากฎบิดา
อำนาจในการดูแลลูกจะตกไปอยู่ที่มารดาเพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น นอกเหนือจากว่าจะมีการเพิ่มชื่อพ่อ แต่การเพิ่มชื่อบิดาลงไปนั้นก็ต้องมีการตรวจสอบหลักฐานทาง DNA ด้วยเช่นกัน
สุดท้ายนี้หากครอบครัวไหนที่รักกันอยู่ก็อยากจะให้ประคองและช่วยกันทำเพื่อลูกให้ได้มากที่สุด แต่ถ้าครอบครัวไหนที่คิดว่าแยกกันอยู่แล้วสุขใจกว่า ก็อยากให้ดำเนินชีวิตกันต่อไปนะคะ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็อยากจะเป็นกำลังใจให้กับทุกๆ ครอบครัวได้ผ่านอุปสรรคนี้ไปให้ได้เลยล่ะค่ะ จริงๆ หากตกลงกันได้เชื่อว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดีนะคะ
Related Courses
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...



แนวทางลดการบูลลี่ในสถานศึกษา
การถูกรังแก ล้อเลียน ดูหมิ่น เหยียดหยามผู้อื่นส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ปัญหาเหล่านี้จ ...



การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...



DIY หน้ากากอนามัยใช้เองกันเถอะ
การเรียนรู้เรื่องการทำหน้ากากผ้าจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับหน้ากากผ้าเหมาะกับใครและผ้าสำหรับทำหน้ากากอนามัยควรใช้ผ้าแบบไหนดี ห ...



Related Videos


ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ


การศึกษาแบบโฮมสคูล (ครอบครัวดิษยบุตร)


Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

