6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้

Starfish Academy
Starfish Academy 28572 views • 3 ปีที่แล้ว
6 ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะที่คุณครูต้องรู้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะ (competency-based curriculum) หรือ การเรียนการสอนฐานหลักสูตรฐานสมรรถนะ (competence-based education) กำลังเป็นโมเดลการเรียนการสอนที่มีอิทธิพล และบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในวงการการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 หลากหลายโรงเรียน และสถาบันการศึกษาต่างมุ่งมั่น และคาดหวังที่จะปฏิรูป และพัฒนาหลักสูตร ตลอดจนบุคลากรของตัวเองให้ดำเนินการสอนอยู่บนฐานของสมรรถนะผู้เรียนการมากขึ้น การเข้าใจแก่นหรือหัวใจหลักของหลักสูตรฐานสมรรถนะอย่างถ่องแท้และครอบคลุมจึงเป็นก้าวที่สำคัญของคุณครูผู้สอนแห่งศตวรรษที่ 21 ทุกคน โดยจะมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับหลักสูตรฐานสมรรถนะใดบ้างที่คุณครูควรรู้และระแวดระวัง วันนี้ Starfish Labz สรุปมาให้แล้ว

ความเข้าใจผิดที่ 1: “ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผู้เรียนเรียนรู้และกำหนดเวลาการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-paced)

ด้วยลักษณะหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และจัดการเรียนการสอนตามความถนัด หรือตามความชอบของผู้เรียน (Personalized Learning) หลักสูตรฐานสมรรถนะจึงมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ ว่าเป็นรูปแบบการเรียนในลักษณะตามอัธยาศัย ผู้เรียนกำหนดลักษณะการเรียน และเวลาในการเรียนรู้ด้วยตนเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะจะมอบอิสระและความยืดหยุ่นในผู้เรียนมากกว่า แต่ก็มิได้ปล่อยปละละเลย หรือให้ผู้เรียนกำหนดทุกอย่าง หรือแม้กระทั่งเวลาเอง หากแต่จะคอยกำหนดกรอบระยะเวลาการเรียนรู้ที่ชัดเจนให้แก่ผู้เรียนอย่างยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับลักษณะ และระดับความถนัดที่เขากำลังศึกษา

ความเข้าใจผิดที่ 2: “ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ เนื้อหา (Content) ไม่สำคัญ”

ถึงแม้ว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะ จะมักถูกนิยามว่ามุ่งเน้นพัฒนาความถนัดหรือทักษะประยุกต์ใช้ (Skills) มากกว่าการท่องจำเนื้อหาการเรียนในแบบเดิม ๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าในการเรียนการสอนฐานสมรรถนะ เนื้อหา (Content) จะไม่สำคัญ กลับกัน เนื้อหาในการเรียนการสอนฐานสมรรถนะยังคงสำคัญ หากแต่เพียงเป็นเนื้อหาในขอบเขต และแขนงที่ลึกและชัดเจนมากกว่าเดิม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนค้นคว้าและศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจอย่างลึกซึ้ง มิใช่การพยายามจดจำและเก็บเอา “ทุก” เนื้อหาอย่างในรูปแบบหลักสูตรอย่างเดิม ๆ 

ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ สิ่งที่สำคัญน้อยกว่าทักษะจึงมิใช่เนื้อหาเสียทีเดียว หากแต่เป็นลักษณะการเรียนที่บังคับให้เด็กต้องเรียนทุกเนื้อหาโดยที่ไม่จำเป็น หรือโดยที่ไม่ได้สอดคล้องกับความถนัด หรือความชอบของเขาอย่างแท้จริง

ความเข้าใจผิดที่ 3: “ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ การเรียนการสอนเข้มข้นน้อยกว่ารูปแบบดั้งเดิม

ด้วยลักษณะการเรียนการสอนที่ละจากการพยายามจดจำเนื้อหา ในขอบเขตที่กว้างและมากของหลักสูตรฐานสมรรถนะ หลายคนจึงมักคิดว่าการเรียนการสอนฐาน สมรรถนะเป็นการเรียนการสอนที่เข้มข้นน้อยกว่าแบบดั้งเดิม แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจกล่าวได้ว่า หลักสูตรฐานสมรรถนะมีความเข้มข้นในแง่ของระดับการทำความเข้าใจและเรียนรู้มากกว่าในรูปแบบดั้งเดิมเสียด้วยซ้ำ เพราะถือเป็นการเรียนการสอนที่เน้นพัฒนาความเข้าใจเชิงลึกเป็นหลัก เพียงแค่มิใช่การเข้าใจ “ทุก” เนื้อหาหรือความถนัด หากแต่เป็นเพียงเฉพาะความถนัดที่สอดคล้องกับความชื่นชอบของผู้เรียน

ความเข้าใจผิดที่ 4: “หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีลักษณะจำกัดและขอบเขตแคบ” 

สำหรับใครหลายคน หลักสูตรฐานสมรรถนะอาจดูเป็นการเรียนการสอนที่มีลักษณะจำกัดและขอบเขตแคบ ผู้เรียนศึกษาและสนใจเพียงแค่แขนงใดแขนงเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ต้องอย่าลืมว่าแก่น หรือหัวใจหลักของผลลัพธ์ของหลักสูตรฐานสมรรถนะมิใช่การเก็บเกี่ยวเพียงแต่ “ความรู้” (knowledge) หากแต่เป็นการบ่มเพาะ และพัฒนา “ทักษะในการประยุกต์“ ใช้ความถนัดดังกล่าวทั้งในชีวิตประจำวัน, การศึกษาต่อและการทำงานในอนาคต ซึ่งสามารถแตะถึงแขนงอื่น ๆ อย่างครอบคลุมในสถานการณ์จริง และในการเรียนการสอน หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทำกิจกรรมและโปรเจคได้อย่างสร้างสรรค์  และเป็นอิสระกว่าในรูปแบบเดิมอย่างมาก

ความเข้าใจผิดที่ 5: “หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะ”

หลักสูตรฐานสมรรถนะเน้นการพัฒนา “ทักษะ” แต่อย่างที่กล่าวในข้อที่ 5 ว่า หัวใจหลักของหลักสูตรมิใช่แค่เพียงทักษะ หากแต่คือ การประยุกต์ใช้ทักษะดังกล่าวในสถานการณ์จริงหรือชีวิตประจำวัน เป้าหมายของครูผู้สอนมิใช่แค่การยัดทักษะใส่มือของผู้เรียน หากแต่เป็นการสอนให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะดังกล่าวมาต่อยอด พัฒนาต่อ หรือดัดแปลงให้กลายเป็นสิ่งใหม่อย่างที่เขาเห็นว่าสมควร 

ความเข้าใจผิดที่ 6: “การเรียนการสอนแบบสมรรถนะยากเกินกว่าที่จะนำมาใช้กับผู้เรียนในวัยเด็ก เช่น ประถมศึกษาหรือแม้กระทั่งมัธยมต้น

ถึงแม้ว่ามาตรฐานสมรรถนะจะมีลักษณะการเรียนการสอนเชิงลึก มุ่งเน้นพัฒนาชุดความรู้ และทักษะในแขนงใดแขนงหนึ่งอย่างเข้มข้น อันเป็นผลพวงมาจากรากฐานของระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสถาบัน หรือครูผู้สอนจะไม่สามารถนำมาปรับใช้กับเด็กเล็ก หรือในระดับที่ต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาได้ หัวใจสำคัญของการปฏิวัติอยู่ที่การออกแบบหลักสูตรที่มอบเวลาการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างเหมาะสม อย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างค่อย ๆ เพิ่มระดับความยากเมื่อเปลี่ยนระดับชั้น นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญในการเรียนรู้ยังรวมถึงการที่ครูผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตัวเด็ก เชื่อว่าเด็กจะสามารถเรียนรู้ได้หากหัวใจของเขาปรารถนา ชื่นชอบ และมีความพยายามมากพอ

เกี่ยวกับ Starfish Labz

Starfish Labz คือ แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์แห่งแรกของประเทศไทย คอร์สออนไลน์สำหรับนักการศึกษาและผู้ปกครอง รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สามารถเข้ามาเสาะหาความรู้และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ จากคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ และวีดิโอที่ถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์จากทั่วประเทศ รวมถึงบทความที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการศึกษาแนวใหม่ รวมถึงการพัฒนาการเด็กจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครอง และสถาบันต่าง ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ เปิดให้เข้าถึงฟรีโดยปราศจากค่าใช้จ่าย ทุกที่ทุกเวลา และบนทุกแพล็ตฟอร์ม

ที่มา

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

เรียนรู้ไอเดียการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย ฉบับโรงเรียนบ้านปลาดาว ทำความเข้าใจลักษณะห้ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว
Starfish Academy

ห้องเรียนสมรรถนะวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านปลาดาว

Starfish Academy
การเรียนแบบบูรณาการ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

หลักสูตรฐานสมรรถนะ เป็นหลักสูตรที่เน้นการวัดผลแบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหาเพียงเพื่อนำมาสอบ หลักสูตรฐานสมรรถนะยังเป็ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)
Starfish Academy

ก้าวสู่หลักสูตรฐานสมรรถนะ (CBE)

Starfish Academy
1340 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1010 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
3:30 ชั่วโมง

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...

นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
นจรส  ศิริขรรแสง (ครูเจ)

นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!

นจรส ศิริขรรแสง (ครูเจ)

ต้องใช้ 100 เหรียญ

Related Videos

Starfish Country Home School Foundation
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation

Starfish Academy
220 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา
06:20
Starfish Academy

ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา

Starfish Academy
775 views • 2 ปีที่แล้ว
ฝ่าประเด็นท้าทายผู้อำนวยการผู้สร้างโอกาสทางการศึกษา
Makerspace Day #2
04:27
Starfish Academy

Makerspace Day #2

Starfish Academy
278 views • 2 ปีที่แล้ว
Makerspace Day #2
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม
05:59
Starfish Academy

TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม

Starfish Academy
338 views • 2 ปีที่แล้ว
TQSP Kicf Off แนวทางการพัฒนานวัตกรรม