ประชุมชี้แจงโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง TSQP รุ่นที่ 1-2 ต่อเนื่องในปี 2564
ชี้แจงเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ของโครงการ
มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม ได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ดำเนินโครงการสนับสนุนโรงเรียนพัฒนาตนเอง ในเรื่องที่ต้องการผลักดันให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ TSQP รุ่นที่ 1 ทั้งหมด 58 โรงเรียน และก็รุ่นที่ 2 มีทั้งหมด 33 โรงเรียน ซึ่งในรุ่นที่ 2 มีสังกัดเทศบาล คือ เทศบาลนครเชียงใหม่และเทศบาลตำบลบ้านธิ สังกัดของศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เชียงใหม่ นครปฐม อยุธยา และสมุทรสาคร ทั้ง รุ่นที่1 และ รุ่นที่ 2
เพื่อการขยายผลการดำเนินงาน ให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และติดตามวัดประเมินผล ให้คำปรึกษาในการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบตามแผนกลยุทธ์นั้น ในการดำเนินงานให้มีความสอดคล้อง และเป็นไปในแนวทางทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงได้ดำเนินการประชุมเพื่อทำความเข้าใจ ระหว่างหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียนที่ทำงานด้วยกับมูลนิธิฯ
ภาพรวมของโครงการ/ผลที่จะเกิดขึ้น/แนวทางความร่วมมือ
ปัจจุบันการทำงานด้านการจัดการเรียนการสอน อยู่บนปัจจัยที่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงมากมายหลายด้าน โรงเรียนส่วนใหญ่สามารถที่จะปรับตัว และมองโครงการ TSQP เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
กรอบสำคัญในการจัดโครงการในปีนี้ ระดับนโยบาย คือ ลดอัตราการหลุดออกจากระบบการศึกษา ลดภาวะถดถอยของความรู้ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ
โครงการนี้จะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาตนเองของโรงเรียนทั้งระบบ คือ ด้านการบริหารและนวัตกรรมการเรียนการสอน สนับสนุนการพัฒนากลไกหนุนเสริมเชิงคุณภาพ คือ วิจัย ติดตาม ถอดบทเรียน สนับสนุน การทำ leaning outcome งานวิจัย การสื่อสารสังคม และผลักดันเชิงนโยบาย และมีระบบการหนุนเสริมให้เกิดการพัฒนาเชิงคุณภาพ
ผลผลิตและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน การประยุกต์ใช้นวัตกรรม สนับสนุนให้โรงเรียนเป็นแกนนำ นำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาเชิงนโยบาย การดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยง ขยายไปสู่โรงเรียนต้นสังกัดอื่นๆ สังคมรับรู้ และโรงเรียนพัฒนาตนเอง
ผลการดำเนินงานของโรงเรียนแตกต่างกัน เนื่องจากแต่ละโรงเรียนมีบริบท สภาพที่แตกต่างกัน การประเมินจะใช้ประเมินตามสภาพความพร้อมของโรงเรียนเป็นหลัก การมีหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่สนับสนุนส่งเสริม มีภาคีเครือข่ายรุ่นที่ 1 มี 5 แห่ง รุ่นที่ 2 มี 11 แห่ง รวมโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ 661 จะมีทีมงานสนับสนุนด้านต่างๆคอยแนะนำช่วยเหลือส่งเสริม โครงการนี้เป็นโครงการที่ใหญ่และมีการบริหารจัดการครบมิติ มีภาพความเข้าใจในการทำงานสามารถที่จะช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้นปฏิบัติงานได้ง่ายขึ้น
สร้างความร่วมมือและการมีส่วนร่วมหน่วยงานต้นสังกัดระดับส่วนกลาง/พื้นที่
วิธีสร้างความร่วมมือ : ทำความเข้าใจร่วมกับเขตพื้นที่เป้าหมาย เชิญร่วมเรียนรู้เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เป้าหมายโรงเรียน : โรงเรียนมีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) มีกระบวนการ PLC ภายในโรงเรียน ผู้อำนวยการมีความใส่ใจและจริงจังกับการเปลี่ยนแปลง
การจัดการเรียนการสอน (Classroom) ทุกโรงเรียนมีการนำกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning นำกระบวนการคิด STEAM Design Process สนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่าย (Network) มีระบบเกี่ยวกับระบบติดตามดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
เป้าหมายนักเรียน : มีพัฒนาการการเรียนรู้ ทักษะและสมรรถนะในศตวรรษที่ 21 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน พัฒนาที่นักเรียนควรจะเป็น
เป้าหมายครู: จัด Active Learning ในชั้นเรียนออกแบบแผนกระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล พัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
เป้าหมายผู้อำนวยการ : มีบทบาท เกิดเข้าใจและสามารถดำเนินการ มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการให้เกิด 5 สิ่ง Goal Info Classroom PLC Network
กรอบแนวคิดโครงการในการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมาย 2564
การบริหารโรงเรียน การสอน และกระบวนการคิด STEAM Design Process เป็นกรอบแนวคิดภาพรวม เหมือนการดำเนินโครงการร่วมกับทุกโรงเรียนในปีก่อนหน้า สำหรับโครงการในปี 2564 ได้เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในโครงการเล็งเห็นถึงความสำคัญการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียนในประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่
1) การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ
2) การลดความถดถอยในการเรียนรู้ของผู้เรียน
3) การพัฒนาสุขภาวะกายและจิตของผู้เรียน โดยทางมูลนิธิจะได้ดำเนินการจัดทำเครื่องมือ เพื่อวัดขนาดอิทธิพล (Effect Size) ของโครงการให้กับโรงเรียนเพื่อทำการประเมินผลการจัดทำโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินงานของ Starfish
1) เก็บข้อมูล
2) ออกแบบโครงการ
3) กิจกรรม : TSQP Kick off, Leadership workshop, Teacher workshop, PLC Leader PLC ,Teacher Coaching , PLC Happy Hour Life, School Transformation Celebration
4) การดำเนินงาน : หาโค้ชภายนอกหาผู้เชี่ยวชาญ ประสานต้นสังกัดสนับสนุนระบบติดตามช่วยเหลือเด็กใช้ DE
5) รวบรวม สรุป นำเสนอ : ทำเครื่องมือวัด Effect size ถอดบทเรียน VDO, บทความ, รูปภาพ, กรณีศึกษาติดตามประเมินความก้าวหน้า ทำแผนพัฒนาร่วมกับต้นสังกัด
ประเด็นกำชับ
ในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ การทำงานร่วมกันระหว่าง โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และมูลนิธิฯ มีความสำคัญ จึงควรพูดคุย เสนอแนะ และติดตามสถานการณ์ของโรงเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อร่วมกันในการลดการถดถอยของเด็ก และร่วมผ่านสถานการณ์ความลำบากในการจัดการศึกษาในช่วงเวลานี้ไปด้วยกัน
Related Courses
พื้นที่แบบไหนก็จัด Makerspace ได้
พื้นที่นักสร้างสรรค์ Makerspace เป็นการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับนักสร้างสรรค์ สามารถจัดได้หลายรูปแบบตามบริบทของพื้นที่นั้นๆ เพื่อใ ...
บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เน้นให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน แก้ปัญห ...
การออกแบบกล่องเพื่อการเรียนรู้ (Learning Box)
เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติ และเด็กจำเป็นต้องเรียนที่บ้าน Learning box ...
การพัฒนาทักษะการเขียน
ในคอร์สนี้จะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนเขียนสำหรับผู้เรียนประถมศึกษา ระดับชั้น ป.1- ป.6 โดยได้ยกตัวอย่างปัญหาการเขียนข ...