วิธีช่วยลูกกู้ความรู้กลับมาเฟรชเรียนทันเพื่อน
ภาวะเรียนรู้ถดถอยคืออะไร
ภาวะการเรียนรู้ถดถอย หรือ Learning Loss คือ ผลกระทบอันเกิดจากการเรียนออนไลน์ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะสถานการณ์โรคระบาด ทำให้เด็กๆ ขาดโอกาสที่จะพัฒนาตนเองตามวัย เสียโอกาสการเรียนรู้ ส่งผลกระทบต่อทักษะ และพัฒนาการด้านต่างๆ เพราะการเรียนออนไลน์ และรูปแบบการใช้ชีวิตแบบ New Normal ไม่อาจทำให้เด็กๆ ฝึกฝนทักษะและพัฒนาการตามวัยได้อย่างเต็มที่
เมื่อเป็นเช่นนี้ พ่อแม่ผู้ปกครอง อาจจำเป็นต้องเข้ามาช่วยเด็กๆ กอบกู้ความรู้ ด้วยการชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ผ่านการเล่นหรือกิจกรรมที่เด็กๆ สนใจ ก็จะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ และทักษะด้านต่างๆ ได้ แม้ว่าต้องเรียนออนไลน์นานๆ ก็ตาม ลองดูกันดีกว่าว่า 5 วิธีที่พ่อแม่ผู้ปกครองช่วยกู้ความรู้ได้ มีอะไรบ้าง
Covid-19 กับผลกระทบต่อการศึกษาไทย
1. เล่นนอกบ้าน
ธรรมชาติของเด็กๆ คือ การได้ออกไปวิ่งเล่น ใช้พลังงานอันเหลือเฟือ ดังนั้น การที่พวกเขาต้องเรียนออนไลน์เป็นเวลาติดกันวันละหลายชั่วโมง ย่อมทำให้รู้สึกอึดอัด ในแต่ละวันผู้ปกครอง ควรหาโอกาสให้เด็กๆ ได้ออกไปวิ่งเล่นนอกบ้านบ้าง หรือหากมีเวลามากพอ อาจพาลูกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะให้สีเขียวๆ ของธรรมชาติ ช่วยเยียวยาความเครียดจากการเรียนออนไลน์
หากเป็นไปได้ การเล่นนนอกบ้านควรเป็นการเล่นแบบ Free Play คือให้เด็กๆ เล่นอย่างมีอิสระ ในพื้นที่กว้างขวางและปลอดภัย ซึ่งการเล่นแบบอิสระ ช่วยให้เด็กเรียนรู้ความต้องการของตัวเอง กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ กล้าคิด กล้าตัดสินใจ และฝึกการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ได้
2. อ่านหนังสือ
ว่ากันว่าหนังสือคือประตูสู่โลกกว้าง แม้จะไม่ได้ออกไปไหน แต่การอ่าน ก็พาให้เราเดินทางไปกับตัวอักษรเพื่อเรียนรู้โลกภายนอกได้อย่างไม่รู้จบ หากเป็นไปได้ ลองให้งบประมาณเด็กๆ เพื่อสั่งซื้อหนังสือออนไลน์ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหนังสือเรียน หรือรายชื่อหนังสือที่อยู่ในหนังสืออ่านนอกเวลา
หากต้องการให้เด็กๆ สนุกกับการอ่าน ลองแนะนำหนังสือเกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาสนใจเช่น หนังสือเกี่ยวกับวงการ K-pop สำหรับลูกที่เป็นติ่งไอดอล หรือหนังสือชีวประวัติจิตกรเอกของโลก สำหรับเด็กๆ ที่ชอบวาดภาพ เพราะวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนให้เด็กๆ อ่านหนังสือคราวนี้ ก็เพื่อปลุกสมองในส่วนของการอ่านให้ตื่นตัวอยู่เสมอนั่นเอง
Parental Burnout พ่อแม่หมดไฟ...แต่ใครจะกล้าพูด
3. เข้าสังคม
แม้จะยังอยู่ในช่วง Social Distancing แต่การเข้าสังคมก็ยังเป็นทักษะจำเป็นที่เด็กควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนา หากเป็นไปได้ อาจนัดกลุ่มเพื่อนสนิทของลูกกลุ่มเล็กๆ ให้พบปะสังสรรค์กันบ้าง การที่เด็กๆ ได้เข้าสังคม ช่วยให้พวกเขาเรียนรู้เรื่องการควบคุมตนเอง และการทำตามบรรทัดฐานของสังคม เรียนรู้เรื่องกฏระเบียบ การอยู่ร่วมกัน ทั้งยังฝึกทักษะการตัดสินใจว่าเมื่อใดความเป็นผู้นำ และเมื่อใดควรปฏิบัติตาม สิ่งสำคัญก็คือ เมื่อผู้ปกครองนัดให้เด็กๆ ได้พบกันแล้ว ควรปล่อยให้พวกเขาเลือกทำกิจกรรมร่วมกันอย่างอิสระ เพราะเป้าหมายของกิจกรรมนี้ ก็เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ที่จะบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันได้ด้วยตัวเอง
4. สร้างประสบการณ์
บางครั้งการเป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง ก็ไม่ได้มีหน้าที่เพียงเลี้ยงดูให้ลูกกินอิ่ม นอนหลับ ปลอดภัยเท่านั้น แต่ยังอาจหมายถึงการพาลูกไปสร้างประสบการณ์ชีวิตผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย ปฏิเสธไม่ได้ว่า ด้วยสถานการณ์โรคระบาดผนวกกับวิถีชีวิตของคนยุคใหม่ ทำให้เราไม่ค่อยได้ออกไปสัมผัสธรรมชาติเท่าที่ควร หากมีโอกาส ลองชวนเด็กๆ ไปแคมปิ้ง กางเต็นท์ เรียนรู้การใช้ชีวิตกับธรรมชาติ หรือสมัครเรียนเวิร์กช้อปต่างๆ ที่ได้ลงมือทำจากของจริง เช่น ปั้นดิน วาดรูป กระทั่งการเป็นอาสาสมัครก็สามารถสร้างประสบการณ์ล้ำค่า ที่เป็นบทเรียนชีวิตให้กับเด็กๆ ได้
เมื่อลูกไม่สบความสำเร็จเรื่องการเรียน พ่อแม่จะรับมืออย่างไร
5. สร้างความมั่นใจ
กิจกรรมทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น จะไม่มีความหมายเลย หากพ่อแม่ผู้ปกครองไม่ช่วยเสริมความมั่นใจให้ลูก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงการตอกย้ำว่าการเรียนรู้ของพวกเขาตามหลังเพื่อนๆ มากเพียงใด หรือคอยตำหนิ วิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของลูก
สิ่งที่ควรทำ หากรู้สึกว่าลูกกำลังประสบปัญหาด้านการเรียน หรือมีพฤติกรรมถดถอยทางการเรียนรู้ เนื่องจากต้องเรียนออนไลน์เป็นเวลานาน ผู้ปกครองต้องคอย ให้คำแนะนำและช่วยแก้ปัญหา เพื่อทำให้พวกเขามีความมั่นใจเมื่อต้องกลับไปเรียน on-site และทำให้เด็กๆ รู้สึกว่า ไม่ว่าจะเผชิญกับปัญหาใดพวกเขาก็จะรับมือได้ และคุณจะอยู่ตรงนี้คอยเป็นแรงสนับสนุนเมื่อพวกเขาต้องการเสมอ
สุดท้ายแล้ว ทั้งหมดนี้ต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ในช่วงการเรียนรู้ท่ามกลางโรคระบาดเช่นนี้ พ่อแม่ผู้ปกครอง อาจต้องเป็นทั้งเพื่อน ครู และโค้ช เพื่อให้เด็กสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ เพราะการเรียนรู้ไม่ใช่เพียงการท่องจำเพื่อไปสอบ แต่เป็นความสามารถที่จะนำองค์ความรู้มาบูรณาการ และปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้พ่อแม่ผู้ปกครองจำเป็นต้องคอยสอดส่องเพื่อช่วยเด็กๆ พัฒนาทักษะได้อย่างรอบด้าน
แหล่งอ้างอิง (Sources):
บทความใกล้เคียง
Peer Learning ชวนเปียร์แชร์ความรู้ ผลัดกันเรียน ผนึกกำลังสู้ ความรู้ถดถอย
ทักษะการ “ตัดสินใจ” เรียนรู้ไว้ได้ใช้แน่นอน
เมื่อบ้านคือโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ในยุค COVID-19 พ่อแม่กลายเป็นครูจะสร้างการเรียนรู้ที่บ้านได้ยังไง
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การพัฒนาทักษะการอ่าน
หนังสือเปรียบเสมือนคลัง ที่รวบรวมเรื่องราวความรู้ต่างๆ มากมาย การพัฒนาทักษะและส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านจึงมีความสำคัญเป็น ...
Peer Learning วิธีฟื้นฟู Learning Loss
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับ Peer Learning คืออะไร 5 รูปแบบของกิจกรรม Peer to Peer Learning ตัวอย่างก ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...