You are enough ช่วยลูกสร้างความรู้สึกดีพอ ในโลกที่ไม่เคยพอดี

Starfish Academy
Starfish Academy 7795 views • 4 ปีที่แล้ว
You are enough ช่วยลูกสร้างความรู้สึกดีพอ ในโลกที่ไม่เคยพอดี

ในสังคมที่ให้คุณค่ากับภาพลักษณ์และความสำเร็จ เป็นไปได้มากว่า หลายๆ คน อาจกำลังเผชิญกับความรู้สึกไม่มั่นใจ และความรู้สึกว่าตัวเองไม่สวยพอ ไม่ฟิตพอ ไม่ปัง ไม่ดัง และไม่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่น ซึ่งเติบโตขึ้นมาพร้อมโซเชียล มีเดีย ที่ตอกย้ำอยู่ตลอดเวลาว่าใครเป็น idol คนดัง หรือเพื่อนได้ไปเที่ยวพักรีสอร์ทสุดหรู ขณะที่รุ่นพี่ก็แข่งเปียโนได้อันดับหนึ่ง รุ่นน้องได้มีตแอนด์กรี๊ดกับศิลปินคนโปรด ดูเหมือนว่าทุกคนล้วนมีชีวิตดีๆ ในโลกออนไลน์ สิ่งเหล่านี้เอง อาจสร้างความรู้สึกดีไม่พอ ขึ้นในใจของลูกได้

อะไรที่ทำให้เรา “ดีพอ” 

ก่อนอื่นพ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำให้ลูกเข้าใจว่า ความรู้สึกดีพอ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกร่างกาย ชีวิตที่ดี อาจไม่ได้หมายความว่าเราได้เที่ยว ได้ทำสิ่งต่างๆ ดั่งใจตลอดเวลา แต่ชีวิตที่ดี คือ ชีวิตที่มีความสุขกับตัวเองได้ แม้ในช่วงเวลาที่ธรรมดาที่สุด ซึ่งการที่เด็กคนหนึ่งจะรู้สึกเช่นนี้ได้ พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง (self-worth) ให้กับลูกตั้งแต่เด็กๆ 

การเห็นคุณค่าในตนเอง เริ่มสร้างได้ตั้งแต่วัยทารก เมื่อเด็กคนหนึ่งรู้สึกปลอดภัย เป็นที่รัก และได้รับการยอมรับ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อเวลาผ่านไปความรัก และความมั่นคงปลอดภัยที่พ่อแม่มอบให้ จะกลายเป็นฐานรากของจิตใจที่มั่นคงทำให้ลูกเห็นคุณค่าในตนเอง มีความมั่นใจ ยอมรับทั้งความสามารถ และความผิดพลาดของตัวเองได้ โดยไม่โทษตัวเองว่าดีไม่พอ 

ความรู้สึก “ดีไม่พอ” ของเด็ก Perfectionist 

เด็กแต่ละคนเกิดมาพร้อมพื้นฐานอารมณ์ที่ต่างกัน ในบางกรณีแม้เด็กๆ จะเห็นคุณค่าในตัวเอง และมีความมั่นใจ แต่หากลูกมีบุคลิกเป็นคนสมบูรณ์แบบ หรือที่เรียกว่า Perfectionist เขียนหนังสือต้องเป๊ะ หงุดหงิดที่ยางลบลบไม่สะอาด ไม่ชอบให้วางของผิดที่ เสื้อยับไม่ได้ ฯ ก็มีความเป็นไปได้ว่า เด็กๆ มักจะรู้สึกว่าตนเองดีไม่พออยู่ตลอดเวลา 

เพราะเด็กที่นิยมความสมบูรณ์แบบ มักจะวิพากษณ์วิจารณ์ตัวเอง และคนอื่นๆ อยู่เสมอ พวกเขามักพยายามทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด และใช้มาตรฐานของตัวเองในการตัดสินคนอื่น บ่อยครั้งนอกจากจะรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอแล้ว ก็อาจจะแอบตำหนิคนอื่นอยู่ในใจด้วยเช่นกัน 

พ่อแม่ผู้ปกครองที่พบว่ามีลูกหลานเป็น Perfectionist อาจช่วยให้เด็กๆ ลดความกดดันตัวเอง ด้วยการหาโอกาสพูดคุย ยกตัวอย่างให้เห็นว่า ความผิดพลาดก็ไม่ได้แย่เสมอไป ทุกความผิดพลาดนั้นเป็นบทเรียนที่มีประโยชน์ต่อชีวิต และอาจชี้ให้เด็กๆ เห็นว่า ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบ 100% นอกจากนี้ ควรหมั่นชื่นชมลูกที่มีความพยายาม มากกว่าผลลัพธ์ เช่น หากลูกวาดภาพสวย แทนที่จะบอกว่า ลูกวาดรูปได้สวยที่สุด ลองเปลี่ยนเป็น ลูกพยายามมากเลยนะที่จะวาดรูปนี้ ให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกว่าต้องทำผลงานให้ดีที่สุด จึงได้รับคำชม 

เราดีพอ แค่ไม่เปรียบเทียบ 

ความสำเร็จ ความสวยงาม หรือชีวิตดีๆ ของผู้คนมากมายที่เราเห็น อาจทำให้เผลอเปรียบเทียบ และรู้สึกว่าชีวิตตนเองช่างด้อยค่า และดีไม่พอเสียเลย โดยลืมไปว่า ทุกคนล้วนเลือกที่จะแบ่งปันช่วงเวลาที่ดีที่สุดในชีวิตของตนเอง การเปรียบเทียบ คือ การแข่งขันที่ทำให้เรารู้สึกพ่ายแพ้ และดีไม่พออยู่ตลอดเวลา หากคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง สังเกตว่าลูกมักพูดถึงเพื่อนคนอื่นบ่อยๆ ประมาณว่า เพื่อนคนนั้นได้ไปเที่ยวทะเลอีกแล้ว หรือเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ เป็นประจำ พ่อแม่ผู้ปกครอง อาจหาโอกาสพูดถึงสิ่งดีๆ ในชีวิต และชื่นชมในตัวลูก โดยไม่เปรียบเทียบกับคนอื่นเช่น “ดีจังที่เราได้กินข้าวพร้อมหน้ากันทุกวัน” หรือ “แม่ชอบที่ลูกใส่รองเท้าคู่นี้ น่ารักดีนะ” นอกจากนี้ เมื่อเห็นว่าลูกกำลังมีความสุขกับบางสิ่งที่เรียบง่าย เช่น หัวเราะขณะดูทีวี ร้องเพลงขณะทำงานบ้าน อาจบอกลูกว่า “แม่ดีใจนะที่เห็นลูกมีความสุข” เพื่อให้เด็กๆ ได้ตระหนักว่าความสุขบางทีก็เกิดขึ้นในเวลาที่เราไม่รู้ตัว และไม่ได้เปรียบเทียบกับใคร

เราดีพอ แค่รู้จักตัวเอง

บางครั้งถึงแม้ลูกจะพยายามครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ความเหนื่อย ความท้อแท้ สิ้นหวัง อาจทำให้เด็กๆ รู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่ลูกกำลังพยายาม อาจไม่ใช่ตัวตนของลูกก็ได้ การช่วยลูกให้ค้นพบศักยภาพของตัวเอง และรู้ว่าเรามีทักษะทางด้านไหน อาจช่วยเพิ่มความมั่นใจ และความรู้สึกดีพอให้กับเด็กๆ ได้

ทฤษฏีพหุปัญญา (multiple intelligences) โดย ศ.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ระบุว่าความฉลาดของแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไป ความฉลาดไม่ได้หมายถึงเก่งวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงด้านอื่นๆ ถึง 8 ด้าน ได้แก่

  1. ปัญญาด้านภาษา
  2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์
  4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
  5. ปัญญาด้านดนตรี
  6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
  7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
  8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา

สำหรับเด็กๆ ที่รู้สึกว่าตนเองไม่ดีพอ อาจเป็นเพราะยังไม่ค้นพบความสามารถที่แท้จริง พ่อแม่อาจชวนลูกมาศึกษาเรื่องพหุปัญญาด้วยกัน แล้วลองวิเคราะห์ว่าลูกมีทักษะและความสามารถด้านไหน ซึ่งหากส่งเสริมได้ถูกต้อง ก็อาจเพิ่มความมั่นใจในตนเองให้กับลูกได้ แต่ถึงจะยังหาไม่พบ ก็อย่ากดดันลูกค่ะ ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไป ให้ลูกได้ลองสิ่งต่างๆ หลากหลาย เพื่อที่เขาจะค้นพบตัวเองได้ในที่สุด 

ที่สำคัญคือ หมั่นบอกรักลูกอยู่เสมอ ทำให้ลูกรู้สึกว่า ไม่ว่าอย่างไร ลูกก็มีคุณค่าสำหรับคุณและครอบครัว ความรักของครอบครัวนี่เอง ที่สามารถกำจัดความรู้สึกดีไม่พอใจในลูกออกให้หายไปอย่างได้ผลที่สุด

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1213 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7765 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1409 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3088 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
177 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
80 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
375 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน