16 วิชาเอาตัวรอดที่ควรสอนเด็กๆ ตั้งสติระวังเหตุร้ายในทุกสถานการณ์
16 เรื่องที่ต้องสอนเด็ก
ฝึกทักษะชีวิตเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์
Starfish Labz รวบรวมเรื่องที่สำคัญและจำเป็นสำหรับชีวิตเด็ก ๆ เพื่อฝึกให้เด็ก ๆ
#เอาตัวรอดให้เป็น หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้นในชีวิตประจำวัน
ซึ่งในแต่ละเรื่อง คุณครู หรือพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปรับใช้ในแต่ละช่วงวัยของเด็ก ๆ ได้ค่ะ
อ้างอิงหัวข้อจาก ‘คู่มือประชาชนในการเตรียมตัวให้รอดปลอดภัยพิบัติ จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย’
-สามารถดาวน์โหลดคู่มือและอ่านละเอียดฉบับเต็มได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
เรื่องที่ 1: ภัยพิบัติต่าง ๆ
สอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้สัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติก่อนภัยพิบัติ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที ยกตัวอย่างเช่น
เรื่องอุทกภัย : เกิดจากฝนตกหนักและระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เรื่องดินถล่ม : น้ำเป็นสีขุ่นข้นและเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับสีดินภูเขา
เรื่องสึนามิ : น้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็วหลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงใต้มหาสมุทร
เรื่องพายุฤดูร้อน : อากาศร้อนอบอ้าว และเมฆก่อตัวอย่างรวดเร็ว
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ เตรียมพร้อมรับมือภับพิบัติ ลดเสี่ยงอันตราย…ดำเนินชีวิตปลอดภัย น.1-4
เรื่องที่ 2: การฝึกเตรียมถุงยังชีพฉุกเฉิน พร้อมไว้ที่บ้าน
สอนให้เด็ก ๆ เรียนรู้เกี่ยวกับการเตรียมถุงยังชีพไว้ที่บ้าน หากเกิดเหตุกาณ์ที่ไม่คาดฝัน เด็ก ๆ จะได้รู้ว่าสิ่งที่ควรเตรียมไปเมื่อยามจำเป็นนั้นมีอะไรบ้าง และอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรนำไป ยกตัวอย่างเช่น
เครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง น้ำดื่ม ยารักษา เป็นต้น
ของใช้ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในระยะแรก เช่น ไฟฉายพร้อมถ่านแบบกันน้ำ วิทยุพร้อมถ่านสำรอง นกหวีด เทียนไข เชือก กระดาษชำระ เป็นต้น
เอกสารสำคัญต่าง ๆ ให้เก็บไว้ในถุงพลาสติกกันน้ำ ได้แก่ บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร สำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
นอกจากนี้ลองให้เด็ก ๆ หากระเป๋าที่น้ำหนักเบา ที่สามารถพกพาได้สะดวก หยิบใช้ได้ง่ายเมื่อเกิดยามฉุกเฉิน
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ ถุงยังชีพฉุกเฉิน พร้อมไว้เมื่อภัยมา น.5-6
เรื่องที่ 3: การเอาตัวรอดเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
สอนให้เด็ก ๆ ดูแลตัวเอง และทำตามข้อระเบียบต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายทางน้ำ หรือหากเกิดอันตรายทางน้ำ เด็ก ๆ จะต้องทำอย่างไร ตามหัวข้อย่อยที่ควรเรียนรู้ดังนี้
การขึ้นและลงเรือ: ต้องรอให้เทียบท่าสนิทเสียก่อน และไม่ลงเรือที่บรรทุกเกินอัตรา
ไม่ยืนรอเรือบนโป๊ะ: ควรยืนรอเรือภายในเขตเส้นสีเหลืองที่กำหนดไว้
การกระจายการนั่งบนเรือให้สมดุล: ไม่ควรยืนบริเวรท้ายเรือ หรือกราบเรือ
การทรงตัวให้นิ่ง ๆ เมื่อเรือมีอาการเอียงหรือไหว
การสวมเสื้อชูชีพทุกครั้งเมื่อลงเรือ
การไม่หลอกล้อกันเมื่อขึ้นหรือลงเรือ
