เขียนใบสมัครงานแบบนี้สิ ได้งานแน่ๆ
เมื่อถึงช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากวัยเรียนสู่วัยทำงาน แน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่หลายคนต่างต้องปรับตัว เตรียมพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น การหางานทำ การได้งานทำ ได้เงินเดือนก้อนแรกจากน้ำพักน้ำแรงของตัวเองเป็นสิ่งที่จะสร้างช่วงเวลาอันน่าจดจำ ด้วยการที่เราได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวที่สามารถหาเลี้ยงชีพตัวเองได้อย่างน่าภูมิใจ
แต่การที่จะได้งานทำในบริษัทดีๆ ได้ทำงานในตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ อย่างที่คาดหวังไว้ เป็นธรรมดาที่อาจต้องมีการแข่งขันกับคนอื่นๆ ในหลายๆ ด้าน และซึ่งสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ในอันดับแรกเลยคือ การสร้างตัวตนให้ดูน่าสนใจในขั้นตอนของการสมัครงาน วันนี้เรามาดูวิธีการเขียนจดหมายสมัครงานแบบมืออาชีพ ที่จะช่วยสร้างจุดเด่น เข้นจุดสนใจของตัวเราเองออกมาเพื่อให้เป็นที่น่าจับตาต้องใจของนายจ้างกันค่ะ
ในปัจจุบันแม้ว่าบริษัทต่างๆ จะให้ความสำคัญกับเรซูเม่ มากกว่าจดหมายสมัครงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้สมัครหลายคนคิดไปว่าจดหมายสมัครงาน อาจไม่ใช่สิ่งจำเป็น จึงไม่ได้แนบไปกับเรซูเม่ แต่ความจริงแล้ว มีอีกหลายบริษัทที่ใช้จดหมายสมัครงานเป็นตัวคัดกรองผู้สมัครงาน เพื่อเฟ้นหาบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่งที่เปิดรับ
อันดับแรก ก่อนการเขียนจดหมายสมัครงาน เราต้องรู้วิธีในการเขียน เพื่อทำให้จดหมายสมัคงานของเรา มีความโดดเด่น และเป็นที่จดจำ และติดตาม จดหมายสมัครงานที่ดี คือ จดหมายที่สามารถอธิบายประสบการณ์ของผู้สมัครงานได้อย่างชัดเจน และรัดกุม ในบริบทของบทบาทหน้าที่ ที่ผู้จ้างงานต้องการ เพราะจะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้จ้างงาน และกระตุ้นทำให้เกิดการเรียนรู้ในตัวผู้สมัครเพิ่มเติม ซึ่งต่อไปนี้คือ เคล็ดลับสำคัญบางประการในการเขียนจดหมายสมัครงาน เพื่อให้แน่ใจว่าการสมัครงานของคุณจะสร้างผลกระทบในเชิงบวกให้แก่ตัวเอง
1. เริ่มต้นด้วยการศึกษาข้อมูล
ก่อนที่จะเริ่มต้นสมัครงานกับที่ไหนสักแห่ง สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับกับหน่วยงานที่เปิดรับสมัครงานนั้นๆ ตลอดจนบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในตำแหน่งงานที่เราจะทำการสมัคร เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราได้อ่านเกี่ยวกับองค์กร และบริบทในใบสมัครเล็กน้อย ซึ่งจะแสดงถึงการมีมีความสนใจ ใส่ใจ และมีแรงจูงใจในการสมัครงาน
2. รวบรัดประวัติย่อให้น่าสนใจ
การรู้จักปรับแต่งประวัติย่อส่วนตัวในจดหมายสมัครงาน ให้ดูน่าสนใจด้วยการบรรยายนำเสนอตัวเอง ถึงความเหมาะสมกับตำแหน่งงาน อย่างรอบคอบตรงไปตรงมา จะช่วยเน้นย้ำตัวตน และสร้างภาพในจินตนาการของการร่วมงาน แก่ผู้อ่าน ซึ่งในที่นี้คือผู้จ้างงาน เอกสารการสมัครงานส่วนใหญ่ ไม่สามารถสร้างความประทับใจได้ในแรกเห็น ทางที่ดีควรเริ่มต้นจดหมายของเราด้วยประวัติส่วนตัว ที่เน้นย้ำถึงทักษะด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับตำแหน่งงานที่เรากำลังมองหา ควรมีการยกตัวอย่างที่แสดงถึงจุดแข็ง ทักษะ และความสำเร็จของเราอย่างชัดเจน ภายในบริบทของตำแหน่งงาน หากนำเสนอประสบการณ์ของเราให้ดูน่าประทับใจ และมีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานได้อย่างชัดเจน นายจ้างจะเริ่มจินตนาการถึงตัวเราหากในการได้รับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบนั้น
3. เขียนให้กระชับแต่ได้ใจความ
การนำเสนอจดหมายสมัครงานในลักษณะที่ชัดเจน แต่กระชับถือเป็นสิ่งสำคัญ จดหมายสมัครงานนั้นไม่ควรยาวหรือสั้นจนเกินไป เพียง 3 – 5 ย่อหน้า ถือว่าเหมาะสม ควรเน้นที่ จุดเด่น และทักษะเฉพาะที่เรามี ซึ่งเป็นที่ต้องการสำหรับตำแหน่งงานนั้น เราอาจมีสิ่งที่อยากนำเสนอเกี่ยวกับตัวเองมากมาย แต่ถ้าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานมากที่สุดของเราหายไป ที่ระบุถึงเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องการที่จะทำงานในตำแหน่งนี้ หรือกล่าวถึงผลงานชิ้นโบว์แดงที่เคยทำ อาจทำให้เกิดการเสียเปรียบ ในขั้นตอนนี้นายจ้างมักมีเวลาจำกัดในการกลั่นกรองใบสมัครจำนวนมาก ดังนั้นการเขียนบรรยายที่ชัดเจน รัดกุม และเฉพาะเจาะจง จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำให้ประสบการณ์ และความสามารถของเราเข้าใจได้ง่ายขึ้น
