สร้างห้องเรียนแห่งความสุข ด้วยหลัก Positeach
หากเราไปถามเด็กๆ ว่า ห้องเรียนในฝัน หรือห้องเรียนแห่งความสุข มีหน้าตาเป็นอย่างไร เด็กๆ มักจะตอบว่า คุณครูใจดี คุณครูไม่ดุ แต่บางทีผู้ใหญ่อย่างเราอาจจะถึงในใจว่า ถ้าเด็กไม่ดื้อ ครูก็ไม่ดุ สำหรับผู้เขียนเองเชื่อว่า ห้องเรียนในฝันของเด็กๆ ที่จะสร้างความสุขนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริง ด้วยหลัก Positeach (Positive + teaching)
หลัก positive มีหลักสำคัญ 2 ข้อที่จะช่วยให้เราสามารถสร้างห้องเรียนแห่งความสุขได้ นั่นคือ หัวใจ และ อุปกรณ์พิเศษ
หัวใจ คือ ความเชื่อของคุณครูที่ว่า “ห้องเรียนแห่งความสุขสร้างได้” “เราสามารถดูแลเด็กๆ โดยไม่ต้องตี” “เด็กในโลกนี้ไม่มีเด็กดื้อ มีแต่เด็กที่ยังไม่เข้าใจ” โดยความเชื่อเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ คุณครูต้องลืมประโยคนี้ไป คือ "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" ประโยคนี้เป็นความเชื่อผิดๆ ที่เราเชื่อว่า การตีสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กได้ จริงๆแล้วการตีทำได้เพียง หยุดพฤติกรรมในตอนที่ตีไปเท่านั้น แต่ไม่ใช่การสอนว่า พฤติกรรมอะไรที่ควรทำ พอเวลาผ่านไปเด็กๆ ก็มีโอกาสจะทำพฤติกรรมเดิมอีก (ที่บางคนมองว่าเด็กไม่เปลี่ยนแปลง สอนยาก) หรือบางคนอาจจะบอกว่า หลังตีเสร็จก็สอนไงว่า ต้องทำอะไร แต่เอาจริงๆ นะคะ พอเด็กโดนตีเสร็จเนี้ย ก็กลัว จนไม่สามารถเรียนรู้อะไรได้แล้ว ดังนั้น เราจึงต้องไม่เชื่อว่า การตีช่วยเราได้
(แล้วคุณครูเชื่อเหมือนกันไหมคะ?)
อุปกรณ์พิเศษ คือ การสร้างอุปกรณ์ หรือกิจกรรมในห้องเรียน เพื่อช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ผ่านการเสริมแรงทางบวก การสร้างวินัยเชิงบวก และอื่นๆ ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
- กระดานข้อตกลง เป็นกระดานที่ ก่อนเริ่มเรียน คุณครูและเด็กๆ จะมาตั้งกฎประจำห้องว่า เราจะต้องทำอะไรบ้าง เช่น นั่งฟังครู อยากพูดให้ยกมือ สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ตอนไหนบ้าง เป็นต้น (โดยคุณครู ควรจะวาดรูปแทนการเขียน) ซึ่ง กระดานนี้เป็นเหมือนตัวช่วยเด็กๆ ให้สามารถควบคุมตนเอง และทำตามข้อตกลงได้ เพราะ ถ้าหากเมื่อไร ที่เด็กๆ เริ่มควบคุมตนเองไม่ได้ ก็ให้คุณครูชี้ไปที่กระดานนี้ พร้อมบอกเด็กๆว่า นักเรียนคะ เราต้อง......(การทำเช่นนี้ เป็นการช่วยเด็กๆ กำกับตนเองได้ดีขึ้น)
- สติกเกอร์รางวัล หลังจากที่ตั้งกฎ เราจะเสริมแรงด้วยสติกเกอร์รางวัล ว่าถ้าเด็กๆ ทั้งหมดทำได้ อยู่ในกฎก็จะได้สติกเกอร์ 1 ดวง ถ้าวันนี้เก็บได้ 5 ดวง เด็กๆ จะได้......
- นกหวีดสั่งหยุด ให้นกหวีดเป็นสัญลักษณ์ ที่เมื่อเป่า แล้วเด็กๆ ต้องหยุด เงียบ เป็นเครื่องมือจะใช้เมื่อห้องเกิดความวุ่นวาย และเด็กอาจจะควบคุมตนเองไม่ได้
3 อุปกรณ์พิเศษนี้ เป็นเครื่องมือหากินของผู้เขียนเองค่ะ ขอนำมาแชร์กับคุณครูนะคะ หากเรามีหัวใจที่เชื่อว่า การตีไม่จำเป็น และสร้างอุปกรณ์ในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมให้แก่เด็กได้ ห้องเรียนแห่งความสุข ก็จะไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
ออกแบบห้องเรียนที่มีหัวใจ...ด้วยหัวใจอาชีพ
เราเลือกอาชีพ? หรืออาชีพเลือกเรา? เราวัดคุณค่าของอาชีพจากอะไร การรู้จักอาชีพที่หลากหลาย อาชีพที่มีค่าตอบเเทนสูง อาชีพที่ ...
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...