"เทคนิคพ่อแม่ในการค้นหาสมรรถนะของลูก" ตอนที่ 1 โดย Starfish Education

เพราะปัญหาเรียนแล้วนำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ของเด็ก นำมาสู่การเปลี่ยนหลักสูตรเพื่อให้เด็กเกิด “สมรรถนะ” (Competency Based Learning)
ในสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า เด็กไม่สามารถเอาความรู้ที่ได้จากห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน แม้แต่เด็กที่จบการศึกษาแล้วก็ยังไม่สามารถเอาไปใช้ได้ดี เพราะการจัดการศึกษาแบบเดิมเป็นการให้เด็กท่องจำไปสอบ ไม่ได้เน้นเตรียมความพร้อมให้เด็กพัฒนาทักษะการคิด การแก้ปัญหา และการพัฒนาองค์ความรู้ด้วยตัวเอง ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นที่มาของนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่จะ “เปลี่ยนหลักสูตรจาก Content Based ที่เน้นเนื้อหาวิชาการไปสู่ Competency Based ที่เน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่พร้อมกับการเผชิญโลกในศตวรรษที่ 21”
ดังนั้น “สมรรถนะ” จึงเป็นเรื่องของความสามารถของเด็ก ๆ ที่จะเอาไปใช้ในการต่อยอดกับทั้งกระบวนการเรียนรู้ และการใช้ในชีวิตในสังคม ซึ่งจะครอบคลุมทั้งสิ่งที่เด็กจะต้องรู้ และสิ่งที่เด็กจะต้องทำได้ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
เพราะอะไร พ่อแม่ถึงต้องมีบทบาทในการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับลูก ?
ที่ผ่านมา ร้อยละ 65 ของเด็กที่เรียนประถม พอเขาเรียนจบแล้ว โตไปเขาได้ทำงานในสายงานที่เขาไม่รู้จัก (อ้างอิงจาก World Economic) หากลองย้อนกลับไปตอนที่คุณพ่อคุณแม่เป็นเด็ก มักมีคำถามยอดฮิตที่เคยเจอว่า “โตขึ้นอยากเป็นอะไร” คำตอบที่เราจะตอบมีอยู่ไม่มาก เช่น อยากเป็นคุณหมอ คุณครู พยาบาล ตำรวจ ทหาร เป็นต้น แต่ถ้าเรามองกลับมาที่ปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า อาชีพในฝันของเด็ก ๆ คือ อยากเป็น Youtuber อยากเป็นคนรีวิวสินค้าที่สามารถทำรายได้ได้เยอะ ๆ หรือแม้กระทั่งอยากเป็นนักกีฬา E-Sport ลองคิดดูว่า ถ้าลูกเราเป็นเด็กประถมที่อยู่ในยุคนี้ เขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง
แต่จะเห็นได้ว่า ทุกวันนี้คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีเวลาให้กับการเรียนรู้ของลูก และหวังที่จะพึ่งพาที่โรงเรียน อีกทั้งยังติดกับความเชื่อเก่า ๆ ในเรื่องของการศึกษาแบบเดิม ที่เน้นแต่เนื้อหาวิชาการเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าการจัดการศึกษาแบบเดิมนั้น ไม่สามารถที่จะส่งเสริมอาชีพใหม่ ๆ ให้กับเด็ก ๆ ในยุคปัจจุบันได้
ดังนั้น “พ่อแม่ถึงต้องมีบทบาทในการเสริมสร้างสมรรถนะให้กับลูก” หากเราสามารถจัดการทุกอย่างให้เบ็ดเสร็จในตัวของมันเอง มีทั้งหลักสูตร เนื้อหาวิชาความรู้ ที่จะฝึกในเรื่องของทักษะที่จะเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กก็อาจจะช่วยคุณพ่อคุณแม่ได้มากขึ้น อีกทั้ง กระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่เน้นฐานสมรรถนะจะช่วยลบล้างความเชื่อเก่า ๆ ได้นั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเห็นผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างเช่น เด็กสามารถที่จะนำเอาเนื้อหาในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ได้พัฒนาตัวเอง นำไปต่อยอดในการดำรงชีวิตได้อย่างมีเหตุมีผล และสามารถปรับตัวได้ดีขึ้น แต่คุณพ่อคุณแม่ อาจจะต้องให้เวลากับกระบวนการเปลี่ยนแปลงซักระยะหนึ่ง เพราะผลการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเร็ว หรือช้าขึ้นอยู่กับปัจจัยที่หลากหลาย สุดท้ายแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็จะเป็นคนที่ Feedback กลับมาที่คุณครูว่าการปรับไปใช้หลักสูตรฐานสมรรถนะนั้นมีผลออกมาเป็นเช่นไร แล้วพูดคุยหาแนวทางที่ดีที่สุดในการช่วยพัฒนาเด็กร่วมกันต่อไป
จากเวทีเสวนา "เทคนิคพ่อแม่ในการค้นหาสมรรถนะของลูกตัวเอง" โดย Starfish Education
Related Courses
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...



คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...



การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...



ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ 6 ปัจจัยการออกแบบการเรียนรู้ให้นักเรียน ในแบบฉบับ Booklet เช็คลิสต์ 8 วิธีออกแบบกิจ ...



ออกแบบ Booklet (กิจกรรมการเรียนรู้) อย่างไร ช่วยนักเรียนไม่ถดถอยในการเรียนรู้ช่วงปิดเทอม
Related Videos


เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย


Success Story โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP)

