รับแชร์โพสบนเฟสอย่างไร ไม่ผิดกฏหมาย
พูดได้เลยว่าทุกวันนี้เราใช้ชีวิตกัน 2 โลก นั่นคือโลกออนไลน์และโลกจริง แต่จะอย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 โลก ต่างก็มีกฎกติกา และกฎหมายที่ควบคุมอยู่ด้วย วันนี้เราจึงมาขอแชร์เรื่องราวที่มาแรงในโลกของ Facebook ว่าจะทำอย่างไรให้ "ไลค์-แชร์-โพสต์" แบบไม่ผิดกฎหมายกัน เพื่อทั้งเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่จะไม่ทำผิด ไม่ต้องมานั่งหน้าเศร้าเล่าว่า “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” กันนะคะ
แชร์ข่าวปลอม
ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อของข่าวปลอมได้ทั้งนั้น ยิ่งสมัยนี้การสร้างข่าวปลอมไม่ได้มาแค่โพสต์เขียนให้อ่านเท่านั้น แต่บางครั้งมาทั้งภาพ และเสียงที่ตัดต่อแบบสุดจะเนียน แล้วเราจะเชื่อได้อย่างไรว่านั่นเป็นข่าวจริงหรือปลอม เรามีข้อสังเกตุง่าย 3 ข้อค่ะ
- ที่มาต้องชัด - ควรอ้างอิงที่มา ข้อมูลที่กล่าวถึงอย่างชัดเจน เช่น สถานที่ เวลา บุคคลที่สามที่กล่าวถึง หากไม่ระบุข้อมูลใด ๆ อาจะเป็นไปได้ว่าตั้งใจเผยแพร่ข่าวปลอม
- นำเสนอกันหลายแหล่ง - เช็คง่ายๆ ด้วย Google เลยค่ะ ถ้าพบว่าไม่มีสื่อไหนนำเสนอเรื่องนี้เลย เป็นไปได้มากว่าจะเป็นข่าวปลอม
- ข่าวเก่าเล่าใหม่ - เช่น ข่าวน้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยพิบัติต่างๆ บางครั้งนำเอาคลิปหรือภาพเก่ามาใช้ ก็จัดเป็นข่าวปลอมเช่นกัน
แชร์ข่าวปลอมมีโทษนะ เพราะถือว่าเป็นการนำเข้าข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มีความผิดตามมาตรา 14(5) หากการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แชร์ชวนเล่นพนันออนไลน์
เห็นกันมากมายเลยโดยเฉพาะเน็ตไอดอล ยูทูปเบอร์ที่มักแชร์ เชิญชวนไปเล่นพนันออนไลน์ รวมถึงมีงานที่ให้เด็กๆ แชร์ลิงค์ชวนคนเล่นพนัน โดยจะได้เงินตามจำนวน เด็กๆหลายคนหลงทำเพราะคิดว่าไม่มีความผิดอะไร เพราะไม่ได้ไปเล่นเอง แต่การแชร์โพสต์แบบนี้ผิดกฎหมายอย่างแน่นอนค่ะ เพราะการชักชวนให้คนไปเล่นพนันในรูปแบบต่างๆ ทั้งส่งลิงก์เว็บไซต์การพนันมาทางข้อความสั้น (SMS) ลงโฆษณาในเว็บไซต์หรือแม้แต่โพสต์ และแชร์โพสต์ลงในสื่อสังคมออนไลน์หลายๆแพลตฟอร์ม ถือว่ามีความผิดฐานมีส่วนชักชวนให้ผู้อื่นเล่นการพนัน จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.การพนันมาตรา 12 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสองเดือน เลยทีเดียว
แชร์รีวิวเกินจริง
การรับงานรีวิวไม่ผิดกฎหมายก็จริงค่ะ แต่ถ้าสินค้าที่เรารีวิวนั้นโอ้อวดเกินจริงหรือที่เราเรียกว่าโฆษณาสรรพคุณเกินจริงนั้น จะกลายเป็นผิดกฎหมายแน่นอนค่ะ โดยเฉพาะสินค้ากลุ่ม อาหารเสริม ยา และเครื่องสำอาง ที่ฮิตกันมากก็คงหนีไม่พ้นครีม เซรัมต่างๆ ที่มักจะโฆษณาเกินจริงหนักมาก
ซึ่งความผิดฐาน “โฆษณาเกินจริง” มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.อาหาร มาตรา 40 ห้ามไม่ให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารอันเป็นเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แชร์ชวนคนเล่นแชร์
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การเล่นแชร์นั้นไม่ผิดกฎหมาย หากไม่ทำเกินกว่าที่ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2543 กำหนดไว้ดังนี้
