จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา (ตอนที่ 1)

โรงเรียนรุ่งอรุณ
โรงเรียนรุ่งอรุณ 2842 views • 4 ปีที่แล้ว
จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา (ตอนที่ 1)

จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา (ตอนที่ 1)

รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม

อธิการบดี สถาบันอาศรมศิลป์ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๘


๑. ชีวิตนี้มีค่านัก

      คนเราทุกคนที่เกิดมาแล้ว ได้ชีวิตมาแล้ว จะมีสักกี่คนที่ระลึกรู้ถึงคุณค่าแห่งชีวิต-ความเป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง จะมีสักกี่คนที่จะระมัดระวัง ไม่ใช้ชีวิตอย่างทิ้งๆ ขว้างๆ ไม่ใช้ชีวิตด้วยความประมาทพลาดพลั้ง และไม่ดูแคลนชีวิตจนเกินไปจนดูน่าสงสาร

      ดังที่ได้ยินได้ฟังได้เห็นตัวอย่างมามากมายอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แม้ในวัยต้นของชีวิตเช่นเด็กๆ ยังต้องเผชิญกับความ “ทุกข์ท่วมท้น” ก็มี ในขณะที่อีกคนถูกปรนเปรอด้วยความ “สุขล้นเหลือ” ก็มีเช่นกัน ลองจินตนาการดูเถิดว่า ในสุดโต่งทั้งสองข้างนั้น จิตวิญญาณของเด็กๆ เหล่านั้นจะถูกชักเชิดให้เล่นไปตามบทละครของใคร เขาเหล่านั้นจะมีโอกาสและสามารถเข้าถึง “ชีวิตที่ดีงาม” ได้ด้วยตัวของเขาเองหรือไม่ และอย่างไร

          เราทั้งหลายพร้อมที่จะเชื่อหรือไม่ว่า แท้จริงแล้ว ในใจกลางของชีวิตจิตใจมนุษย์นั้น มีสิ่งวิเศษซ่อนอยู่ อันเป็นแก่นแท้อันทรงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่จะช่วยปลดปล่อยจิตวิญญาณให้เป็นอิสสระ สิ่งนั้นจะเรียกว่า “พุทธะ” หรือความตื่นรู้ก็ตาม แต่กระบวนการสำคัญที่จะเข้าถึงสิ่งนั้นควรจะเรียกว่า “จิตตปัญญา” ได้หรือไม่ เราลองมาพิจารณากันด้วยเรื่องจริงของสองชีวิตน้อยๆ นี้


๒. ชีวิตแรก "ทุกข์ท่วมท้น"

          พ่อแม่ที่ว่ารักลูกยิ่งกว่าชีวิต แต่บางครั้งกลับกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันไปโดยไม่รู้ตัวก็มี ตัวอย่างเช่นนี้ยังมีให้เห็นอยู่เสมอ ดังเช่นเด็กน้อยคนนี้ เด็กดีเด่นประจำห้อง เรียนเก่ง เล่นดี มีวินัย ความประพฤติดี ดูแลเพื่อนและน้องได้ ครอบครัวมีฐานะและการศึกษาดี ดูภายนอกอาจเป็นเด็กที่ครูโล่งใจมองข้ามไปได้โดยไม่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ แต่ครูที่แท้จริงย่อมสังเกตเห็นความผิดปกติในศิษย์ของตนทุกคน และในกรณีนี้ก็เช่นกัน เด็กน้อยยังคงทำงานดีเลิศสม่ำเสมอ แต่แววตาและ “ใจ” มักเหม่อลอยไม่อยู่กับเรื่องตรงหน้า และด้วยความที่เป็นเด็กดีจึงไม่ค่อยบอกไม่ค่อยอยากให้คนอื่นรู้ว่าตนเองคับข้องหมองใจเพราะอะไร

ครูเริ่มสร้างสะพานแห่งศรัทธาและความไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้เขาสามารถเดินออกมาพ้นเมฆหมอกในใจด้วยความรู้สึกปลอดภัย โดยหาโอกาสพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ถามไถ่เรื่องใกล้ตัว ฟังโดยไม่ตัดสิน ไม่วิพากษ์วิจารณ์ ทั้งนี้เพราะครูตระหนักดีถึงความรู้สึกของเด็กน้อย ซึ่งไม่ต่างจากชีวิตของครูที่ไม่ได้ราบรื่นเช่นกัน บ่อยครั้งที่ครูเองต้องแบกรับภาระทางใจอันหนักอึ้งโดยไม่รู้ตัว และด้วยความพยายามที่จะประคับประคองสถานการณ์ให้ผ่านไปให้ได้ แต่ครูโชคดีที่ได้มาเป็นครูในโรงเรียนที่พาครูปฏิบัติเจริญสติสัมปชัญญะ เริ่มเข้าใจจิตใจตนเองทีละน้อย กระทั่งตระหนักรู้ว่าไม่จำเป็นต้องไปแบกความทุกข์ของผู้อื่นมาเป็นของตนก็ได้ ชีวิตครูจึงผ่อนคลาย และยอมรับความเป็นไปของบุคคลต่างๆ อย่างที่เขาเป็น

จนกระทั่งเมื่อเกิดความไว้วางใจในครูคนนี้ เด็กน้อยจึงพรั่งพรูเรื่องที่เกิดขึ้นที่บ้านให้ครูฟังว่า คุณพ่อคุณแม่ต่างก็บีบคั้นคาดหวังจากกันและกัน แต่ไม่กล้าพูดต่อหน้ากันเอง จึงผลักภาระมาตกที่ลูก เด็กถูกบีบบังคับให้จำต้องเป็นผู้รับฟังการก่นด่าสาดเสียอารมณ์จากพ่อถึงแม่ จากแม่ถึงพ่อ โดยดุษณี หากไม่ยอมรับฟัง หรือมีความเห็นต่างก็มีสิทธิถูกลงไม้ลงมือ จนเจ็บทั้งกายและใจ ไม่เข้าใจว่าทำไมพ่อแม่ถึงทำอย่างนี้กับตนเอง ความโกรธ ความน้อยใจ ความรู้สึกว่าขาดรัก กำลังเริ่มก่อตัวขึ้นในใจของเขา แต่เขาพยายามเก็บกดกลั้นความรู้สึกของตนเองไว้ภายในเพื่อประคับประคองความรักในครอบครัวเอาไว้ให้ดีที่สุด

          ระหว่างที่เด็กน้อยเล่าระบายความในใจ เป็นชั่วขณะที่ครูเพียงแค่นิ่งฟังและฟังด้วยสติ การฟังนี้ช่างมั่นคงนัก เป็นหลักให้เด็กรู้สึกปลอดภัยจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ปลอดภัยจากอารมณ์ร่วมที่จะพาฉุดให้ถลำลึกไปในอารมณ์ได้อีก ครูจึงเป็นที่พึ่งให้แก่เขาได้ จากนั้นครูจึงพาเด็กน้อยพลิกมุมมองโดยตั้งคำถามง่ายๆ ว่า “ขณะเผชิญหน้ากันนั้น ใครมีความเครียดมากกว่ากัน?” เด็กน้อยใคร่ครวญแล้วตอบว่า “พ่อแม่เครียดมากกว่า” ครูจึงถามต่อไปว่า เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว “ใครควรจะช่วยใคร?” เด็กน้อยตอบว่าเขาเองควรช่วยเหลือพ่อแม่ แต่เขาจะช่วยได้อย่างไร?

          นี่เป็นคำถามที่ตรงไปตรงมาที่สุด แต่ตอบยากเอาการ ถ้าท่านเป็นครูจะตอบอย่างไร แต่ครูผู้นี้ไม่ได้ตอบทันที หากพาเด็กน้อยย้อนมองการสนทนาระหว่างเขากับครู ว่าด้วยท่าทีเช่นไรเราจึงแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่มีช่องว่างระหว่างกัน เด็กเผยคำตอบเองว่า ครูฟังเขาด้วยดี ไม่มีคำตำหนิหรือติเตียนใครออกจากปากครูเมื่อได้ฟังเรื่องเหล่านั้น ทำให้เขารู้สึกปลอดภัย ครูถามต่อว่า เขาคิดว่าครูฟังอย่างไร และเขาเองจะฟังพ่อ/แม่ด้วยอาการเช่นนั้นได้หรือไม่ ไม่ว่าคำพูดที่ได้ยินจะบาดหูบาดใจเพียงใด แต่ขณะนี้เขารู้แล้วว่าผู้พูดนั้นกำลังตกอยู่ในความเครียดและต้องการความช่วยเหลือ

          ไม่น่าเชื่อว่าหัวใจดวงน้อยๆ ดวงนี้จะเป็นแหล่งกำเนิดความรักความเมตตาที่ยิ่งใหญ่ขึ้นได้ เขารับปากว่าเขาจะทำอย่างที่ครูทำได้ในการเผชิญหน้าครั้งต่อไป และเขาก็ทำจริงๆ เพราะในเวลาต่อมาไม่นาน เขาดูร่าเริงเบิกบานขึ้นอย่างผิดหูผิดตา ครูสอบถามได้ความว่า เขาลองใช้วิธีฟังอย่างครูแล้ว ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อ คือตัวเขาเองไม่ตกอยู่ใต้อารมณ์นั้นๆไปด้วย เขาได้ยินและเข้าใจความทุกข์ของพ่อแม่มากขึ้น รู้สึกเห็นใจจึงไม่ต้องการโต้ตอบใดๆ และเขาได้เห็นความผ่อนคลายของผู้พูด ที่ได้ระบายสิ่งที่หมักหมมอยู่ในใจออกมาเพราะมีผู้รับฟังที่ดี เมื่อทำบ่อยๆ สถานการณ์แห่งการเผชิญหน้า จึงกลับกลายเป็นห้วงเวลาแห่งการปรับทุกข์ที่ไม่ได้ต้องการคำตอบใดๆ เพียงต้องการการรับรู้จากใครสักคน และยิ่งคนๆนั้นเป็นคนที่เขารักด้วยแล้ว ความอบอุ่นใจจึงกลับมาแทนที่อย่างรวดเร็ว

