WORKSHOP STEAM PLAY สร้างทักษะให้ลูก ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 โดย Starfish Education
เมื่ออาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน 2565 ณ TK Park Central World ทีมงาน Starfish Education ได้จัดกิจกรรมให้กับครอบครัว 21 ครอบครัวที่สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนมา
โดยเป้าหมายของกิจกรรม คือ การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง ผ่านกิจกรรมที่ให้ลงมือปฏิบัติจริง โดยถอดกระบวนการมาจาก “หนังสือสร้างทักษะแห่งอนาคต ด้วย Makerspace STEAM Design Process” เพื่อนำไปใช้พัฒนาทักษะให้กับลูกๆ ที่บ้าน
ซึ่งภายในงานมีกิจกรรมมากมาย ไม่ว่าจะเป็นช่วง TALK ที่สามารถคุณหมอแพม และดร.แพร มาให้ความรู้เรื่องทักษะในศตวรรษที่ 21 และ วิธีการเลี้ยงลูกในยุค Alpha bit.ly/3nzC2wT
และหลังจากที่จบช่วง Talk ไปแล้ว ต่อไปจะเป็นช่วงสุดท้ายของงาน คือ การ Workshop ให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ทดลองทำกระบวนการ STEAM Design Process ที่ถอดมาจากหนังสือ ‘หนังสือสร้างทักษะแห่งอนาคต ด้วย Makerspace STEAM Design Process’ เพื่อนำไปใช้ที่บ้านในการพัฒนาทักษะให้ลูกๆ โดยทีมงาน Starfish Academy นำกระบวนการ
ยกตัวอย่างกระบวนการ STEAM Design Process ที่คุณพ่อคุณแม่ และลูกๆ ช่วยกันระดมความคิดเห็น
- ขั้น ASK ถาม (ระบุปัญหาที่เผชิญ) : เช่น ครอบครัวช่วยกันระดมความคิดว่าอะไรคือปัญหาในครอบครัว เช่น ลูกไม่ชอบทานข้าว
- ขั้น IMAGINE จินตนาการ (ระดมความคิดว่าจะทำอย่างไร) : คุณพ่อคุณแม่ และลูกช่วยกันระดมวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกันให้ได้มากที่สุด
- ขั้น PLAN วางแผน (ลำดับการทำ เครื่องมือ ความรู้ เวลา และข้อจำกัด) : คุณพ่อคุณแม่ และลูก ได้สรุปเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะกับลูก
- ขั้น CREATE ลงมือปฏิบัติแบบจำลอง / แผนงาน / โมเดล / รณรงค์ : ทุกคนในครอบครัวได้ทดลองและลงมือสร้างสิ่งที่มาช่วยแก้ไขปัญหา ซึ่งในโจทย์นี้คือ หุ่นยนต์ผลิตอาหาร เพื่อที่จะช่วยให้ลูกชอบทานอาหารมากขึ้น เพราะหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถผลิตอาหารได้หลากหลายประเภท ทำให้ลูกไม่เบื่อ
- ขั้น Reflect & Redesign : นำเสนอผลงาน สะท้อนการดำเนินงานรับ Feedback เพื่อพัฒนางานอีกครั้ง
เสียงสะท้อนของคุณพ่อแม่หลังจากที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกๆ ใน Workshop
1. ลูกเราแก้ปัญหาเก่งกว่าที่เราคิด
จากหลายๆ เสียงสะท้อนของพ่อแม่ ต่างพูดถึงศักยภาพและความสามารถที่ซ่อนอยู่ในตัวลูก ซึ่งอาจไม่ค่อยได้เห็นนักเวลาอยู่ที่บ้าน ถ้าเพียงแต่เราเปิดโอกาส คอยดึงเอาสิ่งรอบตัวมาเป็นบทเรียนของลูก ก็จะช่วยให้เขามีเรื่องให้เรียนรู้ได้ไม่รู้เบื่อ
“ลูกได้ค้นพบว่า การแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องสนุก”
“เด็กๆ มีวิธีการแก้ปัญหาที่บางครั้งอาจจะดีกว่าที่ผู้ใหญ่คิดไว้ด้วยซ้ำ”
“พอได้ใช้เวลาทำกิจกรรมกับลูก ก็ได้เห็นลูกจินตนาการ และคิดหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเขาเอง”
“ได้เห็นว่าลูกใช้จินตนาการ หาทางแก้ปัญหานอกกรอบ แตกต่างจากเราที่คิดอะไรค่อนข้าง realistic”
“ได้คุยกับลูกว่าเขากำลังเจอปัญหาอะไร เขาวางแผนจะทำอะไร ปล่อยให้ลูกนำ แล้วเราตาม”
“ลูกได้รู้ว่าเมื่อมีปัญหา ยังไงก็มีทางออก”