- ห้ามเป็นนายวงแชร์ หรือท้าวแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง
- มีจำนวนสมาชิกในวงแชร์ทุกวง รวมกันไม่เกิน 30 คน
- มีเงินทุนกองกลางต่อหนึ่งงวด รวมกันไม่เกิน 300,000 บาท
ซึ่งไม่รวมถึงการเล่นแชร์ออนไลน์ ซึ่งผิดกฎหมาย 100% โดยหากบุคคลใด นายแชร์หรือท้าวแชร์ โฆษณาเชิญชวนหรือโพสต์ข้อความชวนให้เล่นแชร์ จะต้องโทษปรับสูงสุด 50,000 บาท
แชร์โพสต์หมิ่นประมาท
บางครั้งความขัดแย้งที่มาเป็นตัวอักษรก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน การโพสต์ต่อว่า ด่าทอผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือบุคคลสาธารณะ ก็ต้องระวังว่าไม่ทำให้เขาเสื่อมเสีย เพราะอาจจะผิดกฎหมายได้
โดยการโพสต์ข้อความลงใน Facebook ส่วนตัวที่ตั้งค่าแบบสาธารณะ หรือ Pages Facebook หรือ YouTube หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆ ที่ใครๆก็สามารถเข้าถึงข้อความนั้นได้ ก็จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ดังนั้นเราต้องคิดไว้เสมอว่า โซเชียลมีเดีย ไม่ใช่ช่องทางที่เปิดขึ้นมาให้เราไปด่าใครได้ฟรี ๆ เพราะฉะนั้น การที่เราไปโพสต์ด่า ข่มขู่ คุกคาม ก็อาจจะทำให้ต้องถูกดำเนินคดีได้
แชร์โพสหมิ่นเบื้องสูง
เด็กๆ อาจจะเคยได้ยินนิทานเรื่องเด็กเลี้ยงแกะ ที่เด็กสร้างเรื่องว่าจะมีหมาป่าบุกเข้าหมู่บ้านจนคนอื่นวุ่นวายไปหมด ในทางออนไลน์ก็เช่นกันค่ะ ซึ่งการระทำนี้ในก็ผิดกฎหมายคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ นั่นเอง ซึ่งนอกจากจะเป็นเหตุการณ์ที่สร้างเรื่องขึ้นมาแล้วยังรวมถึง
1.โพสต์หรือเเชร์ข้อมูลที่เป็นเรื่องเท็จ หรือปลอมแปลงข้อมูล อันทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย เช่น การสร้างข่าวปลอม หรือการหมื่นประมาทผู้อื่น ตามที่เล่าไปแล้ว
2.โพสต์หรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น โพสต์ว่าจะมีระเบิดที่นั่น หรือโพสต์ข้อความที่ทำให้ประชาชนตกใจ
3.โพสต์หรือแชร์ข้อมูลอันเป็นเท็จ ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงแห่งราชอาณาจักร หรือเป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา กรณีนี้รวมไปถึงการหมิ่นเบื้องสูงด้วย
4.โพสต์หรือเเชร์ข้อมูลลักษณะลามกที่ประชาชนทั่วไปนั้นสามารถเข้าถึงได้
สิ่งเหล่านี้ ในพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 กำหนดโทษไว้ด้วยว่า "ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ " จะเห็นได้ว่าความผิดจากการโพส คลิกไลค์ หรือแชร์บนโลกออนไลน์ ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย เพราะฉะนั้น รู้ไว้ดีกว่าแก้ ต้องเช็คก่อนโพสต์ และตั้งสติก่อนจะพิมพ์ทุกครั้งนะคะ
Related Courses
Micro Learning เครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกล
การเลือกครื่องมือช่วยจัดการเรียนรู้ทางไกลมีความสำคัญเพราะเป็นช่องทางที่จะนำความรู้ไปสู่นักเรียน จะมีเครื่องมือไหนบ้างที่เหมาะส ...
การสร้างสื่อการเรียนรู้
การสร้างสื่อการเรียนการสอนแบบดิจิทัล เพื่อการสอนเสริมและลดปัญหาการถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