4. การบอกเล่าเรื่องราว
ในส่วนนี้ คือทั้งหมดที่เกี่ยวกับการทำให้ตัวเองเป็นที่รู้จัก สรุปให้เห็นภาพว่าทำไมเราถึงต้องการงานนี้? ให้อธิบายว่า เหตุใดประสบการณ์ของเราจึงเหมาะสมกับตำแหน่งงาน คนจ้างงานย่อมไม่ทราบภูมิหลัง ความเป็นมาของเรา ดังนั้นควรสร้างการรับรู้ที่ดีแก่พวกเขา ว่าเรามาจากไหน ซึ่งจะให้ภาพที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการทำงาน และยังแสดงให้เห็นว่าเราได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับบริษัท ตลอดจน บทบาทหน้าที่ในตำแหน่งงานที่เปิดรับเป็นอย่างดีแล้ว การบอกเล่าเรื่องราวของเราจึงเป็นกุญแจสำคัญ แต่ควรทำอย่างรวบรัด จากนั้นจึงเสริมเพิ่มเติมด้วยข้อเท็จจริงเมื่อเราพูดถึงความสามารถส่วนตัว
5. ระบุประสบการณ์และความสามารถให้ชัดเจน
หนึ่งในหัวใจสำคัญ ของการเขียนจดหมายสมัครงาน คือการชี้แจงประสบการณ์และความสามารถของเรา การนำเสนอความรู้ และประสบการณ์ของผู้สมัครให้เข้ากับลักษณะของงานให้ได้มากที่สุด จะช่วยกระตุ้นให้ผู้จ้างงานอยากจะรู้จักเรามากขึ้น ควรกล่าวถึงความสามารถในการทำงานตามที่นายจ้างกำหนดไว้โดยตรงในส่วนข้อมูลจำเพาะของบุคคล เขียนแสดงเป็นลิสต์ความสามารถเฉพาะตัว และความสามารถที่นายจ้างกำลังมองหาที่เหมาะสมต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ระบุถึงประสบการณ์อย่างเปิดเผย ภายในบริบทของคุณสมบัติเฉพาะบุคคลที่ผู้จ้างงานต้องการ สิ่งนี้จะทำให้ผู้จ้างไม่ต้องมานั่งสงสัยเคลือบแคลงในความสามารถเฉพาะตัวผลงาน และประสบการณ์ต่าง ๆ ของเรา ซึ่งถือเป็นประเด็นสำคัญที่สุดประการหนึ่ง ในการเลือกผู้สมัครให้เข้าทำงาน
6. ให้คำมั่นสัญญา
ในตอนท้ายของจดหมาย ควรปิดท้ายด้วยการแสดงความคิดเห็น หรือวิสัยทัศน์ว่า เราจะนำอะไรมาสู่บทบาทหน้าที่และองค์กร หากได้รับเลือกให้เข้าทำงาน นี่เป็นโอกาสของคุณที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ และความเข้าใจในงานของเราเข้ากับวิสัยทัศน์สำหรับตำแหน่งงานนี้ ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ยาวเหยียด แค่แสดงให้ผู้จ้างงานเห็นว่าคุณคิดไปข้างหน้า มีแรงผลักดัน และกำลังนึกภาพตัวเองอยู่ในตำแหน่งนั้นอยู่แล้ว จากนั้นพวกเขาอาจลงมือทำให้ภาพนั้นของเราเป็นจริง
7. อ่านซ้ำและแก้ไข
ก่อนที่จะส่งจดหมายสมัครงาน หรือใบสมัครงานใดๆ ออกไป ควรตรวจทานความถูกต้องดูใหม่ในภายหลังอย่างละเอียดรอบคอบ การนำเสนอจดหมายสมัครงานมีความสำคัญมาก นายจ้างบางคนอาจปิดโอกาสของเราอย่างรวดเร็วหากเห็นว่าการนำเสนอตัวเองในการสมัครของเราทำได้ได้ไม่ดี นอกจากนี้ควรตรวจสอบข้อผิดพลาดในการสะกดคำ ความถูกต้องของข้อมูลในการติดต่อทั้งหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และอีเมล สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคนโชคดีกับการหางานค่ะ
ที่มา :
https://knowhow.ncvo.org.uk/how-to/how-to-write-a-compelling-job-application
Related Courses
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ
ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ
ก้าวแรกก่อนเป็นผู้ประกอบการ สร้างอาชีพเสริมจากสิ่งจากที่ชอบ วิธีการสร้าง concept ของแบรนด์ให้น่าสนใจ รวมไปถึงช่องทาง ...
เจาะลึกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เด็กรุ่นใหม่ต้องมีการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป และต้องมีทักษะอะไรบ้างเพื่อรองรับกับอ ...
ฝึกทักษะพื้นฐานในการตัดสินใจ (Decision Making)
การตัดสินใจที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น ถ้าหากได้รับการฝึกฝนทักษะการตัดสินใจตั้งแต่วัยรุ่น ก็จะเพิ่มโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิ ...