เมื่อนักเรียนเรียนออนไลน์ ครูควรประเมินอย่างไร ตอนที่ 2

ศน.รัชภูมิ สมสมัย
ศน.รัชภูมิ สมสมัย 1363 views • 2 ปีที่แล้ว
เมื่อนักเรียนเรียนออนไลน์ ครูควรประเมินอย่างไร ตอนที่ 2

ความรู้ที่ผมมี ประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น และจากการศึกษาเพิ่มเติมทั้งในส่วนที่เป็นเอกสาร ส่วนที่เป็น website และส่วนที่เป็น youtube ทำให้ผมคิดว่า เมื่อเราจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การประเมินก็ควรปรับตัวในลักษณะออนไลน์เช่นกัน (ไม่ใช่ google form / KAHOOT / Plickers) How to ของผมมีดังต่อไปนี้

1. ครูเราต้องไว้ใจนักเรียน ต้องก้าวข้ามคำว่า นักเรียนจะลอกกัน นักเรียนจะ copy งานมาส่ง หรือนักเรียนจะเปิดหนังสือเวลาทำข้อสอบ เป็นต้น หากครูเราไม่ไว้ใจนักเรียน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์นั้นจะไม่สามารถทำได้ และที่สำคัญต้องสื่อสารกับผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันเสียก่อนว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์นั้น เราจะ focus ไปที่การพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องกับความคาดหวังที่ผู้ปกครองตั้งไว้ พบกันคนละครึ่งทางคือทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์แบบนี้

2. คณะครู นักเรียน และผู้ปกครอง (ถ้าเป็นไปได้) เราควรร่วมกันกำหนด focus การเรียนรู้ในสถานการณ์ไม่ปกติก่อนว่าเราจะ focus อะไรมากกว่ากันระหว่าง Learning Process หรือ Learning Outcome 

  • Learning Process เช่น หากนักเรียนเลือกที่จะบริโภคผักสวนครัวที่ปลอดภัย นักเรียนควรมีขั้นตอนการปลูกอย่างไร (นักเรียนอาจหาขั้นตอนการปลูกจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และลองทดลองปลูกจริง)
  • Learning Outcome เช่น หากนักเรียนเลือกที่จะบริโภคผักสวนครัวที่ปลอดภัย นักเรียนควรเลือกผักสวนครัวที่มีลักษณะอย่างไร (นักเรียนอาจหาลักษณะผักสวนครัวที่ปลอดภัยจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ)

ในส่วนตัวผม ผมคิดว่าเราควร focus ไปที่ Learning Process มากกว่า Learning Outcome เพราะคำว่า Competency based กำลังเข้ามาในวงการศึกษาไทย และผมก็เชื่อต่อไปว่า คำว่า Competency based นั้นควรมุ่งไปที่ Learning Process มากกว่า Learning Outcome 

Learning Process จะช่วยแก้ปัญหาสุภาษิตไทยคำว่า ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด ที่เอาตัวไม่รอดเพราะเราไม่ได้ฝึกนักเรียนไปที่ Learning Process แต่เราฝึกนักเรียนไปที่ Learning Outcome (เรามุ่งเน้นไปที่ลักษณะของผักสวนครัวที่ปลอดภัย      แต่เราไม่มุ่งเน้นไปที่วิธีการได้มาซึ่งผักสวนครัวที่ปลอดภัย)

ประเด็นเพิ่มเติมเรื่องการ focus การเรียนรู้ คือ         ถ้าเป็นไปได้ควรกำหนดร่วมกันกับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ทราบ และตระหนักได้ว่าเป้าหมายสุดท้ายของการเรียนวิชานี้       ในสถานการณ์แบบนี้ คืออะไร? และควรเพิ่มน้ำหนักความสำคัญให้ครอบคลุมถึงสมรรถนะพื้นฐานของนักเรียนมากกว่ามาตรฐาน ตัวชี้วัดตามหลักสูตร 2551 ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมครูและนักเรียนให้เข้าสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะต่อไป   

