อุปสรรคขวากหนาม จับมือลูกข้ามไปด้วยกัน (Resilience)

Starfish Academy
Starfish Academy 3663 views • 3 ปีที่แล้ว
อุปสรรคขวากหนาม จับมือลูกข้ามไปด้วยกัน (Resilience)

คุณพ่อคุณแม่ทุกคน ก็คงอยากให้ลูกอยู่ในโลกที่มีความสุข แต่สถานการณ์ปัญหาของสังคมในปัจจุบัน มีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ไฟป่า ฝุ่นควัน PM 2.5 และล่าสุดคือ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งสถานการณ์ที่กล่าวมาเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้นคือ เรากำลังใช้ชีวิตอยู่ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นยุคของดิจิตอล หรือ The Internet of Things ที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นอีกในยุคของลูก ๆ ที่จะต้องเติบโตไปในวันข้างหน้า จะเห็นได้ว่าสถานการณ์เหล่านี้ เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งคุณพ่อคุณแม่อย่างเราควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถใช้ความเชื่อ หรือความรู้ในยุคของคุณพ่อคุณแม่ ในการแก้ไขปัญหาบางเรื่องได้อีกต่อไป เพราะฉะนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่จะสามารถให้ลูกได้ก็คือ “การสร้างความเข้มแข็งความจากภายใน เพื่อให้ลูกของเราไปเผชิญกับโลก และก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ ได้” ดั่งประโยคที่ว่า “เราทำให้ลูกอยู่ในสังคมที่มีความสุขไม่ได้ แต่เราทำให้ลูกเป็นเด็กที่มีความสุขได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างจากภายใน” 

1. Resilience ความเข้มแข็งจากภายใน หนึ่งในทักษะที่จะช่วยให้ลูก ๆ ก้าวข้ามอุปสรรค ซึ่งสร้างได้ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก 

ข้อค้นพบจากการสอบวัดความรู้ระดับนานาชาติ (PISA) พบว่ามีเด็กกลุ่มหนึ่ง คิดเป็น 30% สามารถสอบได้คะแนนดี ทั้ง ๆ ที่เขาอยู่ในกลุ่มที่มีคุณพ่อคุณแม่ยากจน และอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ เราเรียกเด็กกลุ่มนี้ว่า Resilient Students และเมื่อนักวิจัยเข้าไปศึกษาเด็กกลุ่มนี้ พบว่าเด็กกลุ่มนี้รู้สึกพึงพอใจกับตัวเอง พึงพอใจกับชีวิต ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าหรือด้อยกว่าผู้อื่น (Being Satisfied with their life) ซึ่งมีเหตุมาจากคุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือกับเขา และใส่ใจเขาตั้งแต่เด็ก ถึงแม้ในทางวิทยาศาสตร์ Resilience จะมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจง และเกี่ยวข้องกับการรับมือกับอุปสรรค เพราะพันธุกรรมเป็นเหมือนกับรากฐานที่มีมาแต่กำเนิด เช่น เด็กบางคนมีความรู้สึกเร็วกับเรื่องเชิงลบมากกว่าเชิงบวก แต่ได้รับกำลังใจจากครอบครัว มีความปลอดภัยทางกาย เป็นต้น เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบนี้ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงบวก (Positive Outcomes) ที่สร้างให้เด็กมี Resilience ได้ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เด็กไม่มีความปลอดภัยทางกาย ป่วยตลอดเวลา หรือเกิดความรุนแรงในครอบครัว เด็กก็จะเกิด Resilience ได้ยาก เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่า Resilience เกิดจากความเกี่ยวข้องกันระหว่างพันธุกรรม และการเลี้ยงลูก แต่เมื่อเด็กเกิดมาแล้ว สิ่งเดียวที่คุณพ่อคุณแม่จะสร้างให้ลูกมีจิตใจที่เข้มแข็งจากภายใน มีความสามารถในการยืดหยุ่น ปรับตัวเก่ง ล้มแล้วลุกได้เร็ว มีเหตุสำคัญมาจากการเลี้ยงลูก (Parenting) เป็นหัวใจหลัก

2. วิธีการเลี้ยงลูกให้เป็น Resilient Kids 

ข้อมูลจาก Center on the Developing Child ของ Harvard พบว่า Resilience มีหัวใจอยู่ 4 ข้อ

1. เด็กจะต้องมีสายสัมพันธ์ที่มั่นคง อย่างน้อยกับคน 1 คน ซึ่งอาจจะหมายถึงคนที่เลี้ยงดู ใครก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น คุณแม่ ยกตัวอย่างเช่น คุณย่า คุณยาย เป็นต้น เพราะสายสัมพันธ์ที่มั่นคง จะเป็นเหมือนโซ่ที่มองไม่เห็นที่จะช่วยให้เด็กตระหนัก คิดก่อนที่จะทำ มีความอดทน ยับยั้งชั่งใจตัวเองได้ เมื่อนึกถึงความสัมพันธ์นั้น

2. เด็กจะต้องรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนที่เกิดจากการได้รับความรักจากคนที่เลี้ยงลูก

3. เด็กต้องถูกฝึกวินัยเชิงบวก (Positive Stress) คือการที่เด็กจะต้องรู้ถึงผลลัพธ์ของการกระทำ ถ้าเขาทำผิดกฎกติกา

4. เด็กจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง จากประสบการณ์ของตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก 

3. บทบาทของคุณพ่อคุณแม่ในการเลี้ยงดูลูก ให้รับมือกับอุปสรรคได้

1. เป็นแบบอย่างที่ดี เพราะลูกสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 (การเห็นผ่านดวงตา การได้ยินผ่านหู การได้ลิ้มรสผ่านลิ้น การได้สัมผัสผ่านมือ และการได้กลิ่นผ่านจมูก) ซึ่งลูกจะรับรู้ผ่านดวงตามากที่สุด เพราะฉะนั้นอย่าเพียงแค่บอกลูก แต่ต้องทำให้ลูกเห็นด้วย

2. ใช้คำพูดเชิงบวกกับลูก ยกตัวอย่างเช่น ชื่นชมที่ความพยายามที่พฤติกรรมอย่างเฉพาะเจาะจง เพราะจะทำให้ลูกมี Growth Mindset แต่อย่าพูดคำพูดเชิงลบที่กระทบจิตใจของลูก เช่น ‘ทำผิดแล้วแม่จะไม่รัก’ คำ ๆ นี้ทำร้ายจิตใจลูกมากที่สุด

3. เล่นกับลูก เพราะการเล่นเป็นสิ่งสำคัญมาก สามารถสร้างสายใยของความสัมพันธ์ที่ดีได้

4. อ่านหนังสือกับลูก

5. แสดงออกความรักให้ลูกรู้ว่ารักอย่างตรงไปตรงมา อย่าพูดเพียงคำพูด แต่ต้องแสดงออก

6. ใช้วิธีเลี้ยงลูกเชิงบวก (Positive Parenting) คือการเลี้ยงดูตามพัฒนาการและการเติบโตของเด็ก ดังนี้

  • 0 – 3 เดือน: เด็กจะมีสัญชาตญาณการเอาตัวรอด เขาตื่นและจะร้องตลอดเพื่อต้องการอยู่รอด
  •  4 - 6 เดือน: ใยประสาททางสมองจะแตกเร็ว เริ่มเคลื่อนตัวได้ สายตาเริ่มปกติแล้ว ชอบจ้องมอง ชอบทำเสียง
  • หลัง 6 เดือน: เด็กจะเคลื่อนที่ได้ และจะรู้สึกสนุกกับการเคลื่อนที่ ซึ่งทำให้พ่อแม่เริ่มรู้สึกว่าการเลี้ยงดูเป็นเรื่องที่ยากขึ้น
  • 2 ขวบ: เดินได้ วิ่งได้ อยากทำทุกอย่างเอง แต่สมองส่วน EF (Executive Function) ยังไม่ได้พัฒนา ซึ่งเป็นสมองขั้นสูง มีหน้าที่วางแผนไปถึงเป้าหมาย มีเหตุมีผล มีจริยธรรม และการควบคุมตัวเอง เพราะฉะนั้น
  • คุณพ่อคุณแม่ยังไม่จำเป็นที่จะต้องหาเหตุผลกับลูกในวัยนี้
  • 4 – 6 ขวบ: จะสร้างตัวตน จะทำทุกอย่างได้เหมือนผู้ใหญ่ จะสังเกตบุคลิก คำพูด และจะเคลื่อนไหวเร็วมาก 

ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าใจพัฒนาการของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่ก็จะไม่โกรธลูก และจะหาวิธีเลี้ยงลูกแบบถูกต้อง 

7. ให้ความรักกับลูกก่อน และเมื่อเขาได้รับจากคุณพ่อคุณแม่ ลูกจะเริ่มรักตัวเอง และจะรักผู้อื่นเป็น

อุปสรรคเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งเดียวที่คุณพ่อคุณแม่จะช่วยให้ลูกก้าวข้ามอุปสรรคขวากหนามต่าง ๆ เหล่านั้นก็คือ การเลี้ยงดูลูกแบบให้ความรักที่แท้จริง (Positive Parenting) ซึ่งจะทำให้ลูก ๆ เกิดความเข้มแข็งจากภายใน หรือที่เรียกว่า Resilience เป็นทักษะแห่งปรับตัวต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เห็นคุณค่าในตัวเอง รักและเคารพตัวเอง และสุดท้ายเขาจะเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนรอบข้าง และต่อโลก

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

ภัยในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้กับเด็กๆ ของเรา ดังนั้นผู้ปกครองหรือคุณครูควรสอนตั้งแต่เด็กเล็กๆ เพื่อให้เด็กมี ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน
Starfish Academy

ฝึกเด็กเล็กเอาตัวรอดจากภัยในชีวิตประจำวัน

Starfish Academy
1186 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

โรคโรคติดต่อ Covid-19 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทุกคนรู้เท่าทันโรค รู้จักป้องกันตนเองและเด็กไม่ให้ติดต่อ โ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19
Starfish Academy

ทำอย่างไรให้ลูกปลอดภัยจากโรคติดต่อ Covid-19

Starfish Academy
7762 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1394 ผู้เรียน
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

ออทิสติก เป็นความผิดปกติของพัฒนาการเด็กรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัว โดยเด็กไม่สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมและการสื่อคว ...

Starfish Academy
Starfish Academy
ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก
Starfish Academy

ทักษะชีวิตสำหรับเด็กออทิสติก

Starfish Academy
3082 ผู้เรียน

Related Videos

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
41:00
Starfish Academy

Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก

Starfish Academy
175 views • 2 ปีที่แล้ว
Starfish Trend Talk | EP.2 | : คำพูดกดทับที่ครูและผู้ปกครองไม่ควรใช้กับเด็ก
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
30:16
Starfish Academy

การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”

Starfish Academy
77 views • 2 ปีที่แล้ว
การเดินทางของแม่ เมื่อฉันเป็น “พื้นที่ปลอดภัยของบ้าน”
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
363 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน
34:03
Starfish Academy

เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

Starfish Academy
34 views • 1 ปีที่แล้ว
เลี้ยงลูกแบบไหน ไม่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน