TALK STEAM PLAY สร้างทักษะให้ลูก ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 โดย Starfish Education
เมื่ออาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ TK Park Central World ทีมงาน Starfish Education ได้จัดกิจกรรมให้กับครอบครัว 21 ครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนมา
โดยเป้าหมายของกิจกรรม คือ การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง ผ่านกิจกรรมที่ให้ลงมือปฏิบัติจริง โดยถอดกระบวนการมาจาก “หนังสือสร้างทักษะแห่งอนาคต ด้วย Makerspace STEAM Design Process” เพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะให้กับลูกๆ ที่บ้าน
นอกจากนี้ ยังมีองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับพ่อแม่ในการเข้าใจเรื่อง ‘วิธีการสร้างทักษะที่จำเป็นให้กับลูก’ ซึ่ง Starfish สรุปมาให้ดังนี้
- เพราะความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลก สิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆ คือ การปรับตัว
โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ในขณะที่อายุของความรู้สั้นลงมาก ยกตัวอย่างเช่น ในสมัยก่อนถึงแม้พี่น้องอายุห่างกัน ก็ยังสามารถใช้ตำราเรียนเดียวกันได้ แต่สมัยนี้ทำไม่ได้แล้ว เพราะมีเทคโนโลยีเข้ามา และสิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กๆ ของเราต้องรับมือกับโลกที่ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดที่เกิดขึ้น เด็กๆ จะต้องไปแก้ไขกับปัญหาที่ไม่รู้ว่าคืออะไร เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญคือ เด็กๆ ต้องปรับตัวเก่ง ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะศตวรรษที่ 21
คุณพ่อคุณแม่จะต้อง Unlearn ลืมบริบทเก่าทิ้งไปว่าลูกจะต้องสอบให้ได้คะแนนเท่าไหร่ หรือการที่เรายังให้ความสำคัญกับผลลัพธ์อยู่ แต่ตอนนี้เราต้องมา Relearn หรือเริ่มเรียนรู้ใหม่ มาสร้างเด็กที่ดี ที่มีกระบวนการทัศน์ให้เหมาะกับโลกทัศน์ที่เปลี่ยนไป เพราะกระบวนการคิด คือ สิ่งที่สำคัญมากกว่าผลลัพธ์
- ทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กในโลกอนาคต
คุณแพรให้ความหมายของทักษะว่า คือ สิ่งที่เด็กสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้ และในฐานะผู้ปกครองจะเสริมสร้างสิ่งเหลานี้ได้ก็ต่อเมื่อเราให้เด็กๆ ลงมือทำ พ่อแม่สามารถสร้างสถานการณ์ที่เขาได้มีโอกาสทำ เพื่อให้เกิดทักษะเหล่านั้นขึ้น
ทักษะที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน คือ 4C
1. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ คือการคิดอะไรใหม่ๆ คิดในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
2. Critical thinking การคิดวิเคราะห์ เด็กต้องมีหลักในการคิด เพื่อแก้ปัญหา
3. Collaboration การทำงานร่วมกัน
4. Communication การสื่อสาร
แต่ในมุมมองของ Starfish มีการระบุทักษะเพิ่มเติมในแง่วิจัย 5 ทักษะ ได้แก่
1. Social & Emotional Skill หรือทักษะทางสังคมและอารมณ์ เพราะเก่งอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีความเข้าใจในอารมณ์ของตัวเองและจัดการอารมณ์ของตัวเองได้
2. Self-awareness ต้องรู้จักตัวเอง รู้เป้าหมายว่าอยากทำอะไร หรือชอบอะไร
3. Self-management บริหารจัดการตัวเองได้ ตั้งเป้าหมายและมีวิธีการ Motivate ตัวเอง ถึงแม้จะล้มเหลว แต่ก็ต้องลุกให้เร็ว เพราะการล้มเหลวไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี และต้องรับผิดชอบกับการตัดสินใจของตนเอง เพื่อจะได้ไม่เป็นคนที่กล่าวโทษคนอื่น
4. Relationship Skill การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
5. Social awareness การรู้จักสังคม และการยอมรับความต่างระหว่างบุคคล
และสิ่งที่สำคัญสำหรับในฐานะที่เป็นผู้ใหญ่คือ ทักษะต่างๆ ที่เราคาดหวังให้เด็กๆ มี ผู้ปกครองเอง ต้องสามารถเป็นตัวอย่างให้เด็กๆ ได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ในมุมมองคุณหมอแพมเสริมว่า ทักษะที่อยากให้เด็กๆ มีมากที่สุด คือ Critical Thinking เพราะโลกเปลี่ยนเร็ว มีสื่อมากมายเข้ามาหาเด็กๆ ตลอดเวลา เราจะทำอย่างไรที่จะติดเรด้าให้เด็กๆ สามารถเลือกข้อมูลที่ดี และรู้ว่าข้อมูลนี้เอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร
ซึ่งสิ่งที่เด็กๆ จะต้องมีได้แก่ตัวอักษรย่อ 3 ตัว คือ A S K
A คือ Attitude เด็กๆ รู้ว่าต้องรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร และทำอย่างไรถึงจะได้ความรู้นี้มาหรือ Know how to learn เช่น การเรียนรู้แบบ Project-based Learning หรือ Problem-based Learning เพราะความรู้เกิดใหม่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้ลูกเลือกข้อมูลที่เป็นประโยชน์
S คือ Skill เมื่อก่อนเราอยู่ในยุคที่อยู่ในใครจำได้ดีกว่า แต่การที่นักเรียนได้ตั้งคำถาม และลงมือทำเอง ได้เป็นเจ้าของโปรเจกต์เล็กๆ เอง เด็กๆ จะได้เรียนรู้จากความผิดพลาด และเมื่อทำสำเร็จแล้ว Loop ของความสำเร็จจะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้จะฝังในใจเขา เมื่อ Loop ความสำเร็จเล็กๆ เกิดขึ้นได้ Loop ความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้น ก็จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน
K คือ Knowledge คือความรู้ที่จะเกิดขึ้นควบคู่กับตัว A และ S
สุดท้าย อยากให้ผู้ปกครองเข้าใจว่า หัวใจของการเลี้ยงลูกเหมือนเดิม แต่คุณพ่อคุณเองต้องเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกมากขึ้น
วิธีการเลี้ยงลูกในยุค Generation Alpha ที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี
คุณแพรแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกว่า พ่อแม่ต้องคุยกับลูกเรื่องข้อตกลงในการใช้เทคโนโลยีร่วมกัน เช่น การทำข้อตกลงเรื่อง Screen Time หรือ คุณภาพในการใช้เจอ คุณพ่อคุณแม่จะเลือกให้ถูกต้องระหว่าง 1. Low Quality Screen Time เช่น การที่พ่อแม่โยนมือถือให้ลูกเลย หรือ 2. High Quality Screen Time เช่น การที่พ่อแม่ให้ดูเนื้อหาเหล่านั้นร่วมกันกับลูก และชวนคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ว่าแบบไหนที่จะให้ประโยชน์กับครอบครัวมากกว่ากัน
นอกจากนี้ คุณหมอแพมยังเสริมเรื่องการสร้างทักษะ Resilience คือสร้างเด็กที่สามารถปรับตัวได้ทุกสถานการณ์ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างให้ลูกได้ด้วย 4 อย่างนี้
1. สร้างสัมพันธภาพอันดีในครอบครับ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่ แต่เป็นใครก็ได้ที่เวลาที่เด็กร้องไห้ เขาจะเจอผู้ใหญ่คนนั้นที่อยู่เคียงข้างเขา
2. เด็กต้องการโจทย์จริง ล้มจริง เจ็บจริง พลาดได้และแก้ไข เพื่อให้เป็น Loop ของความสำเร็จ
3. เด็กต้องการ positive stress มีความกดดันน้อยๆ เพื่อทำให้เด็กพุ่งตัวไปข้างหน้าได้ แต่ไม่ใช่การเลี้ยงแบบตามใจทุกอย่าง
4. เด็กต้องรู้ว่ามีใครคนหนึ่งคาดหวังในตัวเขา แต่ไม่ได้คาดหวังแบบเหนือจริง ไม่ได้คาดหวังแบบกดดันจนเกินไป เพราะการคาดหวังเล็กๆ ในตัวเขา จะทำให้ตัวเขารู้สึกมีคุณค่า
สามารถดู Live ย้อนหลังได้ที่ www.facebook.com/starfishlabz/videos/603183937680216
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