ทักษะการ “ตัดสินใจ” เรียนรู้ไว้ได้ใช้แน่นอน

Starfish Academy
Starfish Academy 21519 views • 2 ปีที่แล้ว
ทักษะการ “ตัดสินใจ” เรียนรู้ไว้ได้ใช้แน่นอน

ทักษะการตัดสินใจ อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องทั่วไปที่เราต้องใช้ในชีวิตประจำวัน และด้วยความที่การตัดสินใจเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวคนเรามากที่สุด บ่อยครั้งเราจึงละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญกับทักษะนี้เท่าที่ควร

ทั้งที่การตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพนั้น อาจสามารถเปลี่ยนชีวิตของคนคนหนึ่งได้ตลอดกาลเลยทีเดียว สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการสร้างทักษะชีวิตให้ลูก นอกจากเรื่องของความรู้และวิชาชีพแล้ว ทักษะการตัดสินใจก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่วัยรุ่นควรมีโอกาสได้ฝึกฝนก่อนออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง

บทความนี้ StarfishLabz พาพ่อแม่ผู้ปกครองทำความรู้จักกับทักษะการตัดสินใจว่ามีความสำคัญอย่างไร และจะนำมาฝึกสอนวัยรุ่นได้อย่างไรบ้าง

ความสำคัญของทักษะการตัดสินใจ

มีการศึกษาในต่างประเทศที่พบว่า ผู้ที่สามารถประเมินสถานการณ์และตัดสินใจได้ดีจะมีโอกาสยิ่งขึ้นที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นการฝึกฝนทักษะตัดสินใจให้แก่เด็กๆ ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี สำหรับเด็กเล็กๆ พ่อแม่อาจเริ่มจากการให้ลูกได้เลือกระหว่างสองสิ่งง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน จนเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตมักทำให้ลูกต้องตัดสินใจมากขึ้นโดยปริยาย

ทุกๆ ครั้งที่วัยรุ่นมีโอกาสได้ตัดสินใจเรื่องต่างๆ ในชีวิต พวกเขาก็จะได้เรียนรู้ผลลัพธ์ของการตัดสินใจนั้นๆ ที่อาจมีทั้งประสบความสำเร็จและผิดพลาด ทุกๆ ครั้งของการตัดสินใจคือประสบการณ์ที่วัยรุ่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไปได้ 

ดังนั้นทักษะการตัดสินใจจึงจำเป็นในแง่ที่ว่า วัยรุ่นจะได้เรียนรู้ว่าทุกการตัดสินใจ จะส่งผลต่อชีวิตของเราและคนรอบข้างด้านใดด้านหนึ่งเสมอ หากเราตัดสินใจถูกต้องผลกระทบด้านลบอาจจะน้อย แต่หากตัดสินใจผิดพลาด ก็อาจต้องเผชิญกับปัญหาที่ตามมา ซึ่งก็ต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาต่อไป 

ซึ่งหากได้ฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ได้ เพราะความผิดพลาดจากการตัดสินใจในวัยรุ่น อาจไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับความผิดพลาดจากการตัดสินใจเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วนั่นเอง 

แบบไหนที่เรียกว่าการตัดสินใจที่ดี

สำหรับผู้ใหญ่เรื่องบางเรื่องในชีวิต เราก็ไม่มีทางรู้ว่านั่นเป็นการตัดสินใจที่ดีหรือไม่ จนกว่าจะได้ตัดสินใจไปแล้ว แต่สำหรับวัยรุ่น การตัดสินใจเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน โดยมีพ่อแม่เป็นผู้ช่วยก็อาจชี้ให้ลูกเข้าใจได้ว่าการตัดสินใจที่ดีคืออะไร

โดยทั่วไปการตัดสินใจที่ดี คือ การตัดสินใจที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง และคนรอบข้าง ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อผู้ตัดสินใจ เปิดใจกว้างมองความจริงรอบด้านอย่างเป็นเหตุเป็นผล ไม่ใช้อคติส่วนตัวในการตัดสินใจ มีการค้นคว้าหาข้อมูลที่เชื่อถือได้เพื่อประกอบการตัดสินใจ 

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อพ่อแม่ให้วัยรุ่นเลือกระหว่าง A) ทำการบ้านให้เสร็จ แล้วค่อยออกไปหาเพื่อน กับ B) ออกไปหาเพื่อนก่อน แล้วค่อยกลับมาทำการบ้าน แน่นอนว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆ รู้ดีว่าข้อ A) คือการตัดสินใจที่ดี เพราะการบ้านเป็นหน้าที่ที่ลูกต้องรับผิดชอบทำให้สำเร็จ ไม่อย่างนั้นอาจเกิดปัญหาตามมา 

แต่สำหรับวัยรุ่น หากพวกเขาตัดสินใจด้วยอคติ เพราะอยากไปหาเพื่อนมากกว่า พวกเขาก็จะเลือก B) โดยมีข้ออ้างต่าง ๆ นานา ๆ เช่น ถ้ารอจนทำการบ้านเสร็จก็อาจไม่ได้ไปหาเพื่อนเพราะดึกเกินไป แต่ในทางกลับกัน หากไปหาเพื่อนจนดึก กลับมาก็อาจเหนื่อยจนทำการบ้านไม่เสร็จก็เป็นได้

นี่คือตัวอย่างง่าย ๆ ของการตัดสินใจที่ดี ซึ่งพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำลูกวัยรุ่นได้ 

ทักษะการตัดสินใจ พ่อแม่สอนลูกได้อย่างไรดี

1. ระบุสิ่งที่ต้องตัดสินใจ 

ช่วยให้วัยรุ่นชัดเจนในสิ่งที่พวกเขาต้องตัดสินใจ เพื่อให้พวกเขาเลือกตัวเลือกที่เหมาะสม ควรรอเวลาที่ลูกอยู่ในอารมณ์สงบ ที่จะสามารถให้ความคิดเชิงเหตุผลได้เต็มที่ พ่อแม่อาจเริ่มจากบอกให้ลูกเข้าใจว่าสมองของวัยรุ่นทำงานอย่างไร และการใช้อารมณ์เป็นหลักในการตัดสินใจจะส่งผลอย่างไรบ้าง ช่วยให้ลูกระบุอารมณ์และแยกแยะความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริง ด้วยการถามคำถามเหล่านี้

  • ตอนนี้ลูกรู้สึกอย่างไร
  • ลูกมีความรู้สึกอย่างแรงกล้าในเรื่องใดบ้าง (ความรู้สึกแรงกล้า อาจทำให้ลูกเข้าใจผิดว่าความรู้สึกนั้นเป็นความจริง) 
  • เมื่อไรที่ลูกรู้ตัวว่ารู้สึกเช่นนี้

เมื่อแยกความรู้สึกออกจากข้อเท็จจริงได้แล้ว พ่อแม่อาจช่วยให้ลูกชัดเจนในสิ่งที่ต้องตัดสินใจด้วยการถามคำถามเหล่านี้

  • ปัญหาอะไรที่ลูกต้องการแก้ไข
  • เป้าหมายของลูกคืออะไร
  • ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่ลูกคาดหวังไว้คืออะไร

2. ระดมทางเลือก

ชวนลูกระดมสมองถึงทางเลือกต่างๆ ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการตัดสินใจเรื่องใดๆ บ่อยครั้งวัยรุ่นมักคิดว่า ในแต่ละสถานการณ์มีตัวเลือกเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น เช่น ปัญหาหนึ่ง ๆ มีทางแก้ปัญหาเพียงวิธีเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วปัญหาเดียวกัน แต่วิธีการแก้ปัญหาก็อาจแตกต่างกันไปได้ 

พ่อแม่ควรชวนให้ลูกใช้ความคิดสร้างสรรค์ หลังจากนั้นให้ลูกวิเคราะห์ผลดี-ผลเสีย ของแต่ละทางเลือก โดยไม่ด่วนตัดสินแทนลูก แม้ว่าบางข้ออาจดูไม่เข้าท่าสำหรับคุณก็ตาม เพราะในขั้นตอนระดมความคิดไม่มีอะไรผิดถูก หากพ่อแม่คอยทัก วิพากษ์วิจารณ์ตลอดเวลาก็อาจทำให้ลูกไม่กล้าคิดอะไรใหม่ๆ หากพ่อแม่รู้สึกว่าบางข้อไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก อาจลองใช้วิธีตั้งคำถามเพื่อให้ลูกได้ทบทวนและค้นพบปัญหาในทางเลือกนั้นๆ ด้วยตนเอง

ยกตัวอย่างเช่น หากลูกคิดว่าทางเลือกของการหารายได้พิเศษ คือดรอปเรียนแล้วออกมาหางานทำ ลองตั้งคำถามชวนคิดกับลูกว่า “หากเลือกทางเลือกนี้ลูกคิดว่าชีวิตอีกสองปีข้างหน้าของลูกจะเป็นอย่างไร” และ “ลูกคิดว่าชีวิตของลูกจะเป็นอย่างไรสองปีจากนี้หากลูกเลือกที่จะเรียนต่อ” 

3. ตัดสินใจ

ให้เวลาลูกวัยรุ่นได้คิด วิเคราะห์และประเมินผลดี-ผลเสียของทางเลือกต่างๆ โดยอาจเริ่มจากค่อยๆ ตัดทางเลือกที่มีผลเสียมากๆ ออกไป จนเหลือทางเลือกที่ดีที่สุด 3 อันดับ ในขั้นตอนนี้ควรให้ลูกได้ลองเลือกด้วยตัวเอง แต่หากพ่อแม่ต้องการแสดงความคิดเห็น ควรขออนุญาตลูกก่อน ว่าพ่อแม่อยากเสนอแนะสักหน่อย แต่ปล่อยหน้าที่การตัดสินใจให้เป็นของลูกเอง ทั้งนี้สิ่งที่ลูกควรคำนึงถึงในขั้นตอนการตัดสินได้ ได้แก่

