การศึกษาออนไลน์ เรียนรู้-สู้วิกฤต (โควิด-19)
การเรียนออนไลน์นั้น มีข้อจำกัดเรื่องความพร้อมส่วนบุคคล โดยเฉพาะในโรงเรียนที่อยู่ชายขอบ ที่คุณครูเองก็ยังไม่มีความคุ้นชินกับโปรแกรมต่าง ๆ ในการสอนออนไลน์ นักเรียนไม่มีอุปกรณ์ รวมถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ไม่ค่อยดีนัก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนอย่างจริงจังว่า จะสนับสนุนคุณครูอย่างไร ต้องประเมินความพร้อมอย่างรอบด้าน เป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา คือ การพัฒนาผู้เรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง การมีปฏิสัมพันธ์กัน ถึงแม้ว่าการเรียนออนไลน์จะมีข้อจำกัด และอุปสรรคบ้างแต่ “ วิกฤตในครั้งนี้ทำให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน เด็กๆ ครูผู้สอนมีการปรับตัวให้ชินกับการเรียนแบบออนไลน์ ” แต่ก็ไม่ใช่ทุกวิชา หรือทุกคณะจะเปลี่ยนมาสอนออนไลน์ได้ทั้งหมด เพราะต้องคำนึงถึงความเหมาะสม และประสิทธิภาพของการสอน ที่สำคัญที่สุด คือ “ทำห้องเรียนออนไลน์” ยังไงเพื่อทดแทน “ห้องเรียนออฟไลน์” หรือห้องเรียนจริง ๆ ให้ได้ส่วนสำคัญที่สุด คือ "ปฏิสัมพันธ์” (ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล)
คาดการณ์ การศึกษาไทยในอนาคต
การเรียนออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีที่เป็นจริงได้ในวันนี้ ก็เพราะความพร้อม และการพัฒนาของเทคโนโลยีเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการศึกษา ทำให้การศึกษาเกิดนวัตกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ที่ไม่เคยคาดคิด เกิดการร่วมมือกัน ระหว่าง ภาครัฐ และเอกชน พัฒนาช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ สร้างนวัตกรรมส่งเสริม สนับสนุนการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น แพลตฟอร์มการเรียนทั้งแบบออนไลน์ และการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์ รวมทั้งพัฒนาระบบสารสนเทศพื้นฐานที่เอื้อกับการเรียนรู้อื่น ๆ เสริมเข้าไปด้วย
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่จะเกิดขึ้น จากโอกาสในการเข้าถึงสารสนเทศที่ไม่เท่าเทียม การเรียนออนไลน์เป็นหนึ่งในวิธีแก้ปัญหาในสถานการณ์ โควิด-19 และทำได้จริงมากที่สุด แต่การทำลักษณะนี้ได้ ประเทศนั้นต้องมีโครงการการสื่อสาร และอินเทอร์เน็ตที่ดีและราคาถูก ทุกคนเข้าถึงได้ รวมถึงความเหลื่อมล้ำในเรื่องของอุปกรณ์ที่จะเชื่อมต่อ แต่ก็ต้องต้องยอมรับว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตอบรับเทคโนโลยีเหล่านี้ การเข้ามาของการเรียนออนไลน์ ยิ่งทำให้เด็กยากจนและผู้ที่เข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ถูกละทิ้งและมองข้ามไป
แล้วเราจะเตรียมนักเรียนให้พร้อม หากต้องเจอสถานการณ์เช่นเดิม อย่างไร?
ที่ผ่านมาเราก็ได้สะท้อนวิกฤติครั้งนี้ ว่าจะเปลี่ยนแปลงเรื่องการศึกษาใหม่สำหรับเด็กในอนาคต เราควรสอนอะไร และเตรียมนักเรียนให้พร้อมกับสถานการณ์แบบไหน ระบบการศึกษาที่ต้องปรับตัวพัฒนานวัตกรรม เปลี่ยนการเรียน “ออฟไลน์” มาเป็น “ออนไลน์” ได้อย่างเต็มรูปแบบ และ 4 บทเรียนที่เราจะต้องเตรียมนักเรียนของเราเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์เช่นเดิม
สอนให้รุ่นต่อไปอยู่ในโลกที่เชื่อมต่อกัน
จากสถานการณ์การระบาดของ โควิด 19 เปลี่ยนแปลงโลก ทำให้เราเห็นภาพว่าโลกเราเชื่อมต่อกันขนาดไหน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า พฤติกรรม “โดดเดี่ยว” อีกต่อไปแล้ว คนที่ประสบความสำเร็จอนาคตจะ ต้องเป็นคนที่เข้าใจความสัมพันธ์กันของโลก และสามารถหาเส้นทางข้ามขีดจำกัด ใช้ความแตกต่างให้เป็นประโยชน์ และทำงานด้วยวิธีที่ใช้ความร่วมมือจากโลกที่เชื่อมต่อกัน
คำจัดกัดความใหม่ของ “ครู”
คำพูดที่ว่า “ครูเป็นผู้กำความรู้ที่จะสร้างสติปัญญาของนักเรียน” ไม่ใช่คำพูดที่ตรงกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 อีกต่อไป เมื่อนักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ หรือทักษะได้ทางออนไลน์ เราต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของครูในห้องเรียน
ทักษะชีวิตที่จำเป็นในอนาคต
ในสภาพแวดล้อมที่โลกเปลี่ยนแปลงไป เด็กจะต้องมีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นที่จะหาเส้นทางฝ่าฟันวิกฤติครั้งนี้ ทักษะที่สำคัญที่สุดที่เป็นที่จับตามองในตอนนี้ คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการสื่อสาร และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ควบคู่ไปกับความสามารถในการเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
ปลดล็อกเทคโนโลยีที่จะช่วยส่งเสริมการศึกษา
การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้สถาบันการศึกษา โรงเรียน ต้องปรับตัวใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และสร้างบทเรียนเพื่อการเรียนทางไกลให้กับนักเรียนในทุกระดับชั้น ครูทั่วประเทศกำลังเผชิญกับความเป็นไปได้ที่จะได้ทำอะไรที่แตกต่าง และแตกต่างด้วยความยืดหยุ่น ที่จะเกิดประโยชน์ในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กทุกคนในประเทศไทย
จากวิกฤตโควิด-19 ในครั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุด เด็ก ๆ จะใช้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เรียนรู้การเรียนจากทางไกล เรียนออนไลน์ ทิ้งระยะห่างทางสังคม แยกจากเพื่อน แยกจากครู อาจารย์ ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน เป็นการเตือนใจถึงความสำคัญของ ความต้องการของมนุษย์กับการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมแบบตัวต่อตัว และที่สำคัญอีกอย่าง ครู หรืออาจารย์ก็จะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการสอนในห้องเรียน หรือชั้นเรียนมาเป็นผู้สร้างเนื้อหา บทเรียน ให้เหมาะสมกับผู้เรียน บริบท และสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถก้าวทันโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
บทความใกล้เคียง
ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ที่ต้องเร่งแก้ไขในมุมมองของ CEO Starfish Education
จะ ON อะไรก็ไม่สำคัญเพราะครูเราเอาอยู่ EP2
เปิดเทอมคราวนี้ต้องให้ความสำคัญ เรื่อง “การฟื้นฟูการเรียนรู้ที่ถดถอย”
Related Courses
เป็นครูยุคใหม่ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี
มาเตรียมความพร้อมกับการเป็นครูในยุคใหม่ ทั้งผู้ที่กำลังจะเริ่มต้นสายอาชีพครู หรือผู้ที่เป็นครูอยู่แล้วมาร่วมอัปเดตทักษะที่ครูยุคใหม่จะ ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
วันนี้ Starfish Labz มีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนได้เทคนิคการออกแบบกิจกรรมใน Booklet ให้มีความน่าสนใจ สร้างสรร ...
นวัตกรรม Booklet ทำอย่างไรให้ ว้าว!
ต้องใช้ 100 เหรียญ
Environmental Education (EE)
The goal of the course is to explain to educators what environmental education is, what its goal ...
Social and cultural awareness classroom
ห้องเรียนความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นการออกแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความตระหนักรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม ให้ผู้เ ...