ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลให้หยุดอยู่บ้าน แต่พัฒนาการของลูกต้องไปต่อ

Starfish Academy
Starfish Academy 1388 views • 3 ปีที่แล้ว
ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลให้หยุดอยู่บ้าน แต่พัฒนาการของลูกต้องไปต่อ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าสถานการณ์ปัจจุบันจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสังคม หนึ่งในนั้นคือ “การหยุดอยู่บ้านเพื่อทำงานจากที่บ้าน” 

การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือเป็นการปรับตัวอย่างมากต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู นักเรียน และผู้ปกครองในวงกว้าง รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่มีข้อจำกัดส่วนตัวแล้ว ยิ่งส่งผลต่อการจัดการของผู้ปกครองเป็นอย่างมาก อย่างที่กล่าวในหัวข้อว่า “ถึงแม้โควิด-19 จะส่งผลให้หยุดอยู่บ้าน แต่พัฒนาการของลูกต้องไปต่อ” ในบทความนี้ ผมจึงได้สรุปผลการสนทนาร่วมกับนักการศึกษาพิเศษหลาย ๆ ท่าน ถึงแนวทางในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษเมื่อต้องหยุดอยู่บ้านร่วมกับผู้ปกครอง ซึ่งได้ข้อสรุปแนวทางในการช่วยเหลือ ดังนี้ 

1. ผู้ปกครองควรติดต่อผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลเรื่องพัฒนาการของลูกอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถใช้การสื่อสารผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือ หรือปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำในการฝึกพัฒนาการของลูกขณะที่อยู่ที่บ้าน เพื่อให้ทราบแนวทางในการฝึกหรือทำกิจกรรม สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่เคยฝึกกับครูที่โรงเรียน ซึ่งผู้ปกครองสามารถปรึกษากับครูได้โดยตรงเช่นกัน

2. จัดตารางเวลาให้เหมาะสม การจัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของลูก พ่อแม่ผู้ปกครองควรจัดตารางเวลาให้เหมาะสมและถือเป็นการปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจากช่วงก่อนที่จะหยุดอยู่บ้าน เพื่อให้เด็กได้รู้จักเวลา มีวินัย และมีความพร้อมในการทำกิจกรรม ยกตัวอย่างเช่น เด็กออทิสติกบางราย ถ้าไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน เด็กจะรู้สึกติดขัด และไม่ให้ความร่วมมือในการฝึกกับผู้ปกครอง เป็นต้น 

3. จัดเตรียมสถานที่ และอุปกรณ์สำหรับฝึกพัฒนาการของลูกตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ จากการที่ผู้ปกครองได้ปรึกษาคุณครู นักกิจกรรมบำบัด จิตแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เบื่องต้นและได้รับคำแนะนำมานั้น ผู้ปกครองควรจัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ให้เหมาะสม หรือใกล้เคียงกับที่เคยใช้ฝึกมา ไม่จำเป็นต้องจัดซื้อใหม่ทั้งหมด แต่นำของใกล้ตัวมาประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสมของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ฝึก เช่น ใช้ขวดน้ำดื่ม ผ้าห่ม บัตรภาพ หรือบัตรคำที่มีอยู่ที่บ้าน เป็นต้น 

4. จัดกิจกรรมง่าย ๆ ตามตารางเวลา เมื่อถึงเวลาฝึกพัฒนาการ หรือเวลาเรียนเสริม ตามที่ผู้ปกครองได้วางตารางเวลาไว้ ผู้ปกครองต้องสละเวลาที่กำลังทำงานอยู่ มาเล่น หรือทำกิจกรรมที่กำหนดกับลูก ไม่ควรปล่อยให้ลูกทำกิจกรรมด้วยตนเอง เนื่องจากอาจจะไม่ดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนด และที่สำคัญ “ตารางเวลาที่จัดให้ลูกก็เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในการจัดเวลาให้ผู้ปกครองเช่นกัน” 

5. บันทึกพฤติกรรรมหลังจากการทำกิจกรรม หลังจากที่ผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกแล้ว ควรจัดการบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นทั้งด้านที่มีพัฒนาการ และด้านพฤติกรรมที่แสดงออก หรือผลที่เกิดขึ้นหลังการทำแบบฝึกหัดต่าง ๆ โดยพยายามบันทึกในทันที เพื่อจะได้ไม่ลืมรายละเอียดที่เกิดขึ้นในระหว่างฝึก ผู้ปกครองไม่จำเป็นต้องบันทึกเป็นทางการเหมือนที่คุณครู หรือผู้เชี่ยวชาญบันทึก แต่สามารถบันทึกสั้น ๆ พอเข้าใจและเก็บไว้ใช้เตือนความทรงจำภายหลังได้

6. ให้ข้อมูลย้อนกลับกับผู้เชี่ยวชาญ หลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามคำแนะนำของคุณครูหรือผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ปกครองควรนำบันทึกพฤติกรรม หรือผลจากการจัดกิจกรรมกับลูก เป็นข้อมูลย้อนกลับกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน และให้คำแนะนำในการจัดกิจกรรมในครั้งต่อ ๆ ไป 

อย่าลืมนะครับว่า การฝึกซ้ำ ๆ เน้นยำ ซ้ำทวน และเพิ่มสิ่งใหม่ เป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ดี ถ้าลูกหยุดอยู่บ้านแล้วไม่ได้รับการฝึกเลย จะส่งผลให้พัฒนาการที่กำลังพัฒนานั้นหยุด หรือไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร ในบางรายเมื่อหยุดไปนาน และกลับมาฝึกอีกครั้งเหมือนกับต้องเริ่มฝึกใหม่ทั้งหมด ในการฝึกนี้ผู้ปกครองบางท่านอาจมีทักษะในการช่วยเหลือ และจัดกิจกรรมแก่ลูกเป็นอย่างดี แต่บางท่านยังขาดทักษะ แต่ไม่เป็นไรครับ ผมเชื่อมั่นว่าถ้าทุกท่านติดต่อสื่อสารกับคุณครู หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นประจำ และนำกลับมาใช้ที่บ้าน จะเห็นผลการพัฒนาแน่นอนครับ     

บทความนี้ขอขอบคุณ คุณสุเมธี อินกัณฑ์ นักการศึกษาพิเศษ ประจำคลินิกประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรรมบำบัด คิดส์พลัส สาขาถนนมหิดล จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอย่างสูง ที่ช่วยสะท้อนแง่มุมต่าง ๆ และช่วยสรุปแนวทางการช่วยเหลือจากนักการศึกษาพิเศษในหัวข้อที่เขียนครั้งนี้ร่วมกับผม  

สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้ท่านผู้ปกครองทุกท่านร่วมฝ่าฟันวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกันครับ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6591 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

บทเรียนนี้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ความสำคัญของพัฒนาการ สมรรถนะตามวัย กิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านอารมณ์ เน้นการทำกิจกรร ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย
Starfish Academy

พัฒนาการด้านอารมณ์สำคัญอย่างไรกับเด็กปฐมวัย

Starfish Academy
13213 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน

Related Videos

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
226 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
605 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ
03:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
358 views • 3 ปีที่แล้ว
กลุ่มเด็กพิเศษ : การส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการล่าช้าและกลุ่มเด็กผู้มีความต้องการพิเศษ
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION
13:50
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
129 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION