ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง : ตอนที่ 2

ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง : ตอนที่ 2

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์เหมือนกันตรงที่ ต้องทดลอง ต้องปฏิบัติ เรียนฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แล้วครูไม่พาเด็กทำ Lab ก็ไม่แตกต่างจากอ่านตำราทฤษฎีปั่นจักรยาน 3 ปี แต่ไม่เคยปั่นจักรยานเลย เด็กก็ไม่รู้จริง ทำไม่ได้ ทำไม่เป็น เอาไปใช้ต่อไม่ได้ เพราะขาดประสบการณ์การทดลอง (Lab)พระพุทธศาสนาก็เช่นกัน ต้องทำ ต้องสัมผัส จึงจะเห็นความจริง เข้าใจความจริง เห็นคุณค่า ถ้าเขาไม่เห็นคุณค่า จะนำไปใช้จริงกับตนเอง และใช้กับผู้อื่นได้อย่างไร หากเด็กเรียนแล้วไม่ได้เกิดประโยชน์

เรียนแล้วไม่มีความหมาย หรือคุณค่าต่อชีวิตเขา เด็กเยาวชนก็มีสิทธิที่จะไม่อยากเรียนก็ได้เพราะเรียนไปแล้ว มีแต่ “ความทุกข์ เครียด เซ็ง น่าเบื่อ..ฯลฯ และเมื่อเด็กเยาวชนปฏิเสธพระพุทธศาสนาอนาคตข้างหน้าก็อย่าคาดหวังว่าพวกเขาจะมาทำนุ บำรุง รักษา และปกป้องพระพุทธศาสนาอีกต่อไป เพราะตัวเขาเข้าไม่ถึง “แก่นธรรมคุณค่า”ของพระพุทธศาสนาแต่อย่างใด

ใครคือผู้ทำให้เด็กเยาวชนเข้าไม่ถึงแก่นธรรมเรื่องนั้น ๆ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้สอน พระสอนศีลธรรมเป็นตัวแปรหลักสำคัญในเรื่องนี้เพราะเป็นผู้จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน แต่การจัดการศึกษาคงไม่ใช่อยู่แค่ตัวผู้สอนแน่นอนและมีเหตุผล ปัจจัยอะไรบ้างเกี่ยวข้อง สิ่งที่เด็กเยาวชนเขาเรียกร้อง คือ ผล (รับผลกระทบ)...หลักสูตร เนื้อหาเรียนเยอะมาก ๆ อันนี้ก็น่าเห็นใจครูครับ ตัวชี้วัดก็บีบรัดครู ครูเครียด เด็กก็เครียด...

แต่ที่หนักกว่าหลักสูตรแกนกลาง คือหลักสูตรธรรมศึกษาของแม่กองธรรมนะครับ หนักว่าหลักสูตรแกนกลางอีก ก็บังคับให้สอบอีกหนักกว่าอีก ก็พาเด็กทุจริตสอบเสียเอง..วิธีการสอน ..ตัวผู้สอนเอง และการวัดประเมินผล เน้นจำสอบ คือ เหตุปัจจัยถ้าเหตุปัจจัยดี จะต่อว่ากล่าวโทษเด็กไปใยด้วยเหตุการณ์เช่นนี้ ทำให้นึกถึงประโยคที่ Dr. Heidi Hayes Jacobs (2010) ได้เคยเสนอคำถามไว้ ในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน สู่ศตวรรษที่ 21 ไว้ 3 ข้อว่า

  • What do we cut? เราควรตัดสิ่งใดออกไปบ้าง?
  • What do we keep? เราควรเก็บรักษาสิ่งใดไว้บ้าง?
  • What do we create? เราควรสร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง?

สรุปคือ วิชาพระพุทธศาสนา ควรจะต้อง ตัด-เก็บ-สร้างสรรค์สิ่งใดบ้าง? ที่สอดคล้อง และเหมาะสมต่อการนำไปใช้จริงของเด็กเยาวชนในสภาวะการณ์ปัจจุบัน เมื่อเป็นเช่นนี้ หวังว่าผู้ใหญ่ คณะสงฆ์ ต้องมีความใจกว้างมากพอ มีความเมตตาสูง อย่ากล่าวโทษต่อว่าเด็กลูกหลานว่า ไม่ดี หัวรุนแรง “ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง” โดยไม่ตัดสินอาจจะทราบว่า เขาทุกข์มากแค่ไหน เขาต้องกล้ามากแค่ไหนที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องกับความทุกข์ที่เขาไม่ได้ก่อขึ้นแล้วทบทวน แก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานานควรตัด - เก็บ – สร้างสรรค์อะไรใหม่ เพื่อให้เด็กเยาวชน “ได้นำธรรมไปทำจริง”ให้มีความสอดคล้องกับสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

ผมเตือนพระ มา 2-3 ปี หลายเวที ระวังนะท่านเรื่องนี้ผมเตือนสติพระสอนศีลธรรม ลูกศิษย์หลายเวทีหากท่านไม่ปรับวิธีคิด เปลี่ยนวิธีการสอนเพื่อให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับเด็ก จัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองความสนใจใฝ่รู้ของเด็กท่านอาจไม่มีโอกาสได้เข้าไปสอนในโรงเรียนอีกเลยเพราะการจัดการเรียนรู้ของท่านไม่มีคุณภาพพอที่จะบ่มเพราะปัญญา ศีลธรรม ความสุขให้กับผู้เรียนได้สถานศึกษาขาดความมั่นใจ ไม่นิมนต์อีกเลย และเด็กเยาวชนจะไม่อยากเรียนพุทธศาสนา เขาจะออกมาเรียกร้องพวกท่านนะ!! 2-3 ปี ที่ผมเคยพูดไว้หลายเวทีหลายจังหวัด ก็เกิดขึ้นคำถามคือ พระเอง ครูผู้สอนเองจะทำให้ห้องเรียนพระพุทธศาสนาเป็นห้องเรียนที่มีชีวิต เป็นห้องเรียนที่ความสุขในการเรียนรู้ ใฝ่รู้ เป็นห้องเรียนที่มีความหมาย และมีคุณค่าต่อผู้เรียนได้อย่างไร การจะช่วยบ่มเพราะปัญญา คุณธรรม ความสุข ให้กับเด็กเยาวชน อยากสอนให้เป็นคนดี อย่างน้อยๆ ผู้สอน / พระเอง ต้องมีของ D 4 อย่างกับตัว ดังนี้

D1 : #มีความประพฤติดี

อย่าหนีสอน ทิ้งห้องเรียน ไม่รับผิดชอบหน้าที่ รักการสอน เป็นแบบอย่างที่ดีของคุณธรรมด้านต่าง ๆ จะสอนอบายมุข ยังสูบบุหรี่อยู่เลย ท่าที การจัดการอารมณ์ตนเองให้เป็น มีสติ ฯลฯ สรุป จรณะ (Soft skills) ท่านต้องมีดี ถึงจะสอนเขาให้ได้ดี นึกถึงพระสารีบุตรที่เห็นแบบอย่างที่ดีจากพระอัสสชิ แล้วปฏิบัติตามครับ ชัดเจนสุด

D2 : #แผนการสอนดี

พระต้องเขียนแผนเป็น และต้องเป็นแผนเน้นกระบวนการใฝ่รู้ (AL) มากกว่า การท่องจำสอบ

เด็กเยาวชนไม่ใช่ก้อนหิน ขอนไม้ เขามีความรู้สึก พระไม่ใช่จะพูดจะทำอะไร ตามใจตนเอง หากลูกเขาเป็นอะไรขึ้นมา รับผิดชอบไหวไหม หยิบหนังสือขึ้นมาอ่านแล้วเข้าห้องสอน ขาดการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่เข้าถึงแก่นธรรม คุณค่า ถ้าแบบนั้นสอนเด็กให้เชื่ออันตรายมาก เพราะจำหลักได้แต่เข้าไม่ถึงแก่นธรรมเรื่องนั้น ๆ เด็กเอาไปใช้จริงไม่ได้ สอนแค่จำ คืออะไร มีเท่าไร อะไรบ้าง (Knowledge) เอาแค่จำสอบ สอนพุทธะต้องตื่นรู้ การตื่นรู้ต้องฝึกฟังให้ทำ ตั้งคำถามสอนคิด เปิดโอกาสให้คิดมากกว่าการสอนให้เชื่อตาม ถ้าไม่ได้ฝึกสมองคิดพัฒนาปัญญาเด็ก เมื่อเจอปัญหาในชีวิตเขาจะแก้ปัญหา (ทุกข์) ไม่ได้

D3 : #สอนดี

มีความเมตตา สร้างบรรยากาศอบอุ่น สนุก เร้า ท้าทาย เดินให้ทั่วถึงเด็ก ปรับจากห้องเรียนเงียบ ต่างคนต่างทำ เป็นห้องเรียนชีวิตมีความหมาย เรียนเป็นกลุ่มสอนกันเป็นทีม ทำหน้าที่เป็นโค้ชใช้คำถาม คือสอนคิด ใช้คำถามกระตุ้นส่งเสริมการคิดสู่ปัญญา ให้มองเห็นความจริงของชีวิต ฯลฯ...

D4 : #เด็กคุณภาพดี

เด็กต้องเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เด็กได้ฝึกฟัง (สุตะ) ได้ฝึกคิด (จินตะ/โยนิโสมนสิการ) ได้ฝึกทำ (ภาวนา/ลงมือปฏิบัติ) นำไปสู่เกิดสมรรถนะ ทักษะ คุณธรรม ศีลธรรม และผลการเรียนดี ทักษะวิธีการสอน สำคัญกว่าเนื้อหาที่สอนก็จริง แต่ที่สำคัญกว่าทักษะวิธีการสอน คือ จรณะ ความประพฤติ คุณธรรมของท่าน ความประพฤติไม่ดีก็สอนเด็กได้ไม่ดี ลูกเป็นอย่างที่พ่อแม่/ผู้ปกครองเป็น ศิษย์เป็นอย่างที่ครูเป็น ต้องมีทั้งจรณะ (Soft skills) วิชาการ (Hard skills) ควบคู่ผสานสอนเหนี่ยวนำกันไป

ให้กำลังใจพระสอนศีลธรรม และผู้สอนมั่นฝึกฝนพัฒนาการสอนครับ รักการสอน รักการพัฒนาเด็กเยาวชน เป็นแบบอย่างของความดี ความงาม ความจริงให้กับเด็กเยาวชนลูกศิษย์ “ศีลธรรม” คือรากฐานความสุขของสังคม คนขาดศีลธรรม คือ โรคป่วยของสังคม ช่วยเด็ก บ่มเพาะเด็กเยาวชนต่อไปด้วยจิตใจที่เมตตาของท่านครับ

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...

Starfish Academy
Starfish Academy
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
Starfish Academy

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

Starfish Academy
6885 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

เรียนรู้การสอนลูกให้เป็นคนดีตั้งแต่วัยเด็ก ให้ลูก รู้จักคุณธรรมจริยธรรมส่งเสริมการมีความเมตตาต่อผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม
Starfish Academy

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

Starfish Academy
1129 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

การเรียนรู้บทบาทภาระหน้าที่และเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และอุดมการณ์ของความเป็นครู

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6688 ผู้เรียน

Related Videos

พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา
04:20
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
311 views • 5 ปีที่แล้ว
พุทธธรรมประยุกต์เพื่อการศึกษา
สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น
05:01
Starfish Academy

สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น

Starfish Academy
397 views • 3 ปีที่แล้ว
สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
01:32:22
Starfish Academy

Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ

Starfish Academy
89 views • 7 วันที่แล้ว
Starfish Talk วPA วงวิพากษ์แผน วPA คลินิกวิทยฐานะ
ADOBE SPARK VIDEO
10:24
Starfish Academy

ADOBE SPARK VIDEO

Starfish Academy
1638 views • 4 ปีที่แล้ว
ADOBE SPARK VIDEO