  • ทางเลือกนี้ช่วยให้เราประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้หรือไม่
  • เป็นทางเลือกที่ซื่อสัตย์และยุติธรรมใช่หรือไม่
  • ทางเลือกนี้จะสร้างปัญหาให้คนอื่นหรือเปล่า
  • ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยหรือไม่

อธิบายให้ลูกฟังว่า ไม่ว่าจะตัดสินใจเลือกทางไหน ย่อมมีผลลัพธ์บางอย่างตามมาและลูกต้องรับผิดชอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจของลูกเอง ในฐานะพ่อแม่ควรมั่นใจว่าลูกจะสามารถรับมือกับผลลัพธ์การตัดสินใจของพวกเขาได้ ดังนั้นก่อนให้ลูกตัดสินใจเรื่องใดๆ ควรคำนึงถึงความพร้อมของลูกประกอบด้วย

เมื่อวัยรุ่นรับมือกับผลลัพธ์ได้ดี ควรกล่าวคำชม เพื่อให้กำลังใจและสร้างความมั่นใจให้ลูก แต่หากคุณไม่ชอบการตัดสินใจของลูก พยายามอย่าเข้าไปแทรกแซง เว้นแต่ว่าการตัดสินใจนั้นอาจทำให้เกิดอันตรายต่อลูกหรือคนรอบข้าง การที่ลูกได้มีโอกาสตัดสินใจโดยเข้าใจถึงผลกระทบที่ตามมา ช่วยให้วัยรุ่นได้เรียนรู้จากประสบการณ์และฝึกรับผิดชอบผลจากการตัดสินใจของตนเอง

4. สะท้อนผลลัพธ์

การสะท้อนผลลัพธ์จากการตัดสินใจของลูกที่เกิดขึ้นถือเป็นบทเรียนล้ำค่า หาเวลาเหมาะๆ นั่งคุยกับลูก ว่าพวกเขาได้เรียนรู้อะไรจากการตัดสินใจแต่ละครั้ง ด้วยการถามคำถามต่อไปนี้

  • ลูกได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง
  • อะไรคือสิ่งสำคัญสำหรับลูก
  • สิ่งที่ยากในการตัดสินใจคืออะไร
  • สิ่งที่ง่ายที่สุดจากการตัดสินใจคืออะไร
  • ครั้งต่อไปจะตัดสินใจแบบเดิมหรือไม่ เพราะอะไร
  • หากต้องตัดสินใจอีก ครั้งหน้าจะทำอะไรที่ต่างไปจากเดิมหรือไม่

สุดท้ายแล้ว อย่าลืมชื่นชมความกล้าที่จะตัดสินใจของวัยรุ่น ไม่ว่าผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร เพราะการตัดสินใจเป็นเรื่องยาก แม้กระทั่งสำหรับผู้ใหญ่ การทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ชื่นชมในตัวพวกเขา จะทำให้ลูกกล้าที่จะตัดสินใจแม้เผชิญเรื่องยากลำบากก็ตาม 

แหล่งอ้างอิง (Sources):

How to help your teen make good decisions about school and life

Teaching Teens How to Make Good Decisions

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

Technology Skills
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
Starfish Academy

ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)

Starfish Academy
1842 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

การที่เด็กอารมณ์ดี มีความร่าเริงแจ่มใสจะมีผลต่อพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น สมอง จิตใจ และร่างกาย แต่หากอารมณ์ไม่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3
Starfish Academy

Micro Learning การดูแลสุขภาพใจ ป.1-3

Starfish Academy
Analytical Skills/Cognitive Skills
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
3:00 ชั่วโมง

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ

ศรีชัยยะพรกณก กิจเวชเจริญ (อ.บี)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Soft Skills
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)

ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้ว่า การทำงานร่วมกันเป็นอย่างไร ทำไมเราต้องทำงานกับผู้อื่น แล้วเมื่อต้องทำงานร่วมกันแล้วจะส่งเสริมใ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)
Starfish Academy

การทำงานแบบทีม ทักษะจำเป็นยุคดิจิทัล (Collaboration skill)

Starfish Academy

Related Videos

3 ข้อดี Starfish Class Website Version
02:55
Starfish Future Labz

3 ข้อดี Starfish Class Website Version

Starfish Future Labz
451 views • 2 ปีที่แล้ว
3 ข้อดี Starfish Class Website Version
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
43:23
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย

Starfish Academy
391 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.3 | : เราต่างต้องค้นหาตัวเองในทุกช่วงวัย
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
04:37
Starfish Future Labz

พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21

Starfish Future Labz
11456 views • 3 ปีที่แล้ว
พื้นที่แห่งการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน
23:01
Starfish Academy

ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน

Starfish Academy
104 views • 2 ปีที่แล้ว
ออนไลน์ ไม่อ่อนใจ พ่อแม่ลูกต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน