หากคนในครอบครัวติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร
ช่วงนี้เชื่อเลยว่าอะไรก็สู้โรคโควิด-19 ไม่ได้เลย ยิ่งช่วงนี้จำนวนผู้ป่วยก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทำให้ก็อดคิดไม่ได้เลยว่า หากคนในครอบครัวเราติดขึ้นมาจะต้องทำยังไงบ้าง วันนี้เราจะพาผู้อ่านไปดูว่าจะต้องทำยังไงกันบ้าง และจะมีวิธีการจัดการอย่างไรหากคนในครอบครัวเกิดติดขึ้นมาบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
หากคนในครอบครัวมีเกณฑ์ดังนี้ ก็จะสามารถตรวจโควิด-19 ฟรีได้!
1. เพิ่งกลับมาจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
2. มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
3. มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
4. ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบ
5. มีประวัติใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
6. ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
หากต้องการที่จะไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่โรงพยาบาล จะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
1. ขับรถส่วนตัว ขึ้นรถแท็กซี่ หรือเรียกรถพยาบาลมารับ แล้วแจ้งให้คนขับรถทราบด้วย ไม่ควรที่จะเดินทางด้วยรถหรือขนส่งสาธารณะนั้นเอง
2. สวมหน้ากากอนามัย และพกเจลล้างมือก่อนออกจากบ้านด้วยเสมอ
3. เมื่อแพทย์สอบถามประวัติต่างๆ ควรตอบให้ตรงตามความจริง ห้ามโกหกเด็ดขาด ว่าไปไหนมาบ้าง ทำอะไรมาบ้าง และเป็นเวลากี่วัน รวมไปถึงอาการต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อการวิเคราะห์และวินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา และแม่นยำที่สุดค่ะ
ขั้นตอนการตรวจร่างกายที่ต้องเจอ
1. ทางโรงพยาบาลจะเตรียมความพร้อมในเรื่องของพื้นที่รองรับผู้ป่วยที่มาตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ รวมถึงห้องแยกโรค และห้องอื่นๆ
2. ทีมบุคลากรทางการแพทย์จะซ้อมขั้นตอนการรับ ตรวจ และส่งต่อผู้ป่วยเตรียมเอาไว้ ทั้งในกรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่ติดเชื้อ ติดเชื้อแล้วรักษาต่อ หรือติดเชื้อแล้วต้องส่งต่อไปรักษาที๋โรงพยาบาลอื่นหากโรงพยาบาลเดิมไม่พร้อม
3. ทางโรงพยาบาลจัดตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อดูแล และคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะ พร้อมการสวมอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อต่างๆ เช่น หน้ากาก N95 ขึ้นไป และชุดป้องกันตนเอง PPE เป็นต้น
4. เมื่อเข้าพบแพทย์แล้ว แพทย์จะซักถามอาการ และประวัติการเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงประเทศเสี่ยงระบาดของเชื้อไวรัส ขอให้ผู้ป่วยตอบตามความเป็นจริง ไม่ปิดบังหรือบิดเบือนข้อมูลใดๆ เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อการวินิจฉัย และรักษา
5. หากผู้ป่วยไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศ หรือไม่มีผู้ใกล้ชิดเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อใดๆ อาจสอบถามถึงประวัติการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลก่อนหน้านี้ 14 วัน
6. หากแพทย์ประเมินอาการแล้วดูว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ แพทย์จะทำการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อด้วยการใช้ก้านยาวๆ พันสำลี สอดเข้าไปในจมูก หรือ/และ ป้ายลึกเข้าไปข้างในปากตรงต่อมทอนซิล และคอด้านหลัง
7. แพทย์จะนำก้านนี้ไปตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในห้องปฏิบัติการ หรือห้องแล็ป โดยใช้เวลากว่าจะรู้ผล 8-12 ชั่วโมง
8. ผู้ป่วยอาจโดนแยกไปพักเดี่ยวในห้องแยกโรค หรือห้องความดันลบในโรงพยาบาล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสสู่ผู้อื่นในระหว่างรอผลตรวจ
หากผลตรวจออกมาเป็น negative หรือผลลบ แสดงว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถเข้ารับการรักษาโรคหวัดธรรมดา และรับยาตามอาการไข้หวัดที่เป็นได้เลย แต่แพทย์จะสั่งให้กักตัวอยู่แต่ในบ้านให้ครบ 14 วันเหมือนเดิม (นับจากวันแรกที่ออกมาจากพื้นที่เสี่ยง) และใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ถ้าอาการปกติให้ออกจากบ้านได้ ถ้าอาการแย่ลงให้กลับมาที่โรงพยาบาลอีกครั้ง แต่หากผลตรวจออกมาเป็น positive หรือผลบวก ทีมแพทย์อาจทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อความแน่ใจ หากผลการตรวจยืนยันตามเดิม ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลต่อไป
ขั้นตอนการรักษา หากเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19
1. แพทย์จะส่งคุณไปพักรักษาที่ห้องแยกโรคเดี่ยว หรือห้องที่มีเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อโควิด-19 เท่านั้น และจะจัดบุคลากรทางการแพทย์มาดูแลโดยเฉพาะ
2. แพทย์จะประเมินอาการของผู้ป่วยไปทีละอย่าง และรักษาตามอาการไป
3. การให้ยาต้านไวรัส จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเลือกใช้ปริมาณเท่าใดถึงจะเหมาะสมกับผู้ป่วยรายนั้นๆ
4.หากมีอาการหนักขึ้น จะถูกย้ายไปที่ห้องแยกผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ (AIIR) เฝ้าระวัง และติดตาม รักษาไปตามอาการที่ผู้ป่วยเป็น
5. ตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้งหลังเข้ารับการรักษาแล้วมีอาการดีขึ้น หากผลตรวจออกมาเป็นลบ (ไม่พบเชื้อไวรัสโควิด-19) และตรวจเพื่อยืนยันผลเป็นครั้งที่ 2 (ระยะห่างจากการตรวจแต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง) ก็สามารถออกจากโรงพยาบาลได้
แต่ถึงแม้จะเข้าการรักษาที่โรงพบาลจนหายแล้ว แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังตัวเองด้วยการสวมหน้ากาก และใช้เจลล้างมืออย่างสม่ำเสมอ เช่นเดิมนะคะ และต้องงดเดินทาง รวมถึงการใกล้ชิดกับผู้ที่เสี่ยงในการติดเชื้อนี้ด้วยเช่นกัน หากมีอาการอีกครั้งก็ควรที่จะรีบไปพบแพทย์ในทันที เพื่อตรวจเช็กว่าติดอีกหรือไม่นั้นเอง
Related Courses
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...
เมนูถนอมอาหารสำหรับสถานการณ์ COVID-19
การงดการเดินทางที่ไม่จำเป็นอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยควบคุมสถานการณ์ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ต้องรับประทานอาหารบาง ...
ผลกระทบโควิด-19 กับภาวะว่างงานของคนทั่วโลก
เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา สู่ผลกระทบที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก และวิธีการรับมือพร้อมแนวทางการปรับตัวกับ ...
ปลูกผักไร้ดิน กินเองที่บ้าน (การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์)
ในปัจจุบันทุกคนต้องกักตัวที่บ้านเนื่อง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนอาหาร การปลูกผักแบบไร้ดินจึงเป็น ...