          ท่านผู้อ่านคงไม่ปฏิเสธว่า นี่คือจิตใจของเด็กน้อยที่น่านับถือน่ายกย่อง เป็นดวงแก้วที่ได้รับการเจียระไน โดยฝีมือของครูธรรมดาคนหนึ่ง ที่เหลียวแลและเอาใจใส่ กระทั่งมองเห็นดวงแก้ววิเศษในตัวคนคนนั้น และสามารถเอื้อมมือเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแห่งชีวิตนี้ ด้วยความเชื่อมั่นและได้รับความไว้วางใจอย่างเต็มเปี่ยม ก็ในเมื่อกัลยาณมิตรคู่แรก หรือครูคนแรกของลูกคือพ่อแม่ ไม่ได้ตระหนักถึงบทบาทอันสูงส่งนี้อย่างสมค่าเสียแล้ว ดังนั้นจะเป็นใครอื่นไปไม่ได้ นั่นก็คือกัลยาณมิตรลำดับรองลงมา ครูประจำชั้นผู้ซึ่งมีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู มีเมตตา สามารถพลิกปัญหามาเป็นปัญญา ผ่านกระบวนการจิตตปัญญาฉันกัลยาณมิตร และเชื่อแน่ว่าเด็กน้อยได้ย่างก้าวแรกเข้าสู่เส้นทางชีวิตที่ดีงามแล้ว



ติดตามเรื่องราวต่อไป ได้ที่ จิตตปัญญา…จากครูธรรมดา ตอนที่ 2


มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

อัจฉริยะ 8 ด้าน

พหุปัญญา (Multiple Intelligences) หรือ ปัญญาหลากหลายด้านของมนุษย์ ซึ่งเป็นการอธิบายความสามารถทางสมองของมนุษย์ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
อัจฉริยะ 8 ด้าน
Starfish Academy

อัจฉริยะ 8 ด้าน

Starfish Academy
1291 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำไมต้อง...Learning By Doing

แนวความคิดและที่มาของการเรียนรู้ Learning by doing ผลที่ได้รับเมื่อเรียนรู้แบบ Learning by doing การสร้างองค์ประก ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำไมต้อง...Learning By Doing
Starfish Academy

ทำไมต้อง...Learning By Doing

Starfish Academy
2151 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

บทบาทสมมติกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไร

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเป็นการสอนที่สร้างสถานการณ์ให้คล้ายกับความเป็นจริง โดยให้ผู้เรียนแสดงตามความรู้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
บทบาทสมมติกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไร
Starfish Academy

บทบาทสมมติกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างไร

Starfish Academy
1855 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระตุ้นการเรียนรู้

กิจกรรมเคลื่อนไหวประกอบเพลงส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมพัฒนาทางด้านร่างกาย กิจกรรมเคลื่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระตุ้นการเรียนรู้
Starfish Academy

การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกระตุ้นการเรียนรู้

Starfish Academy
2229 ผู้เรียน

Related Videos

Student’s Story ทีม วนาลัย
02:39
Starfish Academy

Student’s Story ทีม วนาลัย

Starfish Academy
67 views • 5 ปีที่แล้ว
Student’s Story ทีม วนาลัย
ฟิฟ่า "เด็กสร้างบ้าน"
03:32
โรงเรียนปลาดาว

ฟิฟ่า "เด็กสร้างบ้าน"

โรงเรียนปลาดาว
444 views • 5 ปีที่แล้ว
ฟิฟ่า "เด็กสร้างบ้าน"
ปรายข้าว "รองเท้าจากกล่องนม"
03:13
โรงเรียนปลาดาว

ปรายข้าว "รองเท้าจากกล่องนม"

โรงเรียนปลาดาว
1294 views • 5 ปีที่แล้ว
ปรายข้าว "รองเท้าจากกล่องนม"
Teacher’s Story ทีม B2J prodution
06:28
Starfish Academy

Teacher’s Story ทีม B2J prodution

Starfish Academy
110 views • 5 ปีที่แล้ว
Teacher’s Story ทีม B2J prodution