วิชาพละสไตล์เด็กบ้านเรียน
เมื่อพูดถึงการเรียนของลูก หลายๆ ครอบครัวมักนึกถึงการเรียนรู้เชิงวิชาการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แต่วิชาหนึ่งที่มักไม่ค่อยมีใครพูดถึง หรืออาจถูกมองว่า สำคัญน้อยกว่าวิชาอื่นๆ นั่นก็คือ พลศึกษา สำหรับครอบครัวที่จดทะเบียนบ้านเรียนกับเขตพื้นที่การศึกษา ที่ต้องใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ วิชาพละ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เป็นกลุ่มสาระหนึ่งที่เด็กๆ ต้องได้รับการเรียนการสอน
หลักสูตรแกนกลางฯ ระบุเกี่ยวกับการเรียนรู้วิชาพละสำหรับชั้นประถมและมัธยมไว้ว่า “มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้กิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลัง การเล่นเกมและกีฬา เป็นเครื่องมือการพัฒนาโดยรวมทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา” ซึ่งหากเรียนรู้ในโรงเรียน เด็กๆ ก็อาจได้เล่นกีฬามีการแข่งขันแบ่งทีมกับเพื่อนๆ แต่เมื่ออยู่ในระบบโฮมสคูลแล้ว พ่อแม่ในฐานะผู้จัดการศึกษาจะส่งเสริมให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลัง ได้อย่างไร ลองมาหาคำตอบกัน
ตั้งเป้าหมายเรียนรู้เรื่องสุขภาพ
เด็กโฮมสคูล ค่อนข้างมีอิสระที่จะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ที่ตนเองสนใจภายใต้วิชาต่างๆ ซึ่งวิชาพละก็เช่นเดียวกัน แต่หากยึดตามหลักสูตรแกนกลางฯ พ่อแม่ผู้ปกครอง อาจต้องศึกษาเกณฑ์วัดคุณภาพผู้เรียนที่คาดหวังตามแต่ละปีการศึกษา เพื่อนำมาประกอบการเรียนการสอนด้วย อย่างไรก็ตาม พื้นฐานสำคัญที่พ่อแม่ควรกำหนดเป็นเป้าหมายการศึกษาวิชาพละและสุขศึกษา ได้แก่
- การออกกำลังกายรูปแบบต่างๆ
- พื้นฐานการเล่นกีฬาที่สนใจ
- การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
- สัญญาณอันตรายจากร่างกายที่ควรไปพบแพทย์
- โภชนาการอาหารและความสำคัญของโภขนาการ
- เรื่องเพศศึกษาเบื้องต้น
จะเห็นกว่าการเรียนพลศึกษายังรวมถึงเรื่องพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมีสุขภาพที่ดี เช่น โภชนาการ การ ดูแลร่างกาย และปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การตั้งเป้าหมายการเรียนการสอนวิชาพละ จะช่วยให้พ่อแม่ซึ่งเป็นผู้จัดการศึกษา มีแนวทางคร่าวๆ ในการวางแผนการเรียนรู้ของลูกได้ตลอดทั้งปี ไม่ได้มุ่งเน้นแต่การเล่นกีฬา หรือออกกำลังเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมถึงเรื่อง อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้เรียนด้วย
พละแบบเด็กโฮมสคูล
การใช้พลังเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกีฬา อาจเป็นสิ่งที่เด็กบางคน ทำเป็นกิจวัตรอยู่แล้ว เช่น เด็กๆ ที่ออกไปเล่นฟุตบอลกับเพื่อนตอนเย็นๆ หรือเด็กๆ ที่ชอบเต้นเป็นชีวิตจิตใจ แต่หากเป็นการเรียนพละแล้ว เด็กๆ จำเป็นต้องเรียนรู้มากไปกว่าการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อความสนุกสนาน แต่ยังต้องรู้วิธีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างปลอดภัยด้วย
คุณพ่อคุณแม่อาจพาลูกร่วมกิจกรรมตามศูนย์กีฬาเยาวชนที่จะมีคอร์สสอนการเล่นกีฬาต่างๆ อาจให้เด็กๆ เลือกประเภทกีฬาที่ตนเองสนใจ เด็กโฮมสคูล ควรได้ทำกิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน นอกจากนี้ การสนับสนุนให้เด็กๆ เล่นกีฬาเป็นทีม ก็เป็นอีกทักษะสำคัญที่ควรหาโอกาสให้ลูกได้มีประสบการณ์ เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้เรื่องทีมเวิร์ค กฏ กติกา ทักษะทางสัมคม และทักษะชีวิตอื่นๆ อีกด้วย
ยิ่งเด็กๆ มีประสบการณ์เล่นกีฬาที่หลากหลาย ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวพวกเขาเอง พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นหาโอกาสให้ลูกทดลองเล่นกีฬาหลายๆ รูปแบบ เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ขี่ม้า พายเรือคายัค ฟุตบอล เต้น โยคะ ฯ บางชนิด อาจเปิดยูทูปทำตามง่ายๆ ได้ เช่น โยคะ หรือเต้น บางชนิดอาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ซึ่งการที่เด็กๆ ได้ทดลองเคลื่อนไหวร่างกายผ่านกีฬาหลายๆ รูปแบบ จะช่วยให้พวกเขาค้นพบศักยภาพในตนเองและรู้ว่าตัวเองชอบอะไร เหมาะกับสิ่งไหนได้ง่ายขึ้น
ชวนลูกเล่นกีฬาอะไรดีนะ?
หากยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มยังไง ลองมาดูไอเดียสำหรับชวนลูกเล่นกีฬากันค่ะ
กีฬาที่เล่นคนเดียว
- ว่ายน้ำ
- โยคะ
- วิ่ง
- เต้น
- สเกตบอร์ด
- ปั่นจักรยาน
- ปีนหน้าผาจำลอง
กีฬาที่เล่นเป็นทีม
- ฟุตบอล
- บาสเกตบอล
- วอลเล่ย์บอล
กีฬาที่ต้องมีคู่แข่งขัน
- แบดมินตัน
- เทนนิส
- ปิงปอง
ลูกไม่ชอบออกกำลัง ทำอย่างไร?
เด็กๆ แต่ละคนก็มีความชื่นชอบและความถนัดไม่เหมือนกัน ครอบครัวที่เลือกทำโฮมสคูลน่าจะเข้าใจประโยคข้างต้นได้เป็นอย่างดี เด็กบางคนอาจไม่ชอบการออกกำลังกาย ไม่ชอบเล่นกีฬา และย่อมหมายถึงไม่ชอบวิชาพละด้วยเช่นกัน
หากนักเรียนที่บ้าน มีอาการยี้ทุกทีที่พ่อแม่ชวนไปออกกำลังกาย อาจใช้วิธีชวนลูกออกกำลังผ่านการเล่นวิดีโอเกม อย่าง Wii หรือซื้อแผ่นเกมส์เต้นมาไว้เล่นที่บ้าน อาจให้ลูกเป็นคนเลือกว่าจะทำกิจกรรมอะไร เด็กๆ ที่รักธรรมชาติ พ่อแม่ลองจัดกิจกรรมเดินป่า หรือเดินสำรวจธรรมชาติในสวนสาธารณะ พายเรือคายัค ปั่นจักรยาน ถีบเรือเป็ด ก็ถือเป็นการออกกำลังกายได้เช่นกัน
ข้อดีของการทำโฮมสคูล คือ พ่อแม่ผู้ปกครอง สามารถชวนเด็กๆ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หากิจกรรมการเรียนรู้มาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายการเรียนรู้ได้ไม่จำกัด ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกยิ่งขึ้นสำหรับทุกคนในครอบครัว
Related Courses
การติดตาม ปรับปรุง และผลการสะท้อนกลับ
การติดตามเพื่อพัฒนา ประเมินความก้าวหน้า และสะท้อนผลที่เกิดขึ้นรวมกัน เป็นการกำหนดวิธีในการติดตามผลจากการจัดกิจกรรมการ ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 50 เหรียญ
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...