ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง : ตอนที่ 1

ฟังเสียงหัวใจของเขาอย่างลึกซึ้ง : ตอนที่ 1

เหตุการณ์เร็วไวจริงครับ สองอาทิตย์ที่แล้วผมได้พูดเรื่องนี้กับลูกศิษย์ที่เป็นพระสอนศีลธรรมแกนนำอีสานรูปหนึ่ง ขณะนั่งรถไปอบรมครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับงานวิจัย ป.เอก นักศึกษาท่านหนึ่งที่ต่างจังหวัด ผมบอกว่า..

“..ท่านคอยดูนะ เดี๋ยวเด็กเยาวชนจะออกมาประท้วงวิชาพระพุทธศาสนาแน่นอน ยก 3 นิ้ว ท่านคอยดู”

“..ต่อไปพวกท่านจะเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียนยากขึ้น หรืออาจจะไม่ได้เข้าไปสอนที่โรงเรียนอีกเลย”

“.. พระจะพากันออกมาบ่น หรือประท้วงว่า ทำไมไม่ให้พระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน”

“..ท่านรู้ไหมตอนที่พระเรามีโอกาสเข้าไปสอน ไปทำหน้าที่ พระเราหลายรูป (เยอะมาก) ไม่สนใจ ไม่ใยดี ไม่รักการสอน ไม่ไปสอน ไม่ห่วงเด็ก จะเอาแต่เงินแต่ไม่สอน ไม่ทำใบรายงานส่ง หน้าที่บกพร่องการสอนก็มีปัญหา”

“..ท่านรู้หรือยัง หลักสูตรฐานสมรรถนะตัวใหม่ที่ สพฐ. จะประกาศใช้ปี 65 ทั้งประเทศไม่มีวิชาพระพุทธศาสนา สัญญาณเตือนมาแล้วนะท่าน”

“..ปี 61 ผมพูดเตือนสติ บนเวทีปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาให้คนร่วมงานเกือบ 500 คนจากทั่วประเทศที่โรงแรมปรินซ์พาเลซ ฟังว่า “ไม่มีพระเข้าไปสอนศีลธรรมในโรงเรียน ไม่น่ากลัวและเลวร้าย เท่ากับมีพระเข้าไปสอนในโรงเรียนแล้วสอนแบบผิด ๆ จนเด็กเบื่อ ไม่มีความสุข เครียด เบื่อพระ เบื่อธรรมะ หนีห่างพระพุทธศาสนา และเอาไปแก้ปัญหาชีวิตไม่ได้ เพราะไม่ได้ฝึกสอนแก้ แต่เน้นสอนท่องจำตัวหนังสือ”

“..ไม่มีใครทำร้ายโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้ดี เท่ากับพวกท่านเอง (พระสอนศีลธรรม)”

“..เด็กถูกวางยาพิษสอนแบบผิด ๆ มาเนินนานหลายปีแล้ว ด้วยการสอนแบบผิด ๆ พากันไปสอนแต่ให้เด็กท่องจำตัวหนังสือไปสอบ เหมือนนกแก้วนกขุนทอง ไม่ได้สอนแก่นธรรม หรือสอนคุณค่า และไม่สอนเครื่องมือปัญญาการใช้ชีวิตให้เขา ผ่านการสัมผัสสัมพันธ์จริง ๆ ..”

“.. แต่ปัญหาการนำธรรมะสู่ใจเด็กเยาวชนด้วยการสอนไม่เหมาะสมสมัยนี้ของพระ/ครูเอง ไม่ได้พึ่งเกิดขึ้นท่าน เกิดขึ้นหลายทศวรรษ”

“.. แต่ถ้าเราไม่ลุกขึ้นมาทำอะไรให้ถูกต้องบ้างเลย ปัญหานี้ยิ่งจะซ้ำเติมทำร้ายเด็กเยาวชน ส่งผลด้านลบกลับมาที่พระพุทธศาสนา และสถาบันพระพุทธศาสนา”

ดังเช่นเหตุการณ์ได้เกิดขึ้นแล้วตอนนี้ นี่คือเรื่องราวที่บอกกล่าวลูกศิษย์วันนั้น เพราะผมรู้เห็นปัญหามานานมากแล้ว เราจึงพาท่าน และเครือข่ายแกนนำมาร่วมกันสร้างชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาขับเคลื่อน ช่วยเหลือท่านอื่น ๆ ไปด้วยกัน

อะไรทำให้เด็กเขาเรียกร้องอย่างนั้น เหตุ และปัจจัยที่แท้จริง ที่เกี่ยวข้องคืออะไรบ้าง ความรู้สึกของเยาวชนที่เรียกร้องเป็นอย่างไร? ทำไมเขาจึงรู้สึกอย่างนั้น ผู้ใหญ่ คณะสงฆ์ ครู พระสอนศีลธรรม จะเข้าใจความรู้สึกของเด็ก ๆ เยาวชนเหล่านั้นได้อย่างไร?

การตั้งคำถามเช่นนี้จะทำให้เราไม่ด่วนสรุปตัดสิน ว่าเด็กเยาวชนเหล่านั้นเป็นคนไม่ดี หัวรุนแรง แต่การถามทำให้เรามีสติ ใคร่ครวญ ทบทวน ไตร่ตรอง (Reflect) ความจริงที่เกิดขึ้น

พระพุทธศาสนามีเป้าหมายสอนเด็กให้เกิดอะไร สอนชีวิตตามความจริงที่เป็นอยู่ สอนให้มีความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) หรือปรับชุดทิฏฐิ (Mindset) ร่องความคิด ความเชื่อแบบผิด ๆ ให้มีความถูกต้อง สอนให้คิดเป็น รู้จักคิด แก้ปัญหาเป็น คิดแยกแยะวิเคราะห์ให้เห็นความจริงตามสภาวะของสิ่งนั้น สืบสาวหาเหตุและผล ..เป็นต้น.. บ่มเพาะคุณธรรม ความดี ความงาม ความจริงและความสุขในการเรียนรู้ (ฉันทะ) ใฝ่รู้ ใฝ่ดี อยากแสวงหา ลงมือทำความดี เป็นต้น...

หากเป้าหมายการสอนพระพุทธศาสนา ดังกล่าว ครู พระสอนศีลธรรม สอนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning) ที่มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับความสนใจผู้เรียน เช่น PBL, MBL, PJBL, CBL, RBL, Contemplative Education, Transformative Learning, ABL (Ariyasacca, อริยสัจ) Wise reflections (โยนิโสมนสิการ) Design Thinking, G-A-M-M (เกม ศิลปะ เพลง สื่อหนัง คลิปสั้น) เป็นต้น..

ผู้สอนปรับเปลี่ยนบทบาทจากนักพูด นักบรรยาย นักป้อนหลัก/ข้อธรรม เนื้อหาให้เด็กเสพจำเท่านั้น ไปสู่การเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ (Fa) ให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านการลงมือทำมากกว่าเรียนท่องจำตัวหนังสือ ผู้สอนเป็นนักตั้งคำถาม (ปุจฉา) อย่างมีพลัง (PQ) เป็นโค้ชคอยกระตุ้นให้เด็กคิดเป็น ให้เด็กอยากตอบ (วิสัชนา) สู่นักสร้างสรรค์ธรรม ค้นหา ค้นพบความจริงของชีวิต (ธรรมมะ/แก่นธรรม) ด้วยตนเองผ่านกลุ่ม/เดี่ยว เป็นต้น มีการไตร่ตรองสะท้อนการเรียนรู้ (Reflection) หลังการจัดกิจกรรม (AAR) เพื่อให้เข้าใจตน เข้าใจคน เข้าใจโลก เข้าใจชีวิตมากขึ้น

การสอนพระพุทธศาสนาด้วยวิธีดังกล่าว หากผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เช่นนี้เขาจะมีความสุขในการเรียนรู้พระพุทธศาสนาไหมคำตอบชัดอยู่แล้วจากการทดลองวิจัยว่า ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้คิดเป็น ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ใฝ่สร้างสรรค์ และสามารถตอบเป้าหมายการสอนพุทธศาสนาสำหรับเด็ก และเยาวชนได้ทุกข้อเช่นเดียวกัน คงไม่มีเด็กเยาวชนคนไหนออกมาเรียกร้องเพื่อให้สังคมมาทำร้ายความสุขของตนเองหรอก เพราะเขามีความทุกข์ (น่าเบื่อ เซ็ง เครียด ฯลฯ) จากการเรียนพระพุทธศาสนาใช่ไหม เขาเรียนแล้วไม่เกิดประโยชน์ ใช่ไหม เขาเรียนแล้วไม่มีความหมาย และคุณค่ากับตัวเขาเองใช่ไหม 

เราต้องตั้งสติ ทบทวนไตร่ตรอง ย้อนถามตนเอง ในบทบาทพระผู้สอน ครูผู้สอนเสียก่อน

1) เราชัดใน “แก่นธรรม” ของเรื่องนั้น ๆ ไหม (ถ้าไม่รู้จักแก่น วิเคราะห์แก่นธรรมไม่เป็น ท่านก็จะพาเด็กท่องจำเนื้อหาคืออะไร เรื่องเป็นยังไง มีเท่าไร อะไรบ้าง วนเวียนแบบนี้)

2) ทำไมต้องสอนเรื่องนั้น เขาจะได้ประโยชน์อะไรคุณค่า/แก่นธรรมที่เขาควรได้ คืออะไร (ถ้าเขาได้แก่นธรรม ได้คุณค่า ที่เหลือเขาจะไปศึกษาค้นหาแสวงหาด้วยตนเอง เรียนแล้วได้ Passion คนเราไปต่อเอง ถ้าไม่คือจบ)

