การจัดพื้นที่นักสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิด
บางท่านอาจจะเคยได้ยิน หรือพอจะคุ้นหูกับคำว่า Makerspace มาบ้างแล้ว ซึ่ง Makerspace นั้นก็คือ การสร้างหรือจัดพื้นที่เรียนรู้สำหรับนักสร้างสรรค์กิจกรรม การจัดพื้นที่นั้นอาจจะไม่ได้มีการกำหนดรูปแบบที่แน่นอน แต่เราควรคำนึงถึงบริบทของสถานที่นั้นๆ ว่าสามารถใช้ทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง มีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ และจะจัดบรรยากาศให้น่าสนใจได้อย่างไร เน้นการจัดพื้นที่สำหรับให้ผู้เรียนรู้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการจัดวาง สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เข้าถึงและสามารถใช้งานได้ง่าย เพียงพอ น่าสัมผัส ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมได้สะดวก กระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น มีความกล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออกค้นหาและทำในสิ่งที่ชอบ และเกิดการพัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถจัดได้ในรูปแบบต่างๆดังนี้
แบบพื้นที่/ห้อง (ห้อง Makerspace) สามารถจัดได้หลายๆ พื้นที่ตามที่ต้องการ เช่น ห้องอาหาร ห้องศิลปะ ห้องผ้า ห้องช่าง และ ห้อง Studio ฯลฯ ซึ่งในห้อง Makerspace ควรมีกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติการใช้ห้องที่ชัดเจน และมีการกำหนดพื้นที่ในการใช้อุปกรณ์อันตรายให้ชัดเจน อาทิ เช่น พื้นที่ใช้ คัตเตอร์ ปืนกาว บัดกรี อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีความร้อนสูง เป็นต้น
แบบมุมสำหรับนักสร้างสรรค์ ในบริบทที่มีข้อจำกัดของพื้นที่ เราสามารถจัดพื้นที่นักสร้างสรรค์ในรูปแบบมุม โดยอาจจะใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของห้องในการจัด Makerspace เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมสร้างสรรค์ สามารถจัดมุมตามห้องเรียน หรือห้องที่พอมีพื้นที่สำหรับทำมุม โดยจะคำนึงถึงการใช้งานของมุมต่างๆ และเลือกวัสดุ – อุปกรณ์ ให้เหมาะสมกับมุมนั้นๆ โดยแบ่งเป็นรูปแบบมุมดังนี้ มุมศิลปะ
มุมอาหาร มุมคณิตศาสตร์ มุมนิทาน มุมช่าง หรือมุมอื่นๆตามความเหมาะสมกับการใช้งาน
แบบเคลื่อนที่/ชุดอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Maker)
การทำโมบายเมกเกอร์/ชุดอุปกรณ์เคลื่อนที่ จัดทำขึ้นเพื่อการนำไปใช้ทำกิจกรรมในสถานที่ต่างๆ อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ลานอเนกประสงค์ เพราะสามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ต่างๆไปใช้ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ เนื่องจากบางพื้นที่อาจจะไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดเก็บอุปกรณ์ ซึ่งในการจัดอุปกรณ์นั้นควรคำนึงถึงอุปกรณ์พื้นฐาน เคลื่อนที่สะดวก มีความแข็งแรง และควรจะจัดวัสดุ อุปกรณ์ ให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้งานด้วย
แบบพกพา/ชุดสร้างสรรค์แบบพกพา (Learning Box)
แนวคิดการจัด Learning Box เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด -19 เพื่อหาแนวทางจัดการเรียนการสอนขึ้น จึงจัดทำเป็นกล่อง Learning Box เพื่อให้นักเรียนได้นำกลับไปเรียนรู้ที่บ้านโดยให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลและจัดการเรียนการสอน เพราะมีคำชี้แจงในการทำกิจกรรม(บทเรียนหรือ Booklet) และนอกจากนี้ในสถานการณ์ปกติเราก็สามารถนำชุดสร้างสรรค์แบบพกพา มาใช้ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ได้ทุกที่ทุกเวลา ส่วนการเลือกอุปกรณ์ใส่ในกล่อง Learning Box ก็จะเลือกอุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับใช้ทำกิจกรรม อุปกรณ์ในกล่อง Learning Box จะประกอบด้วย กาว ปืนกาว / ใส้ปืนกาว คัตเตอร์ กรรไกร ไขควง สีไม้ หน้ากากอนามัย และบทเรียนหรือ Booklet สำหรับผู้เรียนในระดับต่างๆตามความเหมาะสมกับช่วงวัยของผู้เรียน
จะเห็นได้ว่าการจัดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การจัดแบบพื้นที่/ห้อง แบบมุม แบบชุดเคลื่อนที่ และแบบพกพานั้นส่วนใหญ่จะมีการใช้อุปกรณ์พื้นฐานเหมือนกัน จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การจัดพื้นที่นักสร้างสรรค์ไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแค่จัดให้ตรงตามความต้องการของการใช้งาน เหมาะสมกับวัยหรือพัฒนาการของเด็ก และเหมาะสมกับบริบทตามพื้นที่ของท่านเท่านั้น เราก็จะสามารถมีพื้นที่นักสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ให้กับเด็กได้ในทุกๆที่แล้วค่ะ
Related Courses
การออกแบบและการสร้างสื่อเทคโนโลยีสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ
หลักสูตรสำหรับครูที่ต้องการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อ ...
การออกแบบและการสร้างสื่อเทคโนโลยีสำหรับห้องเรียนอัจฉริยะ
5 กระดานบอร์ดออนไลน์ช่วยสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
เรียนรู้เทคนิคการนำ 5 กระดานบอร์ดออนไลน์ Idroo, Miro, Classroomscreen, Whiteboard.fi และ HeyHi Whiteboa ...
5 กระดานบอร์ดออนไลน์ช่วยสร้างห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม
เทคนิคและวิธีการสอนสมัยใหม่
การใช้คำถาม เครื่องมือ การนำเสนอ ที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีส่วนสำคัญในการสร้างห้องเรียนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วม เรียนรู้วิธีการถาม กา ...
การฟื้นฟูภาวะความรู้ถดถอย (Learning loss)
เรียนรู้ผลกระทบของ Learning Loss ที่ส่งกระทบถึงผู้เรียน ในภาพรวมของประเทศเพื่อฟื้นฟูการเรียนรู้ของนักเรียน โดยใช้ 5ม ...