Starfish Talk “ห้องเรียนแห่งความสุข”

Starfish Talk “ห้องเรียนแห่งความสุข”

ห้องเรียนที่ดีไม่ได้แค่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนเก่งเท่านั้น แต่ที่สำคัญผู้เรียนจะต้องมีความสุขในการอยู่ร่วมกันในห้องเรียน และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน ทั้งนี้ เราจะสามารถจัดการห้องเรียนแห่งความสุขได้อย่างไร จะทำอย่างไรให้ผู้เรียน และครูผู้สอนมีความสุขจากการจัดการเรียนรู้ และสร้างห้องเรียนให้เป็นห้องเรียนแห่งความสุขอย่างแท้จริง

แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง ที่ปรึกษามูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ในโครงการ TSQP - ถ้าพูดถึงสิ่งที่สร้างห้องเรียนแห่งความสุข ครูถือได้ว่าเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างบรรยากาศและความเสมอภาคแห่งการเรียนรู้ โดยการหาวิธีการ กระบวนการหรือการเปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งมีวิธีการที่เคยทดลองทำ คือ 

1) การให้ครูช่วยสังเกตการสอน ว่าเด็กมีความสนใจ ความสุขมากน้อยเพียงใด ตื่นเต้นที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากครูหรือไม่ 

2) เด็กสามารถสะท้อนคิดออกมาแล้วรู้สึกปลอดภัยถึงการแสดงความคิดเห็น การมีปฏิสัมพันธ์กับครูและเพื่อน เขามีเป้าหมายในการเรียนรู้อย่างไร 

3) การใช้กระบวนการ I Care ซึ่ง I คือ การให้เด็กค้นหาตัวตนของตนเองให้เจอ C-cooperation คือ ครูจัดการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ A - Action คือ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ R- Reflection ให้เด็กได้สะท้อนความคิดจากการเรียนรู้ E-Evaluation คือ การประเมินตนเองได้ ถ้าเข้าใจกระบวนการก็จะทำให้นักเรียนมีความสุข การที่จะทำให้มีความสุขสิ่งสำคัญ คือ การที่ทำให้เด็กรู้คุณค่าของตัวเอง และรู้จักคุณค่าของผู้อื่น ถ้าดูจากกระบวนการตั้งแต่ต้น บรรยากาศในการจัดการเรียนรู้มีความสำคัญ การสร้างความเสมอภาค การสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ สะท้อนถึงความเอาใจใส่ของครู ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างห้องเรียนแห่งความสุข 

หลักของสิทธิเด็ก รวมไปถึงการประยุกต์ใช้ในห้องเรียน ที่จะช่วยให้ครูสามารถสร้างห้องเรียนแห่งความสุขได้

คุณโยโกะ เตรูย่า รองประธานมูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม - เรื่องสิทธิเด็กเป็นเรื่องของอนุสัญญาในเชิงหลักการ เป็นอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิเด็ก และเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นร่วมกันโดยองค์การสหประชาชาติ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องรู้ในเรื่องสิทธิที่เด็กควรจะมี แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ 

1) สิทธิในการมีชีวิตรอด ตั้งแต่เกิดมาไม่ว่าจะมีร่างกายสมบูรณ์หรือพิการ เด็กมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตรอด ซึ่งสิทธินี้ครอบคลุมไปจนถึงสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน 

2) สิทธิในด้านของการพัฒนา เด็กที่เกิดมามีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน หรือการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ ความเป็นอยู่และโภชนาการที่ดี 

3) สิทธิด้านปกครองคุ้มครอง เป็นการได้รับการปกป้อง คุ้มครองการถูกละเมิดทุกรูปแบบ ทั้งในด้านของการทารุณกรรม การแสวงหาประโยชน์ หรือการใช้แรงงานเด็ก 

4) ด้านสิทธิในการมีส่วนร่วม เด็กมีสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็น มีส่วนร่วมในการตัดสินใจสิ่งที่จะมีผลกระทบในชีวิตของเด็ก 

ทั้งนี้ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานศึกษา ถือได้ว่าทางสตาร์ฟิชยึดหลักการทำงานที่ใช้หลักสิทธิเด็กเป็นเกณฑ์หลักในการให้ครู บุคลากร ทำงานร่วมกับเด็ก ในที่นี้ขอยกตัวอย่างโรงเรียนบ้านปลาดาวที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนสงเคราะห์ทั่วไป คือ ครูมีหน้าที่ในการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็ก แต่ครูและเด็กอยู่ร่วมกันภายใต้นโยบายสิทธิเด็ก หรือการคุ้มครองเด็ก จะทำอย่างไรให้สามารถนำหลักการมาสู่วิธีการ หรือข้อตกลงในการอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งทางสตาร์ฟิชได้ร่วมกันระดมความคิด ในการนำหลักการสิทธิเด็กมาออกแบบเป็นเกณฑ์ในโรงเรียนหรือห้องเรียนแบบไหน ที่จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขที่ดี สิ่งสำคัญคือ การให้เกียรติกัน การให้ความเคารพซึ่งกันและกัน การปกป้องคุ้มครอง และการไม่ละเมิดกัน ซึ่งโรงเรียนบ้านปลาดาวสามารถนำมาจัดการได้จริงภายใต้นโยบายสิทธิเด็ก

การปกป้องคุ้มครอง เป็นเรื่องเชิงความสัมพันธ์ ไม่ได้เป็นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ทั้งสองฝ่ายต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับบทบาทของครูในการปกป้องคุ้มครองเด็กในห้องเรียนภายในโรงเรียน ครูอาจจะต้องมี 2 ทักษะที่สำคัญ คือ 

1) การสังเกตุ โดยการสังเกตุนักเรียนเป็นประจำจากนิสัย หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป

2) การสอบถามและการฟังอย่างตั้งใจ สอบถามอย่างไรให้เด็กไม่รู้สึกกลัว กล้าเล่าให้ครูฟัง รวมถึงบุคลิกของผู้ปกป้องคุ้มครอง ก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เด็กรู้สึกถึงความปลอดภัยและความเอาใจใส่ 

ส่วนเรื่องของการละเมิด มีคำถามว่า การละเมิดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับคนแปลกหน้า คนที่เด็กไม่เคยเจอ หรือบุคคลใกล้ชิดรอบตัว จากการสอบถามพบว่า ร้อยละ 80 เด็กส่วนใหญ่จะถูกละเมิดจากคนแปลกหน้า ทั้งที่ความเป็นจริงเด็กส่วนใหญ่ถูกละเมิดจากคนใกล้ตัว ซึ่งการละเมิด ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการละเมิดทางเพศ แต่รวมไปถึงด้านวาจา สภาพจิตใจ การทารุณกรรม การทำร้าย การทำโทษ เป็นต้น จริงๆ แล้วการละเมิดเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเรื่องสิทธิ 1 คน 1 เสียง ต้องมาทบทวนว่ามีสิทธิ์ละเมิดเด็กด้วยการทำร้ายโดยความรักหรือหวังดีแบบนั้นหรือไม่ ซึ่งเราอาจจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด ใช้การพูดคุยที่ดี ความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้เด็กต่อไป

แนวปฏิบัติตามหลักจิตวิทยา ทำให้ห้องเรียนเป็นห้องเรียนแห่งความสุขได้

คุณเบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์ นักจิตวิทยามูลนิธิฯ – ตามหลักการทางจิตวิทยาในการทำห้องเรียนเป็นห้องเรียนแห่งความสุขได้ มีอยู่ 3 หลักการ คือ 2 ความเชื่อ 4 หลักการ 5 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 2 ความเชื่อ เป็นหลักการความเชื่อที่จะทำให้คนเราสามารถมีพฤติกรรมกับเด็กที่ดีมากขึ้น ความเชื่อแรก คือ เราต้องเชื่อก่อนว่าห้องเรียนแห่งความสุข สามารถสร้างไปพร้อมกับการประสบความสำเร็จในการเรียนได้ ข้อที่สอง ความเชื่อผิดๆ ที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” การใช้การตีเพื่อเป็นการหยุดพฤติกรรมของเด็ก แต่ผลจากการวิจัย พบว่า การที่ตีเด็กอาจจะหยุดพฤติกรรมได้ทันที แต่สิ่งที่สำคัญคือไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวได้ ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนความคิดก่อนว่าการตีไม่ใช่คำตอบที่ทำให้เด็กเปลี่ยนพฤติกรรม มีหลายวิธีที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กโดยไม่ต้องตีได้ ดังนั้น ตามหลักจิตวิทยา การที่เรามีความเชื่อจะนำไปสู่การปรับพฤติกรรมของครูและของเด็กได้ 