 3. งานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้กับนักเรียนนั้น (Learning Activity) ควรเป็นงานที่สอดคล้องกับจุด focus การเรียนรู้ (จากข้อ 2) กำหนดสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง / สถานการณ์จริง / ความสนใจของนักเรียน / จิตวิทยาการเรียนรู้ในแต่ละช่วงวัย และท้าทายสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียน เช่น วัคซีน Covid 19 เชื้อเป็นเชื้อตาย เป็นอย่างไร หรือ การอ่านกราฟจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid 19 ในเดือนกันยายน 2564 หรือ Food Delivery เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันอย่างไร เป็นต้น  แล้วนำสิ่งที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาสกัดเป็น Mind Map / Infographic / Clip VDO ซึ่งเป็นภาระงานที่สอดคล้องกับโลกความเป็นจริง

ที่สำคัญผมคิดว่าควรเป็นการมอบหมายงานที่เน้นกระบวนการกลุ่ม (ถ้าทำได้) ทั้งนี้เพื่อเป็นการฝึกนักเรียนในเรื่องของการปรึกษาหารือ การระดมสมอง การแสดงความคิดเห็น         การค้นคว้า การอภิปรายร่วมกัน การใช้เทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ หรือแม้กระทั่งการฝึกจริยธรรมทางวิชาการ เช่น วิธีการเขียนอ้างอิง เมื่อเรา copy งานจาก internet หรือคนอื่น เป็นต้น 

ประเด็นเพิ่มเติมเรื่องการมอบหมายงาน คือ การมอบหมายงานหรือกิจกรรมควรสอดคล้องกับวัยของนักเรียน ศักยภาพของผู้ปกครอง ไม่ควรมอบหมายงานที่มากเกินไป หรือน้อยเกินไป ต้องให้นักเรียนรู้สึกท้าทายความสามารถ และที่สำคัญครูเราต้องสามารถตรวจงานที่มอบหมายนั้นให้เสร็จทันเวลา (ได้จริง)

4. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดกติกาที่ใช้ในการประเมิน (Learning Assessment) ระยะเวลาสำหรับการส่งงาน เกณฑ์การเลือกชิ้นงานเพื่อรับการประเมิน เกณฑ์การประเมิน ร่องรอยหรือหลักฐานในการประเมิน และใครควรเป็นผู้ประเมินชิ้นงานนั้น เช่น ตนเอง เพื่อน ครู หรือผู้ปกครอง ในส่วนตัวผม ผมคิดว่าเมื่อนักเรียนเรียนรู้ที่บ้าน ภาระงาน ชิ้นงาน ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการประเมิน

ประเด็นเพิ่มเติมเรื่องการกำหนดร่วมกัน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ตอนนี้มีหลายชนิด เช่น Google classroom , ZOOM , Facebook , Line , Vroom , Microsoft team หรือ DEEP ตรงนี้ควรคุยกันในระดับโรงเรียนก่อนว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของเรา หรือโรงเรียนของเราจะเลือกใช้เครื่องมือชนิดไหน? ไม่ใช่ว่าวิชานี้ใช้ MS Team วิชานั้นใช้ Google classroom วิชาโน้นใช้ ZOOM หากไม่คุยกันแล้ว ปัญหาจะเกิดตามมา เพราะความถนัดของครูแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน และนักเรียนกับผู้ปกครองจะปรับ mode การเรียนรู้และการประเมินของนักเรียนไม่ทัน

5. การเรียนการสอนออนไลน์นั้น ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนจะเกิดขึ้นน้อยมาก นักเรียนอาจจะสงสัยในสิ่งที่ครูทำการประเมิน จะไปถามครูก็ไม่ใช่เวลา เพราะตอนนี้ก็สามทุ่ม       กว่าแล้ว เป็นต้น สิ่งที่ผมจะเน้นย้ำในข้อนี้มี 3 เรื่องคือ 

  • จุด focus การเรียนรู้ (Learning Process หรือ Learning Outcome) ต้องชัดเจนว่าคืออะไร สมรรถนะของนักเรียนที่อยากให้เกิดคืออะไร วิธีการที่เราใช้ประเมินนั้นสอดคล้องกับจุด focus การเรียนรู้ / สมรรถนะของนักเรียนมากน้อยเพียงใด เพราะฉะนั้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายจึงมีความสำคัญมากส่วนค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น ผมว่าเรายืดหยุ่นได้อยู่ในสถานการณ์แบบนี้ 
  • คำชี้แจง สถานการณ์ คำถาม คำตอบ และเกณฑ์การให้คะแนนต้องชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนครูอ่าน นักเรียนอ่าน ผู้ปกครองอ่าน ภาษาวัดผลเรียกว่า มีความปรนัย พูดง่าย ๆ คือ ใครอ่าน ก็ไม่งง
  • งานหรือกิจกรรมที่มอบหมายให้กับนักเรียนนั้น (Learning Activity) ควรมีน้อยชิ้น บูรณาการชิ้นงานควรเป็นสิ่งที่โรงเรียนควรทำเป็นอย่างยิ่ง น้อยชิ้นแต่ต้องสามารถสะท้อนภาพความสำเร็จ หรือสารสนเทศของจุด focus การเรียนรู้ (Learning Process หรือ Learning Outcome) ของนักเรียนได้ครอบคลุมมากที่สุด (เป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล)

6. การสอบออนไลน์ ไม่ว่าครูเราจะใช้ Google form , Microsoft forms , Socrative , Quiz หรือ Captivate ควรเป็นการสอบที่มุ่งเน้นเพื่อให้นักเรียนได้ทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากที่เรียนในเนื้อหานั้น จบแล้ว 

สอบเสร็จรู้คะแนนทันที สอบเสร็จรู้ว่าตัวเองทำข้อไหนถูก ทำข้อไหนผิด ทำถูกเพราะอะไร ทำผิดเพราะอะไร ไม่ควรนำมาใช้สอบเพื่อตัดสินความรู้ของนักเรียน เราควรปล่อยวางบ้างในส่วนนี้

ส่วนการสอบเก็บคะแนนนั้น ควรเป็นคำถามที่เกี่ยวข้องกับบริบทชีวิตจริง นักเรียนสนใจ ท้าทายความสามารถของนักเรียน เน้นการคิดขั้นสูง เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น ข้อสอบแบบอัตนัย หรือการมอบหมายงานในลักษณะระยะยาว เช่น Project base learning เมื่อทำงานเสร็จแล้วให้นำเสนอชิ้นงานด้วย Multimedia หรือการทำ Portfolio เป็นต้น (ดูข้อ 3 , 4 และ 5 ประกอบ) แล้วนักเรียนจะลอกงานกันมาส่งไหม? ณ สถานการณ์แบบนี้เราคงต้องเชื่อใจนักเรียน

7. สืบเนื่องจากข้อ 5 และข้อ 6 เมื่อครูเราตรวจงานที่มอบหมายแล้ว ลำดับต่อไปคือการ Feedback งานนั้นๆคืนกลับนักเรียน อย่างที่ผมเกริ่นนำในเบื้องต้นว่า การวัดและประเมินผลสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์นั้น ครูเราควรให้น้ำหนักของการวัดผลเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล เพราะฉะนั้น Feedback เป็นรายคนจึงสำคัญมาก 

การ Feedback มี 3 ลักษณะดังนี้

1. Feed Up หมายถึง ให้ข้อมูลนักเรียนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้

2. Feed Back หมายถึง ให้ข้อมูลนักเรียนเกี่ยวกับ       ผลการเรียนรู้ คุณภาพการเรียนรู้ จุดเด่น จุดด้อยที่ควรพัฒนา และวิธีการพัฒนา และต้องเป็นการสื่อสารเชิงบวกเท่านั้น

3. Feed Forward หมายถึง ให้ข้อมูลนักเรียนเพื่อเป็นการต่อยอดในการเรียนรู้ หรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนในอนาคต เช่น แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม วิธีการเรียนรู้ใหม่ ๆ เป็นต้น

ประเด็นเพิ่มเติมเรื่องการ Feed คือ ครูเราต้องทำการ feed เป็นระยะ ๆ โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมหลังจากที่นักเรียนส่งงานเสร็จแล้ว (อย่าปล่อยช่วงนานเกิน) และที่สำคัญควรเป็นการ feed แบบส่วนตัว หรือกลุ่มเล็ก ๆ ไม่ควรเป็นสาธารณะ เป้าหมายคือ เพื่อให้นักเรียนนำผลของการ feed ไปพัฒนางานในชิ้นต่อไป ยืนยันครับว่างานควรน้อยชิ้น แต่ได้สารสนเทศจากผลการสอบกลับคืนมามหาศาล และการ feed นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องวิชาการอย่างเดียว อาจจะ feed ในลักษณะของการสอบถามสารทุกข์สุกดิบของนักเรียนก็ได้ เพื่อให้นักเรียนได้รู้สึกว่า ครูยังคงห่วงใยนักเรียนเสมอ

8. สืบเนื่องจากข้อ 7 เมื่อเรา feed นักเรียนไปแล้ว สิ่งที่ครูควรทำเป็นปัจจุบันคือ การจดบันทึกรายละเอียดของงานที่นักเรียนส่ง ครูควร print งานของนักเรียนออกมา ตรงนี้โรงเรียนต้องสนับสนุนงบประมาณ ข้อความการ feed ที่ส่งคืนนักเรียน บันทึกการส่งงาน บันทึกการเข้าชั้นเรียน บันทึกการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนออนไลน์ บันทึกการ comment บันทึกการแสดงความคิดเห็น หรือบันทึกผลการทดสอบย่อยระหว่างเรียน เพราะตรงนี้คือร่องรอยหลักฐานไว้ใช้ประกอบขั้นตอนที่ 10 – 11 ต่อไป

ประเด็นเพิ่มเติมเรื่องการจดบันทึก คือ ครูเราต้องทำปฏิทินการปฏิบัติงานในส่วนนี้ให้ชัดเจน และพยายามทำทุกอย่างให้เป็นปัจจุบัน ความสำคัญของการจดบันทึก คือ เพื่อเป็นการสังเกตและตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายคน หรือรายกลุ่ม ประเด็นนี้สอดคล้องกับข้อที่ 3 ด้วยว่า งานที่มอบหมายนั้นอย่ามากเกินไป และอย่าน้อยจนเกินไป สุดท้ายแล้วครูเราต้องตรวจงานนั้นให้ทัน เพราะนักเรียนรอ feed

9. ช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับนักเรียน ในข้อนี้ส่วนใหญ่แล้ว เครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์จะมีมาให้ เช่น Webboard , Chatroom , Email หรือกระทู้แจ้งข่าวสารการเรียนต่าง ๆ ตรงนี้ครูเราอาจประยุกต์ใช้ร่วมกับ Facebook group หรือ Line group ก็จะทำให้การติดต่อสื่อสารกับนักเรียนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

10. ครูเราก็ต้องมีการประเมินห้องเรียนออนไลน์ของเราเป็นระยะด้วย ไม่ว่าจะเป็นการประเมินเนื้อหา การประเมินสื่อการเรียนการสอน การประเมินใบงานต่าง ๆ เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งครูได้จัดทำขึ้นและนำไปใส่ไว้ในห้องเรียนออนไลน์ เพราะฉะนั้นต้องประเมินด้วยว่า เมื่อนักเรียนเรียนด้วยตนเองที่บ้านแล้ว นักเรียนเข้าใจเนื้อหาไหม? อยากให้ครูแก้ไขหรือปรับปรุงตรงไหนไหม? เป็นต้น เราประเมินเพื่อพัฒนาความรู้ของนักเรียน และในขณะเดียวกันนักเรียนก็ควรประเมินครู เพื่อครูเราจะได้นำผลการประเมินไปพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ของครูเราเป็นลำดับต่อไป

ข้อสุดท้าย และเป็นข้อสำคัญมาก ๆ คือ อย่ามุ่งเน้นไปที่ความรู้อย่างเดียว ควรมุ่งเน้นไปที่การประเมินกิจวัตรประจำวัน การประเมินสภาพจิตใจ สภาพความเครียดของนักเรียนด้วย 

ศน.รัชภูมิ  สมสมัย

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

ทำความรู้จักข้อตกลงการพัฒนางาน (วPA) แบบเจาะลึก เพื่อสร้างความเข้าใจการทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง ...

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

เจาะลึกการทำข้อตกลงพัฒนางาน (วPA) ฉบับคุณครู

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
10545 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ด้านความสัมพันธ์
basic
2:00 ชั่วโมง

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

การทดสอบเป็นส่วนสำคัญของการเรียนรู้ ว่าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาการเรียนมากน้อยแค่ไหน และการสอบนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม
Starfish Academy

How to สอบอย่างไรให้เด็กสนุก ไม่มีลืม

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1008 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7003 ผู้เรียน

Related Videos

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
08:56
Starfish Academy

เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน

Starfish Academy
794 views • 2 ปีที่แล้ว
เขียน วPA อย่างไร? ให้เกิดคุณค่ากับนักเรียน
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
423 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
15:04
Starfish Academy

โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก

Starfish Academy
613 views • 2 ปีที่แล้ว
โรงเรียนพัฒนาตนเอง : โรงเรียนวัดสันป่าสัก | โรงเรียนบ้านหนองเงือก
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
78 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]