“การแก้ปัญหาไม่ได้มีแค่ทางเดียว อยู่ที่เราจะมองในมุมไหน และเลือกวิธีการใดในการแก้ปัญหา”
2. ได้ฟังลูกเล่าความคิดและจินตนาการ
หลายๆ เสียงสะท้อนจากพ่อแม่ พบว่าเมื่อเด็กๆ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เอง และรู้เรื่องที่ตนเองทำเป็นอย่างดี เขาจะกระตือรือร้นอยากเล่าออกมาให้เราฟัง
กระบวนการนี้จะส่งเสริมให้เด็กๆ กล้าแสดงออกและได้หัดเรียบเรียงคำพูด เพื่อถ่ายทอดให้คนอื่นเข้าใจด้วย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเขาเข้าใจในทุกขั้นตอน ซึ่งระหว่างทางนี่แหละสำคัญกว่าผลที่ออกมาเสียอีก
ทั้งยังเป็นการฝึกคิดแบบพลิกมุมมอง ให้ลูกเห็นโอกาสใหม่ๆ มากกว่าจะจมอยู่กับความคิดตายตัว หรือยึดติดอยู่แต่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพราะชีวิตของลูกในวันข้างหน้า จะไม่มีแค่คำตอบเดียวที่ถูกต้องที่สุดเสมอไป
“พอได้เห็นเด็กๆ กล้าเล่า กล้าแสดงออก กล้าคิดสร้างสรรค์ ก็ช่วยสะท้อนคุณภาพเด็กรุ่นใหม่ในอนาคตได้เป็นอย่างดี”
3. ได้เห็นความมุ่งมั่นและรอยยิ้มของลูก แค่นั้นก็มีความหมายต่อใจพ่อแม่แล้ว
หลายๆ ภาพในงาน สะท้อนให้เห็นรอยยิ้มบนใบหน้าทั้งเด็กๆ และผู้ปกครอง เนื่องจากพ่อแม่ได้ให้เวลาคุณภาพมาใช้ร่วมกันกับลูกอย่างเต็มที่
แล้วพ่อแม่เองก็จะได้เห็นภาพเดียวกัน และช่วยกันเลี้ยงลูกเชิงบวกได้ดีขึ้นด้วย เพราะไม่ใช่แค่ให้พื้นที่สร้างสรรค์ Makerspace แต่ยังต้องเป็นเซฟโซนให้ลูกด้วย เพราะความมั่นใจของลูกนั้นมาจากแรงสนับสนุนให้ลูกกล้าคิด กล้าทำนอกกรอบ ยอมปล่อยให้เขามีอิสระ ที่จะตั้งโจทย์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยมีเราคอยเป็นผู้ช่วยอยู่ข้างๆ
รวมทั้งยังได้สังเกตเห็นปัญหาด้านพัฒนาการของลูกที่สะท้อนออกมาผ่านกิจกรรมด้วย ซึ่งจะช่วยให้พ่อแม่หาทางเพิ่มทักษะนั้นๆ ให้ลูกเอาตัวรอดได้ดีขึ้น โดยไม่ตั้งความคาดหวังกับลูกไว้สูงลิ่ว หรือกดดันลูกจนเกินไป เอาแค่รู้ว่าจุดไหนจะท้าทายสำหรับลูกเราแบบกำลังดี
“ดีใจที่ได้มีเวลาทำกิจกรรมใหม่ๆ กับครอบครัว”
“ได้เข้าใจลูกมากขึ้น ว่าสิ่งที่เราไม่คิดว่าเป็นปัญหาสำหรับเรา อาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเค้าก็ได้”
“ได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูก และได้เปิดเผยความรู้สึกกันในครอบครัวมากขึ้น”
“ได้คิดหาทางออกร่วมกัน เพื่อเพิ่มความสุขของลูก และทุกคนในครอบครัว”
“ความรู้ที่ได้ในวันนี้ ช่วย confirm การเลี้ยงลูกของเรา ว่าที่ผ่านมานั้นมาถูกทางแล้วหรือยัง และจะต้องคอยเรียนรู้ไปกับลูกอยู่ตลอด ไม่มีวันสิ้นสุด”
บรรยากาศในงานเป็นไปด้วยความสนุกและได้ความรู้ หากมีกิจกรรมดีๆ แบบนี้ Starfish Labz จะนำมาสรุปและแบ่งปันให้คุณพ่อคุณแม่อีกครั้งค่ะ
สามารถดู Live ย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/starfishlabz/videos/603183937680216
Related Courses
คู่มือการสอนนวัตกรรม 3R ฉบับบ้านปลาดาว
คงจะดีถ้าการอ่านออกเขียนได้ ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป นวัตกรรม3R โรงเรียนบ้านปลาดาว ได้ออกแบบชุดการสอนที่ง่ายและเกิดผล ...
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
หากคุณเป็นคนชอบวาดรูป ชอบการขีดเขียน หรือการจดบันทึก อยากลองทำ Visual Note แต่ไม่รู้จะสื่อสารออกมาอย่างไรดี คอร์สเ ...
เริ่มต้นทำ Visual Note อย่างง่ายใครๆ ก็ทำได้
ต้องใช้ 100 เหรียญ