ส่วน 4 หลักการ ในการสร้างห้องเรียนแห่งความสุข คือ 1) สภาพแวดล้อม การสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดความรู้สึกปลอดภัย มีสุขภาวะที่ดีช่วยเอื้อให้เด็กเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น 2) การเรียนการสอน การจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลาย 3) การสอนให้เด็กเข้าใจทักษะชีวิตผ่านการเรียนวิชาโฮมรูม และ 4) การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูกับนักเรียน เป็นหลักการที่สำคัญที่สุดที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก และ 5 ตัวอย่าง ประกอบไปด้วย 

1) กิจกรรมเนรมิตห้อง การจัดห้องเรียนสามารถจัดได้ทุกเดือนตามความสนใจของนักเรียน เพื่อเป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ 

2) กิจกรรม Fun & Activity เป็นการสร้างกิจกรรมหลังจากเนรมิตรห้องเสร็จ เป็นการฝึกการตัดสินใจให้กับเด็ก โดยการสร้างผ่านภาพยนตร์ การ์ตูน จะช่วยพัฒนาทักษะการคิดและการแก้ปัญหาพร้อมกับทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับเด็ก 

3) การ Make a rule การตั้งกฎร่วมกันในห้อง โดยมีวิธีการตั้งกฎ 3 ข้อ คือ สร้างกฎขึ้นมาที่เป็นไปได้ มีระบบการเตือนภัย และชื่นชมเมื่อทำถูก เป็นการช่วยควบคุมตัวเองของเด็กให้อยู่ในกฎได้ดีมากขึ้น 

4) การทำกิจกรรมความสุข ตามความคิดของเด็ก อาจจะเป็นการใช้สีเพื่อบ่งบอกความสุข 

5) สื่อการเรียนการสอน โดยการออกแบบการเรียนการสอน ที่มีกิจกรรมนอกห้องเรียน ห้อง Lab และอื่นๆ ที่ทำให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนมากขึ้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
2:00 ชั่วโมง

การออกแบบห้องเรียนฐานสมรรถนะ

นำประสบการณ์การจัดกิจกรรมตามหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างง่ายมาใช้ในกิจกรรมชุมนุม และการประเมินผลการเรียนรู้ที่ออกแบบตาม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การออกแบบห้องเรียนฐานสมรรถนะ
Starfish Academy

การออกแบบห้องเรียนฐานสมรรถนะ

Starfish Academy
1118 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ห้องเรียนบูรณาการ Integrated Instruction

คอร์สนี้เป็นการแนะนำผู้สอนหรือครูให้เห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เพื่อสามารถทำไปแนวทางปฎิบัติในการบูรณากา ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ห้องเรียนบูรณาการ Integrated Instruction
Starfish Academy

ห้องเรียนบูรณาการ Integrated Instruction

Starfish Academy
1302 ผู้เรียน
การบริหารสถานศึกษายุคใหม่
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
Starfish Academy

การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)

Starfish Academy
4335 ผู้เรียน
การเรียนแบบบูรณาการ
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ

เราเลือกอาชีพ? หรืออาชีพเลือกเรา? เราวัดคุณค่าของอาชีพจากอะไร การรู้จักอาชีพที่หลากหลาย อาชีพที่มีค่าตอบเเทนสูง อาชีพที่ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ
Starfish Academy

ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ

Starfish Academy

Related Videos

ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา
04:44
Starfish Academy

ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา

Starfish Academy
1262 views • 2 ปีที่แล้ว
ความสำคัญของ วPA และ 6 ข้อปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษา
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
426 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
05:56
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1577 views • 3 ปีที่แล้ว
PA กับ DPA ต่างกันอย่างไร เข้าใจระบบวิทยฐานะใหม่แบบไม่หลงทาง
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
83 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]