PLC Leader ครั้งที่ 3 “นวัตกรรมกับการพัฒนาการศึกษา”
กิจกรรม PLC Leader นวัตกรรมกับการพัฒนาการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นรูปแบบของการ PLC ร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้แทนผู้อำนวยการโรงเรียน ในหัวข้อที่ 1 ในสถานการณ์ถ้าโรงเรียนเปิดได้ปกติ โรงเรียนเปิดได้บางส่วน และโรงเรียนไม่สามารถเปิดได้เลย ท่านอยากจะพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบใด (ร่วมกันแสดงความคิดเห็นได้)
สถานการณ์ของโรงเรียนเป็นอย่างไร และจะใช้การพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบใด
โรงเรียนวัดบ่อตะกั่ว - มีนโยบายให้ครูจัดทำนวัตกรรมให้เหมาะสม คือ เรื่องวุฒิภาวะวัยเด็ก ทำแล้วเด็กต้องตอบสนองต่อกิจกรรม/ใบงานที่ครูทำให้ต้องสอดคล้องและนำไปใช้ได้จริง
โรงเรียนวัดเหมืองง่า – เลือก Well-being เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบ On-site ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของผู้ปกครอง เปิดสอนตั้งแต่อนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมด 195 คน ทั้งนี้โรงเรียนได้มีแบบประเมินตนเอง ให้ผู้ปกครองประเมินความเสี่ยงก่อนนำบุตรหลานมาโรงเรียน หรือ สามารถติดต่อประสานงานในการจัดการเรียนรู้ที่บ้านได้ ในส่วนของนวัตกรรมโรงเรียน จะเป็นด้านการบริหารจัดการ เน้นการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยการใช้ Smile Model ให้ครูทุกห้องเรียนมีนวัตกรรม โดยนวัตกรรมแต่ละห้องเรียนยังไม่ได้อยู่ในขั้นตอนของการประชุม การออกแบบนวัตกรรมในห้องเรียน บางท่านจะอยู่ในรูปแบบของสื่อ หรือกิจกรรมซึ่งสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้ กรณีที่นักเรียนมาเรียน On-site ก็สามารถที่จะจัดกิจกรรม หรือใช้สื่อการสอนได้ สำหรับกรณีที่ไม่สามารถเรียน On-site ได้ จะมีการนำสื่อ หรือกิจกรรมจัดทำในรูปแบบ VDO หรือแนะนำสื่อเพื่อนำไปเผยแพร่ให้ผู้ปกครองได้ศึกษา ในรูปแบบของสื่อออนไลน์
การเลือกพัฒนาหรือสร้างนวัตกรรมขึ้นมา จะต้องพิจารณาจากอะไร
โรงเรียนวัดบ้านม้า – การที่จะเลือกสร้างนวัตกรรมขึ้นมา ต้องดูจากสิ่งที่ต้องการพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน หรือต้องแก้ปัญหาจุดใดให้กับนักเรียน หลังจากนั้น ทำการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับพัฒนาในรูปแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์ของปัญหา สิ่งที่เราอยากให้เกิดผลลัพธ์นั้นๆ แก่นักเรียน นำไปสู่การออกแบบการเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ได้จริง
ผอ.ธนวรรณ – ต้องดูบริบทของโรงเรียน เป็นส่วนสำคัญในการคิดสร้างนวัตกรรม พัฒนาแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับโรงเรียนตามสถานการณ์
ผอ.รัตติญา – ต้องพิจารณาจากความต้องการ และศักยภาพของนักเรียน ควบคู่กับบริบทของโรงเรียนว่าสิ่งที่เด็กต้องการที่จะนำไปสู่นวัตกรรม เพราะว่าโรงเรียนใช้รูปแบบ STEAM Design Process เป็นกระบวนการในการขับเคลื่อน โดยการให้ครูเป็นโค้ชตามกระบวนการของมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ เพราะฉะนั้น ต้องดูความต้องการของเด็กว่า เขามีความต้องการที่จะเป็นนวัตกรไปสู่นวัตกรรมในด้านใดเป็นสำคัญ ควบคู่กับบริบทของโรงเรียน พัฒนาให้เหมาะสมกับศักยภาพ เนื่องจากโรงเรียนใช้ STEAM Design Process เป็นตัวนำและครูสามารถเป็นโค้ชได้
คำถามที่ 3 เราจะวางแผนเพื่อพัฒนาต้นแบบอย่างไร
ผอ.อำนาจ – โรงเรียนบ้านแม่เมย ด้วยหลากหลายชาติพันธุ์ (อาข่า กะเหรี่ยง ม้ง และพื้นเมือง) ในการวางแผนพัฒนาต้นแบบในรูปแบบของการพัฒนา “การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้ สมุนไพรในท้องถิ่น”
สืบเนื่องจากปีที่ผ่านมา โรงเรียนมีความคาดหวังในเรื่องของความยากลำบากของการใช้ชีวิตของนักเรียนในกลุ่มชนเผ่า ในชนบท จึงได้ใช้กระบวนการ STEAM Design Process และมีการเรียนผ่านกิจกรรม Active Learning ทั้งหมดนี้ใช้กลุ่มเป้าหมาย 152 คน มีต้นแบบที่คิดเอาไว้ เพื่อพัฒนาต่อยอดจากโครงการที่ผ่านมาใช้ในเรื่องของกระบวนการทั้งหมด เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบของการใช้สิ่งที่มีอยู่ วัตถุดิบในท้องถิ่นทั้งหมด มาต่อยอดในการทำนวัตกรรมของโรงเรียน เกิดทักษะชีวิต และนักเรียนใช้กระบวนการ STEAM Design Process ใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพ โดยจัดการเรียนแบบ Active Learningเพื่อต่อยอด ขยายผลต่อจากความสำเร็จเดิม
โรงเรียนวัดบ้านม้า – ในการวางแผนพัฒนาต้นแบบ ครูทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนถึงจุดประสงค์ในการสร้างนวัตกรรมเพื่ออะไร และมาดูหน้าที่ของครูในบทบาทของครูจะต้องศึกษาด้านใดบ้าง กำหนดกระบวนการเพื่อช่วยกันออกแบบนวัตกรรมในขั้นตอนต่อไป
คำถามที่ 4 มีแนวทางการติดตามการใช้งานนวัตกรรมอย่างไร
โรงเรียนบ้านดอยคำ – การติดตามการพัฒนางาน จะใช้กระบวนการ PLC ซึ่งจะต่อยอดจากการวางแผน สรุปเป้าหมายที่เราได้ดำเนินการโครงการของปีที่ผ่านมา ซึ่งใช้โมเดลของสตาร์ฟิชฯ กระบวนการ STEAM Design Process แต่ปีนี้โรงเรียนได้มีการปรับใช้โมเดล “สติคิดโมเดล” โดยการร่วมกันคิดของครูทุกคน วิเคราะห์ในเรื่องของ SWOT ปีที่ผ่านมาว่าพบเจอปัญหาอะไรบ้าง และต่อยอดอย่างไร ในส่วนของการต่อยอดจะใช้กระบวนการ PLC ซึ่งเน้นในเรื่องของการใช้สมรรถนะ
นอกจากการ PLC แล้ว ยังมีการนิเทศแบบช่วยเหลือครู แนะแนวทางการนิเทศแบบกัลยาณมิตร เป็นการส่งเสริมและให้กำลังใจครู
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนภาษาไทย (3R)
การสอนภาษาไทยของมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮมได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน อย่างเป็นระบบเข้าใจง่ ...
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...