3) ใช้กระบวนการอะไรที่จะพาเด็กเข้าถึงแก่นธรรม (ต้องไม่ใช้การบรรยาย เทศน์ บอกท่องให้จำ)

4) จะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กเข้าถึงแก่นธรรม หรือคุณค่าจากเรื่องที่เรียนนั้น ๆ (ประเมินผลที่สมรรถนะ เขาสามารถทำอะไรได้ จากสิ่งที่เขารู้ เขาทำ และคุณค่า รวมถึงการได้สะท้อนความรู้สึกนึกคิดออกมา จากพฤติกรรมเชิงบวกที่แสดงออกมา เป็นความรู้ขาออก ซึ่งเครื่องมือการสอนที่หลากหลายได้กล่าวไว้ข้างต้น จะประเมินผลชัดเจน) 

หากการสอนหลักธรรม พระพุทธศาสนา เด็กไม่เกิดสมรรถนะทางการเรียนรู้พระพุทธศาสนา ขาดความสามารถในการ “นำธรรมไปทำ”นั่นคือ ความล้มเหลวอย่างใหญ่หลวง และผลเสียหายใหญ่หลวงที่ตามมา คือ เด็กเขาจะเบื่อ วิชานี้ เบื่อพระ เบื่อพระพุทธศาสนาแค่เห็นหน้าพระ ผู้สอน วิชานี้ (ส่วนใหญ่เป็น)เขาตั้งชุดความคิด (Mindset) อกุศล ลบ ๆ รอแล้ว

นั่นคืออะไรรู้ไหมครับ “การสอนผิดวิธี” และไม่เหมาะสมกับเด็ก และความสนใจใฝ่รู้ (ฉันทะ) คือ บ่อนทำลายศรัทธาของเด็กเยาวชนที่มีต่อพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว.. จบเลย! นี่คือการทำร้ายความรู้สึกของเด็กเยาวชนไม่ให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยไม่มีเจตนา (อวิชชา) แบบเนียนที่สุด และน่ากลัวที่สุด เพราะเด็กยาวชนเข้าไม่ถึงพระรัตนตรัย ลงท้ายก็กล่าวโทษเด็ก

ปัจจุบันเด็กเยาวชนส่วนใหญ่ก็ไม่อยากเข้าวัดอยู่แล้วการสอนแบบผิดวิธี ยิ่งไปกดทับความรู้สึกเด็กเพิ่มเติมแทนที่การศึกษาพระพุทธศาสนา จะต้องจัดกระบวนการทำลายอวิชชา-ตัณหาเพื่อเสริมสร้าง ปัญญา-กรุณา กลับไปตอกหมุดเสริมอวิชชา-ตัณหา ให้หนักไปอีก วิชาพระพุทธศาสนาไม่ใช่วิชาที่จะจับเด็กมานั่งฟัง “เน้นท่องจำๆ ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว”

(ส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ โดยเฉพาะพระสอน) “การจำหลักธรรม” เป็นขั้นต้นของปัญญาขั้นต่ำสุด การเรียนรู้เด็กต้องจำอยู่แล้ว

การสอนให้จำ มีหลายวิธี เช่น ให้เด็กท่องจำเลย ให้เรียนรู้ด้วยการลงมือทำและอีกหลายวิธีการ แต่ความรู้สึกในวิธีการจำนั่นต่างหาก สำคัญปัจจุบันปัญหาคือ การสอนหยุดแค่จำนี้สิครับการคิดขั้นสูงให้เด็กคิดเป็น ไม่ได้ฝึกคิดซึ่งขัดแย้งกับการสอนพระพุทธศาสนาที่มีเป้าหมายสอนให้คนเกิดปัญญา 

“คิดให้ถูกวิธี” (อุปายมนสิการ)

“คิดให้เป็นระบบ” (ปถมนสิการ)

“คิดให้มีเหตุผล” (การณมนสิการ)

“คิดดีให้เป็นกุศล” (อุปปาทกมนสิการ)

โดยใช้โยนิโสมนสิการ คือ เครื่องมือในการพัฒนาการคิดที่หลากหลาย หรือเครื่องมือที่หลากหลายเหมาะสมกับเด็ก เป็นต้น

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

การเรียนรู้บทบาทภาระหน้าที่และเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และอุดมการณ์ของความเป็นครู

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7049 ผู้เรียน
เทคโนโลยีดิจิทัล
ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
basic
2:00 ชั่วโมง

เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์

การวัดผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการอำนวยความสะดวก ลดภาระงานเอกสาร และการประม ...

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

เครื่องมือช่วยวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบเรียลไทม์

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy

Related Videos

สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น
05:01
Starfish Academy

สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น

Starfish Academy
397 views • 3 ปีที่แล้ว
สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
428 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
83 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7679 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”