งานเสวนา โรงเรียนเปลี่ยนใหม่ “ปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19”
เครื่องมือหรือวิธีการปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิด-19
โรงเรียนวัดดอนพุดซา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนทั้งหมด 183 คน มีครูและทีมงาน 13 คน ในภาคเรียนที่ผ่านมาโรงเรียนได้มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนแบบ on-site โดยการใช้นวัตกรรมการศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนรู้แบบ On Hand แต่เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ทำให้เด็กไม่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ โรงเรียนจึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนแบบ On Hand โดยมี Booklet ให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่บ้าน ระหว่างที่ดำเนินการครูและผู้บริหารได้ทำการประชุม หารือ PLC ทุกๆ 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง พบว่า จากการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ On Hand เกิดปัญหาเด็กขาดส่งใบงาน ไม่เข้าใจเนื้อหาในใบงาน ทำให้โรงเรียนได้มีการปรับรูปแบบ ครูต้องมีวิธีการที่จะต้องดูพื้นฐานแรกเลย คือ การเป็น Standard เด็กนักเรียนจะต้องได้รับใบความรู้ หรือ Booklet เหมือนกัน แต่วิธีการเรียนปรับเปลี่ยน โดยการให้ครูสำรวจความพร้อมของนักเรียนในการเรียนออนไลน์
จากผลการสำรวจพบว่า มีนักเรียนเพียงร้อยละ 10 ที่มีความพร้อมของอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ จากผลดังกล่าว ทำให้โรงเรียนตัดสินใจเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอน On Demand โดยการให้ครูสร้างห้องเรียน you tube หรือ Google Classroom จากผลการดำเนินงานสรุปตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอน พบว่า การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Hand ช่วงเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม นักเรียนได้เรียน ได้รับใบงานทุกคน แต่ผลงานและการวัดประเมินผลไม่ส่งผลเท่าที่ควร ดังนั้น ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ครูเริ่มเปลี่ยนมาใช้วิธีการสอนในรูปแบบออนไลน์ และ On Demand
จากการที่จะทำยังไงให้เด็กได้เรียนรู้ และจะปิด GAP ห้องเรียนในยุคโควิดได้อย่างไรนั้น โรงเรียนได้มีการกำหนดเป้าหมาย คือ “การพัฒนาทักษะอาชีพ” โดยใช้กระบวนการ STEAM Design Process ดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้ได้ตามเป้าหมาย ครูทำการเลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอน เมื่อมีแผนการสอน มีการเรียนการสอน มีวิธีการสอนแล้ว สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ลดช่องว่างและมีผลงานสะท้อนกลับมาให้โรงเรียนได้ คือ สื่อการเรียนรู้
โรงเรียนได้จัดทำนวัตกรรมที่เรียกว่า “กระเป๋าแดงแห่งการเรียนรู้” (Learning Red Bag) แทนกล่องการเรียนรู้ Learning Box ของบ้านปลาดาว เนื่องจากเด็กจะต้องนำกระเป๋ามาด้วยทุกครั้งที่มาโรงเรียน เพราะสื่อที่ให้เด็กจะเป็นสื่อที่ใช้แล้วหมดไป เป็นสื่อมาตรฐานตั้งต้นที่ทุกคนจะได้รับเหมือนกัน เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ อีกทั้ง ครูต้องพัฒนาสื่อ micro learning ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และพัฒนาในเรื่องของการวัดและประเมินผล ซึ่งโรงเรียนได้รับความอนุเคราะห์จาก กสศ. สำหรับโปรแกรม Q-Info ทำให้โรงเรียนสามารถตัดเกรดแบบ Real-time หรือออนไลน์ได้ และ Starfish Class สำหรับเครื่องมือการวัดและประเมินผลที่เน้นในเรื่องของอาชีพและทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ โรงเรียนได้มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนของครู ในภาคเรียนที่ 1/64 โดยการจัดทำแผนการเรียนรู้และ Booklet ที่เน้นการเรียนรู้แบบ Active Learning จัดใบงานและอุปกรณ์การเรียนรู้ลงใน Learning Red Bag จัดทำคลิปการสอนประกอบการเรียนรู้ตามหน่วยเพื่อการเรียนแบบ On Demand ตรวจสอบความถูกต้องใบงานของเด็ก และติดตามการทำงานเด็กจากภาพ และวิดีโอที่ส่งโดยผู้ปกครอง บันทึกผลหลังสอนและบันทึกการเรียนรู้ลงใน Starfish Class และรายงานผลการเรียนรู้รายสัปดาห์ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ และ PLC ร่วมกันในการหาแนวทางพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ต่อไป ทั้งนี้ โรงเรียนได้นำรูปแบบการวัดประเมิน Portfolio จากมูลนิธิสตาร์ฟิชฯ มาปรับใช้โดยการร่วมมือกับผู้ปกครองประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดจนนำมาปรับใช้กับรูปแบบการทำงานของครูอีกด้วย
ดร.สุนิสา คงสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนพุดซา จ.พระนครศรีอยุธยา
บทความใกล้เคียง
Related Courses
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
การวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ
ในการระบาดของโรคโควิด- 19 ทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้จึงต้องมีการวางแผนโรงเรียนทั้งระบบ เพื่อช่วยฟื้นฟูการเรียน ...