Education Recovery (การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย)
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปแบบ On-site On-hand On-demand หรือ Online เพื่อให้มีความสอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงเรียน และเพื่อให้การศึกษาสามารถขับเคลื่อนดำเนินต่อไปได้ แต่เนื่องด้วยสาเหตุหลายปัจจัยส่งผลให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพไม่ดีเท่าที่ควร นักเรียนบางกลุ่มเกิดการเรียนรู้ที่ถดถอย และจากการที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ประกาศให้สถานศึกษาเปิดการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564
ดังนั้น โรงเรียนบ้านปลาดาว มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้ตระหนักถึงการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนภายใต้เวลาเรียนที่เหลืออย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมการฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยของนักเรียน ดังนี้
1. การสนับสนุนการพัฒนาวิชาชีพครู (Teacher Professional Development) เป็นกระบวนการเรียนรู้ของครูอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ ทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติการสอนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้และการสอน เช่น การพัฒนาวิชาชีพครู การจัดหลักสูตรที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ทางไกล การจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้และระยะเวลาที่เหมาะสม ครูสร้างเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรม การประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการสื่อสารกับนักเรียนที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอยของนักเรียนไม่เฉพาะแค่ด้านวิชาการเท่านั้น ครูยังต้องได้รับการพัฒนาตนเองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพกายจิตของครู เพื่อทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. การช่วยเหลือนักเรียน เป็นการส่งเสริม พัฒนา ป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องดำเนินการดูแล ช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เหมาะสมต่อสถานการณ์และบริบทของแต่ละโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็น การจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ โดยครูเป็นผู้สอน หรือจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ Learning Box จัดการเรียนรู้ที่บ้าน การจัดหาครูอาสา จากครูในโรงเรียน อาสาสมัครชุมชน ผู้ปกครองในชุมชน หรือนักเรียนรุ่นพี่ เพื่อช่วยเหลือในการเรียนรู้ การสนับสนุนด้านสุขภาวะพื้นฐาน จัดหาปัจจัยพื้นฐานที่ครอบครัวขาดอยู่ ตลอดจนผู้ปกครองรับบทบาทเหมือนครูที่บ้าน ให้ควมช่วยเหลือในการเรียนรู้ สังเกตพฤติกรรมรายงานผล และส่งเสริมสุขภาพกายจิตของผู้ปกครอง
3. การติดตาม ปรับปรุง และผลสะท้อนกลับ เป็นการประเมินเพื่อให้ทราบว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างไร มีความเข้าใจหรือไม่ ตลอดจนเป็นแนวทางให้ครูวิเคราะห์ความต้องการเพื่อให้นักเรียนเกิดความเข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างแท้จริง อีกทั้งยังช่วยให้ครูให้ข้อมูลย้อนกลับกับนักเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตามเป้าหมายการเรียนรู้
โดยการใช้เครื่องมือสำหรับการประเมิน ไม่ว่าเป็นสมุดบันทึก แบบสรุปการเรียนรู้ Booklet แบบประเมินทักษะ 11 ด้าน Starfish Class แบบประเมินผู้ปกครอง สำหรับผู้ปกครองประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน การประชุมอย่างสม่ำเสมอ การระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการใช้ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งทางไลน์ส่วนตัว ไลน์กลุ่ม หรือโทรศัพท์ ระหว่างครู ผู้ปกครองและบุคลากร ซึ่งเป็นการสะท้อนกลับที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลดเอกสาร White Paper : Learning Loss Recovery
ดาวน์โหลดเอกสาร White Paper : Learning Loss Recovery (ภาษาอังกฤษ)
การจัดการเรียนรู้ช่วงโควิด-19กับการฟื้นฟูภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss Recovery)
บทความใกล้เคียง
งานเสวนา : โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss) โดย Starfish Education
“การลดปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย”
Related Courses
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอย
การประเมินภาวะการเรียนรู้ถดถอยในวันที่โรงเรียนกลับมาเปิดเทอมใหม่อีกครั้ง หลังจากที่เด็กๆ เรียนออนไลน์มาเป็นเวลานาน ส่ง ...
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...