ทำไมต้องมี วันพิธีไหว้ครู

ทำไมต้องมี วันพิธีไหว้ครู

ให้คุณค่าอะไรแก่เรา ผู้เป็นศิษย์ คำตอบที่หลายคนได้ ก็จะอยู่ประมาณนี้

  • แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อคุณครู
  • แสดงความเคารพต่อคุณครูผู้ให้สติปัญญา
  • เปิดโอกาสให้ศิษย์ขอขมากรรมคุณครู
  • ให้ครู และศิษย์มีความรักผูกพันกันมากขึ้น
  • สร้างความสามัคคีในหมู่คณะนักเรียน
  • รักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทย
  • และ/หรืออื่น ๆ ที่มีคุณค่าต่อตนเอง

แต่ละคนอาจจะได้คุณค่าไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นว่าจะต้องได้คุณค่าครบทุกข้อ อย่างน้อย "คุณค่า" ที่เกิดกับตัวเราเอง ในวันพิธีไหว้ครูก็น่าจะพอมีอยู่บ้าง คำถามคือ "คุณค่า" ที่ได้นั้น คืออะไร เราจะรักษาคุณค่านั้น ไว้ได้อย่างไร คำถามชวนคิดต่อ ในวันพิธีวันไหว้ครูมีไหมที่บางคนกระทำแล้ว รู้สึกว่าไม่ได้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าอะไร

กับตนเองแต่อย่างใดเลย การจะรู้สึกเช่นนั่นก็ไม่ใช่ความผิด หรือความเลวร้ายแต่อย่างใด เช่นกัน แต่หากการได้ให้โอกาสตัวเองกลับมาทบทวน ไตร่ตรอง ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในวันพิธีไหว้ครูช่วงที่ผ่าน ๆ มาจะทำให้เรารับรู้ ได้คำตอบแจ่มชัดยิ่งขึ้น เป็นการถอดบทเรียน (aar) ชีวิตตัวเรากับวันพิธีไหว้ครู ด้วยคำถามสะท้อนคิดง่ายๆ เช่น

  • ความรู้สึกขณะทำ-หลังจากทำพิธีไหว้ครูเป็นอย่างไร
  • ความรู้สึก ความคิดต่อคุณครูเป็นอย่างไร
  • ทำไมเราจึงมีความรู้สึก ความคิด เช่นนั้น
  • มองเห็นตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างไรบ้างจากพิธีไหว้ครู
  • การกระทำของตนเองในพิธีไหว้ครูเป็นอย่างไร
  • เมื่อพิธีไหว้ครูเสร็จสิ้น การแสดงออกของเราต่อครู เป็นอย่างไร
  • ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะช่วยทำให้เราได้มองเห็นภาพความดี ความงาม และความจริงที่เกิดขึ้นกับเราแหลมคมชัดขึ้นรับรู้ได้ว่าอะไรเป็นเครื่องปิดกั้น "ใจ" เรา มีเหตุปัจจัยใดบ้างที่เกี่ยวข้องทำให้คุณค่าไม่ได้เกิดขึ้นกับเราอย่างแท้จริงน่าสนใจว่า "พิธีไหว้ครู" วันนี้สำคัญอย่างไร สำหรับส่วนตัว เป็นครูอาจารย์ให้กับศิษย์และเป็นทั้งลูกศิษย์ของครูอาจารย์จึงมีความเห็นที่มองตรงจากสิ่งที่เกิดจริงกับตนว่า "พิธีไหว้ครู" คือ วันสำคัญของศิษย์ เป็นวันการแสดงออกของผู้ที่ได้ชื่อว่า พร้อมที่จะเป็นนักศึกษา หรือผู้พร้อมจะศึกษาเป็นวันแห่งการเปิดใจ “ยอมรับผู้ที่จะเป็นครู” เพื่อมาทำหน้าที่กัลยาณมิตรคนสำคัญต่อการจัดการศึกษาให้กับศิษย์ ส่งเสริมให้เรารู้ ให้เราคิด ให้เราทำ และนำ (ต้นแบบ) เราไปในทางที่ชอบ ที่ถูกต้องประกอบด้วยคุณธรรม อีกทั้ง ยังเป็นการแสดงออกให้เห็นและเป็นการเตรียมใจของผู้ที่จะศึกษาว่า "เรา (ศิษย์) ละวางมานะลงแล้ว" ต่อจากนี้ไปเราจะไม่มีมานะใด ๆ ต่อครูเลย ในฐานะกัลยาณมิตรคนสำคัญของศิษย์ ผู้เข้ามาส่งเสริมหรือจัดการศึกษาให้กับศิษย์ และเมื่อใดที่ใจของเรา "ละ วางมานะ" ลงแล้ว เมื่อนั้นจึงพร้อมที่จะเป็นศิษย์ที่ดีในฐานะบทบาทของการเป็นผู้ศึกษา หรือเป็นนักศึกษาเล่าเรียนที่ดีด้วย แต่หากใจเรายัง “ละ วางมานะ” ลงไม่ได้ "การเป็นศิษย์ที่ดี" ก็เกิดขึ้นได้ไม่ดีเช่นกัน เพราะใจปิดกั้นช่องทางการรับรู้จากครูเสียแล้ว และยังมีผลต่อแสดงออกถึงความไม่พร้อมต่อการเป็นใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาเล่าเรียนรวมถึงท่าที กริยาพฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกในเชิงลบต่อครู ด้วยเช่นกันทำไม“มานะ”จึงมีผลต่อการเป็นผู้ศึกษา 