การช่วยเหลือตัวเองเมื่อพลัดตกจากเรือ: ควรมีสติและพยุงตัวให้ลอยน้ำโดยใช้ขาสองข้างตีน้ำ พยายามหาที่ยึดเกาะ และรอการช่วยเหลือ
การช่วยเหลือตัวเองเมื่อเรือล่ม: พยายามว่ายน้ำให้ผละออกจากเรือโดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการถูกดูดเข้าไปใต้ท้องเรือ ว่ายน้ำออกห่างจากใบพัดเรือ ถอดสิ่งของที่ถ่วงน้ำหนักออก และพยายามคว้าสิ่งของที่ลอยน้ำให้ได้ หรือพยุงตัวรอการช่วยเหลือ อย่าฝืนว่ายน้ำเข้าฝั่ง เพราะอาจหมดแรงและเป็นตะคริวได้
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ อุบัติภัยทางน้ำ มหันตภัยสายน้ำคร่าชีวิต น.7-9
เรื่องที่ 4: การช่วยเหลือคนจมน้ำ
สอนให้เด็ก ๆ รู้จักวิธีพื้นฐานของการช่วยเหลือคนอื่น ยกตัวอย่างเช่น
เด็ก ๆ ต้องรู้จักการการประเมินศักยภาพตัวเองก่อนว่าเราช่วยได้ หรือ ไม่ได้อย่ารีบช่วยในทันที ยิ่งถ้าหากว่ายน้ำไม่เป็น ไม่ควรที่จะช่วยเหลือเพราะอาจทำให้จมน้ำทั้งคู่
การหาอุปกรณ์ช่วยเหลือที่ใกล้ตัวที่สุด : หากเด็ก ๆ ไม่สามารถช่วยได้ ให้ลองหาอุปกรณ์ใกล้ตัวที่สุด เช่น ไม้ ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ถังแกลลอน เพื่อให้คนที่คนกำลังจมมีสิ่งยึดเกาะ
รีบแจ้งผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด
หากว่ายน้ำเป็น ควรว่ายเข้าไปด้านหลังพร้อมจับตัวผู้ประสบเหตุให้ลอยตัวในท่านอนหงาย ให้ใบหน้าพ้นน้ำ จากนั้นให้ประคองตัวเข้าหาฝั่ง
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ การช่วยเหลือคนจมน้ำ น.9
เรื่องที่ 5: การเตรียมรับมือเมื่อน้ำท่วม
สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมตัว เตรียมรับมือเมื่อเกิดน้ำท่วม ในหัวข้อย่อยดังนี้
สิ่งที่ต้องทำก่อนเกิดน้ำท่วม
การติดตามพยากรณ์อากาศ
การเตรียมถุงยังชีพ
การเตรียมกระสอบทราย
สิ่งที่ต้องทำขณะเกิดน้ำท่วม
การประเมินระดับน้ำ
การขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูง
การตัดกระแสไฟฟ้าในบ้าน
การอพยพขึ้นที่สูง
การดูแลสมาชิกในบ้าน คนแก่ และเด็ก
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ แนะเตรียมรับมือ หนีภัยจากน้ำท่วม น.12-14 และรู้ทันอันตราย ช่วยป้องกันภัยในช่วงน้ำท่วม น.15-20
เรื่องที่ 6: การเตรียมรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว
สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมตัวรับมือเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ในหัวข้อย่อยดังนี้
การประเมินสถานการณ์รอบข้าง
การเอาตัวรอดจากแผ่นดินไหว สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ
สิ่งที่ควรทำหลังเกิดเหตุ
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ แผ่นดินไหว…หายนะจากธรณีพิบัติภัย เรียนรู้ รับมือ ภัยแผ่นดินไหว น.24 - 27
เรื่องที่ 7: การเตรียมรับมือเมื่อเกิดสึนามิ
สอนเด็ก ๆ ให้เอาตัวรอด และเตรียมรับมือหากเกิดสึนามิ ได้ตามหัวข้อย่อยดังนี้
ทำความรู้จักกับสึนามิ ว่าสึนามิเกิดจากอะไร และผลประทบของสึนามิมีอะไรบ้าง
การเอาตัวรอดเมื่อเกิดสึนามิในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีอยู่ในเรือ กรณีอยู่ใกล้ริมชายหาด เป็นต้น
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ สึนามิ มหันตภัยคลื่นยักษ์ เรียนรู้ เตรียมพร้อมรับมือภัยสึนามิ น.28 - 30
เรื่องที่ 8: การป้องกันและหลบหลีกฟ้าผ่า
สอนเด็ก ๆ รู้กันป้องกันและหลบหลีกการถูกฟ้าผ่า ตามหัวข้อย่อยดังนี้
วิธีป้องกันเมื่ออยู่กลางแจ้ง
วิธีป้องกันเมื่ออยู่ในอาคาร
วิธีหลบหลีกกรณีอยู่กลางแจ้ง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้ อยู่ในรถยนต์ อยู่ในเพิงพักสังกะสี
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ แนะป้องกันฟ้าผ่า มหันตภัยร้ายช่วงต้น-ปลายฤดูฝน น.34 - 36 และแนะวิธีหลบหลีกฟ้าผ่า กรณีอยู่กลางแจ้ง น.37-39
เรื่องที่ 9: วิธีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกวิธี
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักมีความระมัดระวังในการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าให้ถูกวิธี เพื่อความปลอดภัย ตามหัวข้อย่อยดังนี้
การเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และวัตถุประสงค์ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าไฟแรงสูง ควรเสียบกับปลั๊กที่มีกำลังไฟเท่าไหร่ เป็นต้น
การตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เด็ก ๆ ควรมีทักษะสังเกตความผิดปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น สายไฟแบบไหนที่เรียกว่าชำรุดแล้ว หรือการสังเกตกลิ่นไหม้ต่าง ๆ
การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หากตัวเปียก ไม่ควรเสียบปลั๊กไฟ หรือห้ามซ่อมแซ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยตัวเอง
การช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูด เช่น การห้ามใช้มือเปล่าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งถูกตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด ให้ยืนอยู่บนพื้นหรือวัสดุที่แห้ง และสวมร้องเท้าพื้นยาง เพื่อป้องกันการถูกกระแสไฟฟ้าดูด
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ รู้หลักใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าถูกวิธี ช่วยชีวิตรอดปลอดภัย น.40 - 43
เรื่องที่ 10: การเตรียมรับมือกับไฟไหม้
สอนเด็ก ๆ ให้เตรียมมือเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ตามหัวข้อย่อยดังนี้
การป้องกันเพลิงไหม้
สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดเพลิงไหม้ในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีไหม้นอกห้องเรียน กรณีติดอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง หากไฟลุกลามติดเสื้อผ้า
การหนีออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ เพลิงไหม้ หายนะ เรียนรู้ ป้องกัน รู้ทันเพลิงไหม้ น.50 - 53
เรื่องที่ 11: การช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักรักษาตัวเอง เมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมีที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ตามหัวย่อยดังนี้
วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางผิวหนัง
วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางดวงตา
วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางการสูดดม
วิธีการรักษาเบื้องต้น หากได้รับอันตรายทางการรับประทาน
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ หลักการช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อได้รับอันตรายจากสารเคมี น.61-63
เรื่องที่ 12: การใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเสี่ยงระเบิด
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักใช้ก๊าซหุงต้มอย่างถูกวิธี หัวข้อนี้อาจจะเหมาะกับเด็ก ๆที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และโตพอที่จะใช้ก๊าซหุงต้มได้ ซึ่งเราควรสอนเด็ก ๆ ตามหัวข้อดังนี้
การใช้ก๊าซหุงต้ม เช่น การเปิดวาล์วที่เตาแก๊ส กรณีเปิดไม่ติด อย่าเพิ่งเปิดซ้ำ ต้องทิ้งสักระยะ เพื่อไม่ให้เกิดประกายไฟ
การตรวจสอบรอยรั่วบริเวณถังก๊าซ
การปฏิบัติตัวกรณีก๊าซรั่วไหล
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ ใช้ก๊าซหุงต้มถูกวิธี ลดเสี่ยงระเบิดเพลิงไหม้ น.64-67
เรื่องที่ 13: การใช้อุปกรณ์นิรภัยให้ถูกวิธี
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักใช้อุปกรณ์นิรภัยให้ถูกวิธี ตามหัวข้อย่อยดังนี้
การใช้เข็มขัดนิรภัยอย่างถูกต้อง และข้อควรระวังในการใช้เข็มขัดนิรภัย
การสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง และการเลือกใช้หมวกนิรภัย
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ ใช้อุปกรณ์นิรภัยถูกวิธี ลดอันตราย ลดเสี่ยงตายจากอุบัติเหตุ น.80-84
เรื่องที่ 14: การเอาตัวรอดเมื่อติดอยู่ในรถ
สอนเด็ก ๆ ให้เอาตัวรอดหากติดอยู่ในรถ โดยโรงเรียนบ้านปลาดาว www.facebook.com/SCHSF ได้มีการสาธิตการสอนให้เด็กเอาตัวรอดเมื่อต้องติดอยู่ในรถ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมาตามหัวข้อต่อไปนี้
รู้จักระบบการทำงานของรถยนต์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อเอาตัวรอด ประกอบด้วย แนะนำเกี่ยวกับระบบเซ็ลทรัลล็อคของรถยนต์ แนะนำเกี่ยวกับระบบป้องกันการเปิดจากด้านใน การลดกระจกประตูรถ การใช้สัญญาณไฟฉุกเฉิน การใช้แตร และแนะนำให้เด็กมาเปิดประตูจากฝั่งคนขับ
ดูภาพประกอบเพิ่มเติม : www.facebook.com/223036511059587/posts/5365315993498254/?d=n
เรื่องที่ 15: การรู้จักโรคระบาดต่าง ๆ
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักวิธีการป้องกัน สังเกตอาการ และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ตามหัวข้อย่อยดังนี้
เชื้อไวรัสโควิด 19
เชื้อไวรัสซิกา โรคจากยุงลาย
โรคมือ เท้า ปาก
โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่
โรคไข้หวัดนก
คุณครูสามารถสอดแทรกเรื่องโรคระบาดอื่น ๆ ได้ หากในช่วงเวลานั้นเกิดโรคระบาดใหม่
(ชื่อโรคระบาดข้างต้น เป็นหัวข้อที่ยกตัวอย่างเท่านั้น)
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
น.115-133
เรื่องที่ 16: รู้จักเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ
สอนเด็ก ๆ ให้รู้จักเบอร์โทรฉุกเฉินของหน่วยงานต่าง ๆ ในกรณีที่ฉุกเฉิน
👉 สามารถอ่านรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ ได้ที่ www.disaster.go.th/upload/download/file_attach/58cb60f5607de.pdf
หัวข้อ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน น.134-137
Related Courses
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...
การซ่อมแซมของใช้ในชีวิตประจำวัน
อุปกรณ์ของใช้ในบ้านเมื่อใช้ไประยะหนึ่งอาจชำรุดเสียหายได้ ถ้าเรารู้จักวิธีซ่อมแซมจะทำให้สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกซึ่งเป็นการประหยั ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
การสื่อสารภาษาอังกฤษ ใครว่ายาก? หากเราเข้าใจ และสื่อสารมันจากความรู้สึก และไม่ต้องกังวลจนเกินไป ในคอร์สเรียนนี้เราจ ...
How to พูดอังกฤษยังไงให้เป๊ะ แบบไม่เน้นท่องจำ
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการดูแลสุขภาพกาย ป.4-6
การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีจากภายในสู่ภายนอก ควรทำควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนให้เพียงพอ