การพัฒนาครูสู่ผู้สร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21
ระยะที่ 1 โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
อ.ธิติ ธีระเธียร
จากการที่ได้มีการส่งตัวร่างแบบทดสอบของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ที่ทางศึกษานิเทศก์ ช่วยกันพัฒนาขึ้นมา โดยเลือกจากตัวข้อสอบ NT ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 มีข้อเสนอแนะดังนี้
สำหรับระดับชั้น ป.2 สามารถนำไปใช้ หรือประยุกต์ใช้ในเรื่องของการจัดสอบและนำไปเทียบกับตัวคะแนนเดิมของผู้เรียนได้ กรณีที่นักเรียนทำข้อสอบเสร็จแล้ว จะแบ่งออกเป็น 2 เรื่องด้วยกัน คือ เรื่องของการอ่านออกเสียง กับการอ่านรู้เรื่อง เพื่อพิจารณาว่าผู้เรียนในระดับชั้น ป.2 มีความสามารถในเรื่องการอ่านออกเสียงกับการอ่านรู้เรื่องลดน้อยลงหรือไม่ เนื่องจากเป็นพื้นฐานการเรียนในภาคเรียนที่ 2 ถ้าตรงจุดนี้ผู้เรียนมีความถดถอย หรืออาจจะไม่ถดถอยแต่อาจจะมีพื้นฐานไม่ดีตั้งแต่ต้น หลังจากทำการวัดการอ่านออกเสียงกับการอ่านรู้เรื่องแล้ว ถ้าพบว่าเด็กคนใดมีความไม่พร้อมด้านการอ่านออกเสียง กับการอ่านรู้เรื่อง ทางโรงเรียนและครูอาจจะให้มีการจัดสอนเสริมแก่ผู้เรียนที่ตกในบางเรื่อง หรือว่ามีการถดถอยในบางเรื่อง
โดยลักษณะของกิจกรรมเสนอแนะว่า อาจเป็นกิจกรรมที่ดึงมาจาก Learning Box ในการพัฒนาฟื้นฟู และการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในด้านการอ่านออก เขียนได้ โดยการใช้กิจกรรม 3R การจัดกิจกรรมสอนเสริมในลักษณะโครงงานเล็กๆ เช่น การคัดลายมือและการเขียนสะกดคำพื้นฐาน เป็นต้น หรือจะเป็นลักษณะของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเพิ่มเติมด้วยวิธีการอ่านจับใจความจากสื่อต่างๆ เพื่อที่จะปรับพื้นให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนเทอมนี้ ซึ่งระดับชั้น ป.2 จะมีข้อสอบ RT ที่สามารถเทียบได้ว่ามีการถดถอยในส่วนใดบ้าง
สำหรับระดับชั้น ป.3 จะมีประเด็นในการใช้ข้อสอบ RT มาเทียบในการดึงตัวชี้วัดไหนในการออกข้อสอบ หลังจากเด็กสอบเสร็จ คะแนนที่ได้มายังไม่มีเกณฑ์เทียบเหมือนข้อสอบ RT ของระดับชั้น ป.2 ทั้งนี้ ในส่วนของวิชาภาษาไทย ตามที่อาจารย์ได้ออกแบบอาจจะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ข้อสอบชุดนี้ในด้านการอ่าน ด้านการเขียน ด้านการฟัง การดูและการพูด ด้านหลักการใช้ภาษาว่าเท่าไหร่ถึงจะผ่านเกณฑ์ ส่วนด้านวรรณคดีและวรรณกรรม ในส่วนนี้อาจจะตัดออกก็ได้ เนื่องจากมองว่าลำดับความสำคัญอาจจะยังไม่สูงเท่า 4 ด้านข้างต้น ทั้งนี้ อาจจะพิจารณาว่าในด้านที่ 1-4 กำหนดผ่านเกณฑ์เท่าไหร่ ถ้ามีการตกเกณฑ์อาจจะทำการสอนเสริมเช่นเดียวกับระดับชั้น ป.2 ซึ่งอาจจะเป็นการเสนอแนะในส่วนของการอ่านจับใจความจากบทความ นิทาน หรือหนังสือที่สอดคล้องกับเด็กช่วงชั้น ป.2-3 การให้อ่านหนังสือนอกเวลา การเขียนเรื่องสั้น หรือกิจกรรมเสนอแนะให้ครูมีการจัดเสริมให้กับผู้เรียนได้
