ทำความรู้จักกับวัคซีน HPV
วัคซีน HPV หรือวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก บางคนก็พอจะรู้จักและคุ้นเคยกับชื่อนี้ หรือบางคนก็เพิ่งจะเคยได้ยิน คุณพ่อคุณแม่อาจจะมีความสงสัยกันว่า แล้วเราจะต้องฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้ไหม แล้วถ้าไม่ฉีดจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จักเจ้าวัคซีน HPV ตัวนี้พร้อมๆ กันเลยค่ะ
ถ้าพูดถึงมะเร็งปากมดลูก บอกเลยว่าเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านมในสตรีเลยก็ว่าได้ อีกทั้งเจ้ามะเร็งตัวร้ายนี้ยังคร่าชีวิตหญิงไทยอย่างเราๆ เป็นอันดับสองอีกด้วย
ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิงสูงวัยประมาณ 30-55 ปี และมักจะไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะพัฒนาไปถึงขั้นร้ายแรง อาจมีภาวะน้ำหนักตัวลด อ่อนเพลีย ปวดเชิงกรานและหลัง ขาบวม ตลอดจนท้องผูกและปัสสาวะเป็นเลือดได้ อีกทั้งอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปวดหลัง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามมะเร็งปากมดลูกก็ยังเป็นโรคที่ป้องกันได้ เพียงแค่เข้ารับการตรวจ และฉีดวัคซีน จากทางโรงพยาบาลนั้นเองค่ะ
เชื้อไวรัส HPV คืออะไร ?
เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกนั้นเอง ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่จะเป็นได้นะคะ ผู้ชายก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน
โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่มีความเสี่ยงต่ำ คือ สายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศและหูดที่กล่องเสียงในเด็กได้
2.สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง คือ สายพันธุ์ 16,18,31,33 และ 45 โดยสายพันธ์ุ 16,18 เป็นสาเหตุหลักของรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูกในสตรีถึง 70% นั้นเอง
การฉีดวัคซีนควรฉีดตอนไหนถึงจะถูกต้อง ?
เนื่องจากการฉีดวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูง หากฉีดในวัยที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน และร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี คุณหมอมักจะแนะนำในเพศหญิงอายุ 9-45 ปี โดยเน้นให้ฉีดช่วงอายุ 11-15 ปี เนื่องจากมีระดับภูมิคุ้มกันสูงกว่า 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการฉีดในช่วงอายุ 16-26 ปี นั้นเอง ส่วนผู้ชายควรฉีดในช่วงอายุ 9-26 ปี นั้นเอง
นอกจากนี้การฉีดวัคฉีน HPV นี้ต้องฉีดให้ครบถ้วนทั้งหมด 3 ครั้งเลยนะคะ ในเด็กผู้หญิงหากฉีดเข็มแรกก่อนอายุ 15 ปี สามารถฉีดวัคซีนเพียง 2 ครั้ง ห่างกัน 6-12 เดือน โดย
ครั้งที่ 1 ฉีดในวันที่กำหนดเลือก
ครั้งที่ 2 ฉีดหลังจากเข็มแรก 1-2 เดือน
ครั้งที่ 3 ฉีดหลังจากเข็มที่แรก 6 เดือน
ในกรณีลืมมารับวัคซีนตามนัด สามารถฉีดเข็มถัดไปโดยไม่ต้องเริ่มใหม่ทั้งหมด แล้วแต่ชนิดสายพันธุ์ที่ลืม
กรณีชนิด 4 สายพันธุ์
-หากลืมเข็มที่ 2 : ฉีดได้ไม่เกินเดือนที่ 8 จากเข็มแรก เพื่อให้ครบสามเข็มในเวลา 1 ปี
-หากลืมเข็มที่ 3 : ฉีดได้ไม่เกินเดือนที่ 12 จากเข็มแรกเพื่อให้ครบสามเข็มในเวลา 1 ปี (แต่ต้องห่างจากเข็มมี่ 2 เป็นเวลา 4 เดือน)
กรณีชนิด 2 สายพันธุ์
-หากลืมเข็มที่ 2 : ฉีดได้ไม่เกินเดือนที่ 7 จากเข็มแรกเพื่อให้ครบสามเข็มในเวลา 1 ปี
-หากลืมเข็มที่ 3 : ฉีดไได้ไม่เกินเดือนที่ 12 จากเข็มแรกเพื่อให้ครบสามเข็มในเวลา 1 ปี (แต่ต้องห่างจากเข็มที่ 2 เป็นเวลา 5 เดือน)
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนเป็นอย่างไร ?
บอกเลยว่าผลข้างเคียงในการฉีดนั้นมีน้อยมาก อาจจะมีแค่อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีด เป็นไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น หรือบางรายอาจจะมีอาการหน้ามืด เป็นลดหลังการฉีดได้ เพื่อลดความเสี่ยงอาจจะต้องมีการนั่งพักประมาณ 15 นาทีหลังจากการรับวัคซีนเสร็จสิ้น
พอจะทำความเข้าใจกันมาบ้างแล้วนะคะสำหรับวัคซีน HPV นี้ ถือแม้ใครที่ได้รับวัคซีนป้องกันแล้วก็ตาม ยังไงก็ควรตรวจกรองมะเร็งปากมดลูกกันเป็นประจำนะคะ เพราะมันอาจจะเกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์อื่นๆ ที่ไม่ได้รับการฉีดในวัคซีนนั้นได้ค่ะ ฉีดไว้ก่อน รักตัวเองกันให้มากก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ โดยเฉพาะสาวๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก :
Related Courses
แนะนำหลักสูตร well being
คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...
การพัฒนาสุขภาวะกาย
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ
ออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพ
การเรียนรู้เรื่องการออกกำลังกายอย่างไรดีต่อสุขภาพจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ เริ่มต้นออกกำลังอย่างไรให้ถูกต้อง ประเภทการออกกำลังกา ...
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...