5 คำถามธรรมดาแต่สำคัญ! เช็กเด็ก ๆ ยังปลอดภัยดีทั้งกายใจ
ข่าวเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ หรือการ Bullying ยังมีมาให้เห็นบ่อย ๆ จากสื่อช่องทางต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้ปกครองและคนในสังคมทุกคนต้องเพิ่มความสำคัญ และคอยช่วยกันสอดส่องว่า เกิดเหตุแบบนี้ขึ้นกับคนรอบตัวของเราหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็ก ๆ ที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือ หรือดูแลตัวเองได้ดีนัก
ซึ่งเด็ก ๆ หลายคนไม่กล้าส่งสัญญาณนี้ออกมา อาจเพราะมีหลายเหตุปัจจัยที่ทำให้ไม่ส่งสัญญาณออกมา เช่น เด็กอาจจะไม่รู้ว่าสิ่งนี้คือการถูกคุกคาม ยังไม่เข้าใจเรื่องการล่วงละเมิดหรือการถูก Bullying หรืออาจจะกลัวการถูกตัดสิน และเขินอาย เป็นต้น
หน้าที่ของคนใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง หรือคุณครู ก็คือการพยายามสังเกตอาการ และคอยตั้งคำถามชวนคุยกับเด็ก ๆ อย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งคำถามที่ยกตัวอย่างในวันนี้ เป็นตัวอย่างคำถามในกรณีที่เด็ก ๆ อยู่โรงเรียน แต่ถ้าหากต้องการเช็กสภาวะความรู้สึกและอารมณ์ทั่วไป ก็สามารถปรับคำถามได้ตามเหตุการณ์ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุด คือการที่ผู้ปกครองเปิดประโยคสนทนา สร้างความรู้สึกปลอดภัย และปล่อยให้เด็ก ๆ ได้แสดงความรู้สึกของตนเอง โดยที่รู้ว่ามีคนรับฟัง และอยู่เคียงข้างเสมอ
มาลองดูคำถามธรรมดา แต่สำคัญ! ที่ว่ากันค่ะ
- วันนี้ไปโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้างจ๊ะ ? / ช่วงนี้เป็นยังไงบ้างหนู ?
- วันนี้/ช่วงนี้ รู้สึกดีกับอะไร และรู้สึกแย่กับอะไรมากที่สุด ?
- วันนี้เล่นกับใครที่โรงเรียนบ้าง เพื่อนๆ เป็นยังไงจ๊ะ ?
- เพื่อน ๆ / ครู ให้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ? แล้วเราสนุกหรือเปล่า ?
- ระหว่างทางกลับบ้าน หรือไปโรงเรียน ได้ทำอะไรบ้าง / ได้พบเจอใครระหว่างทางไหม
หลังจากถามคำถามแรกไปแล้ว ในช่วงแรก เด็ก ๆ อาจจะตอบแค่ว่า “ก็ดีนะ” “โอเค” แล้วไม่พูดอะไรต่อ ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่เด็ก ๆ อาจจะทำแบบนี้ ขอให้ผู้ปกครองใจเย็น ๆ และพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยที่ไม่พยายามยัดเหยียด แต่ต้องใช้เวลาและความสม่ำเสมอในการถามไถ่ค่ะ
แต่ถ้าหากผู้ปกครองสังเกตแล้วว่า เด็ก ๆมีแนวโน้มที่จะตกเป็นเหยื่อ ลองมาดูวิธีการที่จะช่วยซัพพอร์ตเด็ก ๆ ต่อไปกันค่ะ
- สร้างกำลังใจและให้ความมั่นใจกับเด็ก ๆ จริง ๆ ว่า คุณต้องการที่จะช่วยเหลือเขาจริง ๆ ไม่ว่าสถานการณ์จะยากลำบากแค่ไหน ทำให้เด็ก ๆ รู้ว่าคุณอยู่ข้างเขา 100%
- พูดกับเด็ก ๆ อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอว่า การถูกล่วงละเมิด หรือการถูกรังแกไม่ใช่ความผิดของเขา
- รักษาความเชื่อใจระหว่างคุณและเด็ก ๆ ไว้ อย่าทำอะไรที่ไม่ได้เกิดจากการพูดคุยกันก่อน
- ช่วยกันคิดว่า ถ้าเกิดสถานการณ์แบบนี้อีก จะต้องเอาตัวรอดอย่างไร ให้ออกมาในรูปแบบของพฤติกรรมที่เห็นได้ชัดเจน
- ช่วยกันคิดวิธีการป้องกันการไปอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น เช่น การไม่อยู่คนเดียวตามลำพัง การไม่พกของมีค่า หรือเงินเยอะ ๆ ไปโรงเรียนหรือไปที่ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีผู้ใหญ่อยู่ด้วย
- ผู้ปกครองควรคิดถึงวิธีการให้กำลังใจ ยกตัวอย่างเช่น การติดโปสเตอร์คำพูดเชิงบวก ที่ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกดี หรือ เขียนข้อความเชิงบวกที่ชื่นชมความเข้มแข็งที่ผ่านมาได้ และให้กำลังเด็กคนนั้น ติดไว้ในที่เห็นได้ง่าย หากมีเด็ก ๆ ในการปกครองตกเป็นเหยื่อ
- ให้กำลังใจเด็ก ๆ หรือส่งเสริมให้เด็ก ๆ ชวนเพื่อนมาเล่นที่บ้าน อาจจะแค่หนึ่งครั้งก่อน เพื่อให้เขาได้ฝึกทักษะการเข้าสังคม
หลังจากที่รู้วิธีการตั้งคำถามเพื่อสังเกตอาการของเด็ก ๆ และวิธีซัพพอร์ตเด็ก ๆ แล้ว หากผู้ปกครอง หรือคุณครู พบเห็นเหตุการณ์ที่ไม่ชอบมากลกับเด็ก ๆ ของเรา ก็อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กันนะคะ
แปลและเรียบเรียงมาจาก KiVa Anti-Bullying Program Parent’s Guide data.kivaprogram.net/parents/
Related Courses
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้