ในส่วนของผู้เรียนที่อาจจะได้คะแนนที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ในส่วนของคณิตศาสตร์ของชั้น ป.3 จะเป็นในส่วนของจำนวนและพีชคณิต ตั้งแต่ 0 ถึง 1,000 ซึ่งเนื้อหาในส่วนของ ป.2 และ ป.3 มีส่วนใกล้เคียงกัน อาจจะมีส่วนความยากและความซับซ้อนมากขึ้น และจากข้อสอบอาจจะกำหนดเป็น 3 กลุ่ม และในแต่ละกลุ่มมีการกำหนดคะแนนเท่าไหร่ถึงจะผ่านเกณฑ์ ในส่วนนี้ถ้ากำหนดไว้แล้ว เด็กมีการสอบอาจได้ต่ำกว่าเกณฑ์ อาจจะมีการสอนเสริม การใช้กิจกรรม 3R จาก Learning Box หรือกิจกรรมเสริมอื่นๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะทำได้ ในส่วนของข้อสอบ ถ้าสมมติว่าได้คะแนน มาแล้ว แนวทางที่จะฟื้นฟูเรื่องของ Learning Losses ที่วัดว่าเด็กมีการถดถอยมากน้อยเพียงใด ยังไม่สำคัญเท่ากับความพร้อมของเด็กที่จะเรียนในเทอมที่ 2 หรือไม่
ดังนั้น ข้อเสนอแนะแนวทางในการฟื้นฟูหลังจากที่มีการเตรียมความพร้อมและนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการของครูให้มีความรู้ในเรื่องของการสอน Active Learning โดยใช้ตัวนวัตกรรม 3R และกระบวนการ STEAM Design Process ที่จะช่วยลดภาระของครูในเรื่องของตัวชี้วัดต่างๆ รวมไปถึงการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน และแนวทางในการนำ Learning Box ไปใช้ ซึ่งอาจจะเป็นการใช้แบบฝึกหัด Booklet ต่างๆ ที่เป็นไอเดียมากกว่าที่อยู่ใน Learning Box เพื่อที่จะใช้กับเด็กชั้น ป.2 และ ป.3 รวมไปถึงแนวทางของการออกแบบกิจกรรมและนำกระบวนการ STEAM Design Process ไปใช้
สำหรับแนวทางในการพัฒนาครูในโครงการ จะเป็นลักษณะการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาผู้สอน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ด้วยนวัตกรรม 3R โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มของครู ในด้านการพัฒนาทักษะเน้นด้านการสื่อสารภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และด้านการคิดคำนวณ เพื่อให้ครูเรียนรู้ได้ตามความสนใจและตรงกับการจัดการเรียนการสอน การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยกระบวนการ STEAM Design Process และแนวทางในการใช้กล่องการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ทั้งนี้ ตัวกิจกรรมที่แนะนำส่วนหนึ่งได้ดึงมาจาก Learning Box ที่ทางมูลนิธทำเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียน
ส่วนที่สองครูสามารถออกแบบกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาสมรรถนะทั้ง 6 ด้านที่สอดคล้องกับ สพฐ. ผ่านการใช้กระบวนการ STEAM Design Process ในการจัดกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาด้านภาษาและการสื่อสารสอดคล้องกับ CBE Thailand ที่เป็นต้นฉบับในการพัฒนาฐานสมรรถนะ รวมไปถึงแนวทางและไอเดียในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนในช่วงชั้นที่ 1 ซึ่งส่วนนี้ทางมูลนิธิร่วมกับศึกษานิเทศก์ได้ทำงานร่วมกัน หลังจากที่มีการอบรมจะมีการทำ PLC ทั้งหมด 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งก็จะเน้นในแต่ละเรื่อง โดยจะมีครูผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการพัฒนาทักษะต่างๆ มาแลกเปลี่ยนกับครูที่อยู่ในโครงการ รวมไปจนถึงครูที่อยู่ในโครงการอาจจะต้องขอความร่วมมือจากศึกษานิเทศก์ในการคัดเลือกครูที่มีการนำ Learning Box ไปใช้ และนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้มาแบ่งปันในแต่ละเรื่อง แต่ละครั้งตามหัวข้อที่กำหนดและประมาณช่วงเดือนกุมภาพันธ์จะได้ทำการถอดบทเรียนร่วมกันต่อไป
Related Courses
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้
พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...