.....มานะ เป็นเครื่องกีดกั้นต่อการศึกษาให้สำเร็จ

.....มานะ เป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าทางการศึกษา

.....มานะ เป็นตัวบ่งการชีวิตทำให้ใจไม่เปิดรับรู้ เรียนรู้ เพราะการอวดดี อวดเก่ง การถือตัว ถือตน

พุทธศาสนาให้ความสำคัญกับ “มานะ” มากเพราะเป็นตัวกิเลสใหญ่หนึ่งในสาม คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ เรียกว่า ปปัญจธรรมทั้งสามคือ เป็นตัวบ่งการชีวิต ทำลายบุคคล หรือทำให้โลกให้พังพินาศ อย่างมหาศาลได้

"มานะ" เป็นเรื่องของอำนาจ เป็นคนสำคัญตัวเอง ความอวดดี ความถือตัว ตัวตนสูง ความทะนง สำคัญตนเองมากเกินไป อาการของคนมีมานะจะมีตั้งแต่ระดับที่หยาบสุดไปถึงขั้นรุนแรงสุด อาทิเป็นคนอยากครอบงำ มีความเด่นเหนือคนอื่น ทะยานใฝ่หาอำนาจ ต้องการเป็นใหญ่ถึงขนาดเข่นฆ่าก่อสงครามกันเลยทีเดียว เราเรียกว่า “กูเป็นศูนย์กลางของจักรวาล” เป็นการยึดมั่นในความเป็นตัวกู พุทธศาสนาเราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “อัตตวาทุปาทาน” หรือ “กูเก่ง” ถ้าเมื่อใดก็ตามเราสำคัญว่า "กูเก่ง" เมื่อนั้นเราจะกลายเป็น "คนโง่" ทันทีเพราะการยึดมั่นถือมั่นว่า "กูเก่ง" คำเดียวจะทำให้หยุดการเรียนรู้ หยุดการเป็นใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา เป็นการทำลายศักยภาพตนเองไปด้วย เราจะเห็นได้ว่า ในวันพิธีไหว้ครู เป็นการกระทำของผู้เป็นศิษย์ ด้วยอาการเคารพนอบน้อม ใจที่มาพร้อมจะ "ลดละ สละมานะ" ตนเองก่อนการเรียนในตลอดปีการศึกษา วันนี้จึงเป็นวันดี เป็นวันมงคล เป็นวันที่ศิษย์อาศัยโอกาสนี้ จัดเตรียมการพิธีวันไหว้ครู เพื่อให้วันนี้เป็นวัน "ทำลายตัวมานะ"การถือดี การถือตนของตน (ศิษย์) นั่นเองหากเรา (ศิษย์) ทำให้พิธีไหว้ครูเป็นเช่นนี้ จะเกิดคุณค่าต่อการศึกษาได้อย่างถูกต้อง เกิดเป็นคุณค่าที่งดงาม "ระหว่างครูกับศิษย์"แต่ถ้าไม่เข้าใจความหมายของการไหว้ครู เราอาจทำให้พิธีวันไหว้ครูกลายเป็นวัน "พิธีแข่งมานะ ระหว่างครูกับศิษย"์ กลายเป็นวัน "พิธีกรรมกดมานะของศิษย์" ให้ "ยอมศิโรราบต่อมานะของครู" เหมือนดังเช่นที่กำลังทำเป็นอยู่ก็ได้ สิ่งเหล่านั้นจะกลับกลายเป็นโทษทันที ทำให้วันนี้เป็นวันแห่งการแสดงออกของมานะและ "กลบทับทำลายนิสัยของศิษย์" ให้หมดคุณค่าไปด้วยเช่นกัน

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...

Starfish Academy
Starfish Academy
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
Starfish Academy

“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม

Starfish Academy
6870 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

เรียนรู้การสอนลูกให้เป็นคนดีตั้งแต่วัยเด็ก ให้ลูก รู้จักคุณธรรมจริยธรรมส่งเสริมการมีความเมตตาต่อผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม
Starfish Academy

เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม

Starfish Academy
1127 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4

การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องยาก การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นเรื่องยากยิ่ง เกิดมาแล้วได้พบ พระพุทธศาสนาก็ยิ่งยากนัก อย่าได้ ...

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1497 ผู้เรียน
คุณธรรมและจริยธรรม
ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
2:00 ชั่วโมง

คิดอย่างไรให้เป็นระบบตามแนวหลักของโยนิโสมนสิการ

การเรียนรู้ตามหลักพระพุทธศาสนา ที่เป็นการคิดอย่างมีระบบ ตามหลัก โยนิโสมรสิการ ที่มีวิธีการคิด ดังนี้ -การคิดแบบสืบสาวหาต้น ...

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คิดอย่างไรให้เป็นระบบตามแนวหลักของโยนิโสมนสิการ
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คิดอย่างไรให้เป็นระบบตามแนวหลักของโยนิโสมนสิการ

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
1770 ผู้เรียน

Related Videos

ศาสนา
06:36
Starfish Academy

ศาสนา

Starfish Academy
190 views • 4 ปีที่แล้ว
ศาสนา
พระสงฆ์กับการปฏิรูปการศึกษา
03:53
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระสงฆ์กับการปฏิรูปการศึกษา

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
308 views • 5 ปีที่แล้ว
พระสงฆ์กับการปฏิรูปการศึกษา
พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562
03:38
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
236 views • 5 ปีที่แล้ว
พระสอนศีลธรรมแกนนำ 2562
สนทนาในหนึ่งวันกับพระศรีธรรมภาณี,ดร.
07:54
สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สนทนาในหนึ่งวันกับพระศรีธรรมภาณี,ดร.

สํานักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
359 views • 4 ปีที่แล้ว
สนทนาในหนึ่งวันกับพระศรีธรรมภาณี,ดร.