โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
โครงการวิจัยเพื่อสนับสนุนการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP 1 ปี 2562 เป็นโครงการเพื่อการพัฒนาเครื่องมือ สนับสนุนการใช้นวัตกรรมของโรงเรียนอย่างยั่งยืน ทั้ง 59 โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และสมุทรสาคร โดยการพัฒนาร่วมกันกับโรงเรียนสตาร์ฟิช เพื่อศึกษาปัจจัยและหาความสัมพันธ์ของการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และจัดทำข้อเสนอแนะต่อแนวทางการติดตาม และประเมินผลโครงการ TSQP1 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563
การใช้นวัตกรรมการศึกษาอย่างยั่งยืนกับการประเมินภายใน การประเมินเป็นขั้นตอนจำเป็นของการพัฒนา และนวัตกรรมเป็นเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการเรียนรู้ ดังนั้น การใช้นวัตกรรมเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการดังนี้
1) ระบุนวัตกรรมที่ต้องการใช้และสิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
2) ครูทำการประเมินห้องเรียน โรงเรียนทำการประเมินตนเอง
3) เก็บองค์ความรู้จากการสะท้อนผลการใช้นวัตกรรม
4) ขยายผลในระดับที่กว้างขึ้น
5) ติดตามและสะท้อนผล เพื่อปรับปรุงเทคนิคการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
การประเมินภายใน การประเมินโรงเรียนมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อสร้างข้อมูลให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้ ติดตาม ประเมินผลการทำงานของโรงเรียน และเพื่อการพัฒนา (School Improvement) ระบุจุดแข็ง จุดควรพัฒนา เพื่อหาแนวทางปรับเปลี่ยน สำหรับองค์ประกอบการประเมินภายใน ประกอบด้วย
1) กรอบการประเมิน ได้แก่ กระบวนการนอก-ในห้องเรียน สภาพแวดล้อม ผลลัพธ์
2) กระบวนการ ได้แก่ มาตรฐาน เป้าหมายและแผนที่มีแนวทางไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน มิติการประเมินที่เป็นจุดเด่น
3) ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบการประเมินภายในของต่างประเทศและของไทย พบว่า ต่างประเทศมีกรอบการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน และการสะท้อนผลร่วมกันทั้งโรงเรียนและชุมชม ส่วนของไทยมีรายละเอียดการประเมินยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร บางประเด็นยังไม่ครอบคลุม เช่น การ PLC ยังไม่ครอบคลุมถึงกลไกการติดตามผล อีกทั้งยังขาดประเด็นสำคัญในการพัฒนาโรงเรียน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของผู้เรียนในกระบวนการประเมินผล และการร่วมเป็นผู้นำการเรียนรู้
จากการดำเนินโครงการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง พบว่า โรงเรียนมีค่าเฉลี่ยพัฒนาการขึ้น 0.17 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบจากการใช้เครื่องมือ “โรงเรียนประเมินตนเอง” ครั้งแรกและครั้งล่าสุด ทั้งนี้ จากแบบสำรวจ การสอนเพื่อการเรียนรู้ ภาวะผู้นำเพื่อการเรียนรู้ และชุมชนแห่งการเรียนรู้ พบว่า ความเปลี่ยนแปลงภาพรวมทั้ง 3 ด้าน อยู่ในระดับ 4.12 และจากการสัมภาษณ์ พบว่า การสนับสนุนที่ผ่านมาเน้นที่ระดับห้องเรียน แต่ยังไม่มีการสนับสนุนภาวะผู้นำ เนื่องจาก ผอ. บางส่วนยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเองต่อการพัฒนาทั้งระบบ
สำหรับข้อเสนอแนะ ด้านการพัฒนาโรงเรียนสามารถนำเทคนิค OD (Organization Development) มาใช้ในการพัฒนาองค์กร เช่น การพัฒนาภาวะผู้นำของผอ. การเพิ่มทักษะของโค้ช เป็นต้น ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างการสื่อสาร โดยการปรับปรุงคู่มือเพิ่มบทเรียนจากโรงเรียนที่ใช้เครื่องมือได้ดี จัดอบรมสร้างความเข้าใจ และจัดทำแนวทางและรายงานผลการประเมิน และด้านการจัดหมวดหมู่ สร้างความเชื่อมโยงของเครื่องมือ โดยการใช้ข้อมูลจากเครื่องมือประเมินโรงเรียน ของมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ มาประกอบทำแผนประจำปี ดำเนินการสะท้อนผลการทำงานตามแผนประจำปีด้วยเครื่องมือประเมินตนเอง สรุปผลการทำงานเปรียบเทียบกับแผนและวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาหลังจบภาคเรียน
Related Courses
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator
Coaching Through MBTI : Myers-Briggs Type Indicator เป็นคอร์สที่จะทำให้คุณครูได้เปลี่ยนจากครูที่ทำหน้าที่สอนให้เป็นโ ...
โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...