5 ขั้นตอนกว่าจะเปลี่ยนผ่านจากครูอนุบาลสู่การเป็นโค้ช
การเป็นครูอนุบาลไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และไม่ใช่ว่าใครก็มาเป็นได้นะคะ ต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสอนสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กๆ ได้ แต่ก็นั้นแหล่ะ...ในการสอนของเราก็ยังสอนตามแผน เน้นให้นักเรียนทำตามคำสั่ง ไม่ได้ส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์ หรือคิดแก้ไขปัญหา ส่งผลให้นักเรียน ตั้งคำถามไม่เป็น แก้ไขปัญหาเองไม่ได้และรอให้ครูเป็นคนป้อนความรู้ฝ่ายเดียว
แต่การเป็นครูของฉันจบลง เมื่อที่ทำงานปรับระบบในการทำงานที่ให้ครูอย่างฉัน...ต้องเป็นโค้ชที่ให้คำปรึกษาคุณครู พูดง่ายๆ ก็คือ เปลี่ยนจาก ผู้สอน ไปสู่การเป็นโค้ช หรือพี่เลี้ยงนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ฉันค่อนข้างคิดหนักอยู่เหมือนกัน.....แล้วฉันต้องเปลี่ยนตัวเองยังไงบ้าง? สิ่งที่ต้องเปลี่ยนก่อน คือความเข้าใจในบทบาทของตัวเอง จากเดิมที่ต้องเตรียมเนื้อหา สอนตามแผน แล้วสั่งให้นักเรียนทำตามครู ก็ต้องปรับเปลี่ยนเป็นการโค้ช (Coach) แทน เช่น ถามนักเรียนว่าอยากเรียนเรื่องอะไร อยากทำกิจกรรมอะไร แล้วให้นักเรียนได้ลองทำด้วยตนเอง และต้องเป็นผู้ที่เข้าใจนักเรียน ฝึกการตั้งคำถาม รับฟัง และสังเกต เพื่อเป็นการกระตุ้นความคิด และได้เห็นมุมมองของนักเรียนมากขึ้น ซึ่งผู้ที่จะเป็นโค้ชที่ดีต้องมีทักษะ 5 ด้าน ดังนี้
1. ผู้อํานวยการเรียนรู้ (Facilitating) สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยจัดสภาพแวดล้อม สื่อ อุปกรณ์ และคําแนะนําที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และพัฒนาทักษะด้วยตนเอง
2. ผู้สร้างความร่วมมือ (Collaborating) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือทํางานร่วมกับผู้อื่นได้
3. ผู้พัฒนาศักยภาพเฉพาะบุคคล (Personalised Learning) จัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความถนัดและความแตกต่างของผู้เรียน
4. ผู้เผยแพร่ความรู้ (Authoring and Publishing) ผู้สร้างและเผยแพร่ จัดเตรียมและนำเสนอแหล่งข้อมูลให้กับผู้เรียน
5. ผู้ใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovation Skills) เป็นผู้สร้างสรรค์ใฝ่เรียนรู้เพื่อค้นหาและนําเอาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้สนับสนุนการสอนเพื่อให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ
ตอนนี้เราก็ทราบแล้วว่าต้องเปลี่ยนตัวเองอย่างไร และต้องมีทักษะอะไรบ้าง ต่อไปเป็นการเตรียมตัวในการลงพื้นที่ ซึ่งในการลงพื้นที่นั้นก็มีประเด็นที่ให้คำปรึกษาที่แตกต่างกันไปค่ะ แต่ก่อนการโค้ชทุกครั้งที่ต้องทำคือ การวางแนวทางให้ได้เป้าหมายในการโค้ช ซึ่งเป็นเทคนิคการผูกมิตรของท่าน ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง ที่ได้แนะนำให้โค้ชมาปรับใช้ในการลงโค้ช เช่น
ปรับทุกข์ = คุยทุกข์สุข ฝนฟ้าอากาศวันนี้เป็นอย่างไร
ผูกมิตร = สร้างสัมพันธ์อันดี
เกาะติด = ขอช่องทางการติดต่อสื่อสาร
สร้างแกน = สร้างอุดมการณ์และตั้งเป้าหมายร่วมกัน
ในการตั้งคำถามแต่ละครั้ง อย่าลืมสังเกต เก็บพฤติกรรมของคู่สนทนาด้วย เช่น เราเห็นพฤติกรรมที่ดี/ไม่ดีของผอ./ ครู/ เด็ก อย่างไร) จากนั้นนำมาสะท้อนว่าเราได้เรียนรู้อะไร (ทำยังไงให้คู่สนทนาของเรานั้นไปต่อได้ เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และนี่ก็เป็นเทคนิคดีๆที่ฝากไว้นะคะ ทุกๆท่านสามารถนำไปใช้ได้ค่ะ
สุดท้ายนี้สิ่งที่อยากจะฝากไว้ให้กับคุณครูคือ แค่คุณครูเปลี่ยนมุมมองหรือเปลี่ยนการวิธีสอน มันก็อาจจะทำให้สิ่งที่คิดว่ายาก ก็จะง่ายขึ้น ทำผู้เรียนและครูผู้สอนได้ผลลัพธ์ที่ดีไปพร้อมๆกัน อย่างครูแทนที่จะเตรียมเนื้อหา ก็เปลี่ยนเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน ผู้เรียนก็ได้ลงมือทำให้การเรียนนั้นสนุกมากขึ้น และได้ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
Related Courses
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...