เปลี่ยนห้องเรียนให้สนุกยิ่งขึ้นผ่าน ‘gamification’

Starfish Academy
Starfish Academy 5161 views • 4 ปีที่แล้ว
เปลี่ยนห้องเรียนให้สนุกยิ่งขึ้นผ่าน ‘gamification’

ถ้าให้เลือกใช้เวลาหนึ่งชั่วโมงอ่านหนังสือ หรือ เล่นเกม เชื่อว่าเด็กหลายคนคงใช้ตัวเลือก

แบบที่สองโดยไม่ต้องลังเล เพราะผู้สร้างเกมตั้งใจออกแบบมาให้ผู้คนใช้เวลาเล่นได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเบื้องหลังความสนุก ดึงดูดเด็ก ๆ นี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับศาสตร์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด ธุรกิจ กิจกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งในห้องเรียน ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า ‘Gamification’

ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/art-bright-brush-child-children-2941706/

‘Gamification’ คือการใช้องค์ประกอบ (Elements) ของเกม เช่น การตั้งเป้าหมาย (Goals) ความสนุก (Fun) การให้รางวัล (Reward) การแข่งขัน (Competition) ผลป้อนกลับ (Feedback) การจัดลำดับ (Level) เป็นต้น มาปรับใช้กับการเรียนการสอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่วม และพัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างต่อเนื่อง เหมือนกับเวลาเล่นเกมที่สามารถจดจ่ออยู่กับการเล่นได้นาน ๆ และมีความพยายามที่จะเล่นให้ผ่านด่านหรือเล่นให้ดีขึ้นในครั้งถัดไป โดยข้อดีหรือจุดเด่นของ Gamification คือ มีความท้าทาย กระตุ้นการแก้ปัญหา ทำให้มองเห็นพัฒนาการของตัวเอง บวกกับการให้รางวัลช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็ก ๆ อยากพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น สำหรับการปรับใช้ Gamification ในแง่ของการศึกษา สามารถทำได้หลายวิธี โดยเราได้รวบรวมไอเดียที่น่าจะเป็นประโยชน์กับการเรียนการสอนในห้องเรียนมาฝากคุณครูกันในบทความนี้

1. ทำให้ความผิดพลาดเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ เช่นเดียวกับเกมที่แพ้แล้วเริ่มใหม่ได้ เพราะเวลาเล่นเกมแพ้ มักจะมีคำว่า ‘Try Again’ หรือ ‘ลองเล่นอีกครั้ง’ จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็ก ๆ จะยังพยายามต่อไปเพราะรู้สึกมีความหวังที่จะเริ่มต้นใหม่ ไม่ได้รู้สึกแพ้ไปตลอดกาล ซึ่งถ้าเราสามารถสร้างบรรยากาศในลักษณะนี้ โดยเปลี่ยนจากคำว่า ‘ทำไม่ได้’ มาเป็น ‘ยังทำไม่ได้’ และเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ลองผิดลองถูกก็จะช่วยให้พวกเขามีแรงจูงใจ ไม่ยอมแพ้ไปง่าย ๆ 

ขอบคุณภาพจาก https://pixabay.com/photos/class-learning-brother-1416904/ 

2. เปิดโอกาสให้มีการ Feedback ทันที เหมือนกับเกมที่ผู้เล่นจะรู้ทันที ว่าเลือกตัวเลือก หรือเดินไปในทิศทางที่ถูกหรือผิด เพราะการรู้ Feedback ช่วยให้ผู้เล่นไปต่อได้ถูกทิศ เพราะเริ่มจับทางได้ว่าอะไรถูกผิด ดังนั้นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการให้ และรับ feedback นั้นจะช่วยให้เด็ก ๆ พัฒนาตัวเองได้ถูกทิศทางมากยิ่งขึ้น เพราะบางทีพวกเขาอาจมีแรงจูงใจอยากจะทำให้ดีขึ้นแล้ว แต่ไม่รู้ว่าควรจะเริ่มจากจุดไหนก่อน ซึ่งการใช้วิธีนี้อาจจะทำได้ทั้งครูให้ feedback นักเรียนรายบุคคล (กรณีที่นักเรียนจำนวนน้อย) หรือแบ่งกลุ่มให้เด็ก ๆ ทำงานร่วมกัน และมีกิจกรรมที่เขียน feedback เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้สมาชิกในกลุ่ม

3. ทำให้เห็นความคืบหน้าชัดเจนขึ้น เหมือนกับเกมที่มีระดับ (Level) ของผู้เล่น ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเกรด คะแนน หรือจัดลำดับเด็กแต่ละคน แต่เป็นลำดับให้เขาได้เห็นพัฒนาการของตัวเองโดยเน้น “การแข่งกับตัวเอง” เป็นหลัก โดยอาจจะให้เด็ก ๆ ตั้งเป้าหมายของตัวเอง หรือช่วยกันตั้งเป้าหมายร่วมกันว่าแต่ละระดับมีเกณฑ์อย่างไรบ้าง เช่น ทำเป็นสมุดบันทึก แถบสี สติกเกอร์ ที่เป็นสัญลักษณ์บอกระดับของตัวเองเก็บไว้กับตัวเอง

4. เพิ่มความสนุกให้การบ้าน หรือโครงงานต่าง ๆ ด้วยการทำเป็นภารกิจแสนท้าทาย เช่น เปลี่ยนจากการให้โจทย์เลขกลับไปทำแล้วมาเฉลยในวันถัดไป มาเป็นการให้โจทย์เลข แล้วพรุ่งนี้จะนำมาเป็นรหัสตู้เซฟปริศนา ถ้ารหัสถูกก็จะได้รางวัลในตู้เซฟนั้น โดยอาจจะเป็นขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมิชชั่นอื่น ๆ เป็นด่านถัดไป

5. เรียนรู้อย่างมีทางเลือก หลายครั้งที่ในเกมจะมีตัวเลือกให้ผู้เล่น เช่น ใช้ไอเท็มนี้เป็นตัวช่วยหรือต่อเวลาในการเล่นให้เพิ่มขึ้น เพราะผู้เล่นแต่ละคนมีวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับเด็ก ๆ ที่มีความถนัดหรือทางเลือกที่จะไปถึงเป้าหมายแตกต่างกันออกไป ซึ่งคุณครูสามารถนำคอนเซ็ปต์นี้มาใช้ในห้องเรียน เช่น เปลี่ยนจากการสอบวัดผลเพียงอย่างเดียว มาเป็นวิธีที่หลากหลายยิ่งขึ้น อาจเป็นการพรีเซ็นต์ การประดิษฐ์สิ่งของ โครงงาน หนังสั้น หรือวิธีอื่น ๆ โดยมีเกณฑ์สำคัญคือสิ่งเหล่านี้ต้องแสดงถึงความเข้าใจครอบคลุมในสิ่งที่เรียนไป ซึ่งจะช่วยให้เด็ก ๆ ฝึกการเชื่อมโยง ประยุกต์ใช้สิ่งที่เรียนกับความถนัดหรือชีวิตประจำวันของตัวเองมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจจะต้องใช้เวลากับการคิดเกณฑ์การวัดผลให้เท่าเทียมกัน

6. ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ : แม้ Gamification จะไม่จำเป็นต้องใช้เกมหรือเทคโนโลยี แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเด็กยุคนี้คุ้นเคย และใกล้ชิดกับเทคโนโลยีจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเลยก็ว่าได้ ดังนั้นการนำเทคโนโลยี หรือแพล็ตฟอร์มออนไลน์เข้ามาสอดแทรกระหว่างเรียน เช่น Kahoot Class Dojo Class Craft ก็ช่วยดึงความสนใจให้เด็ก ๆ อยากมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในห้องเรียนมากขึ้นได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าสิ่งที่เด็ก ๆ สนใจนอกห้องเรียนก็สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเกม หรือเรื่องอื่น ๆ เช่น ซีรีส์ การ์ตูน หนัง เพลง เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาถอดบทเรียนเพื่อปรับใช้ให้ประโยชน์กับการเรียนการสอนในห้องเรียนได้เช่นเดียวกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก

●     https://www.teachthought.com/pedagogy/how-to-gamify-your-classroom/

●     http://touchpoint.in.th/gamification/

●     https://blog.pttexpresso.com/gamification/

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

เรียนรู้ ทำความเข้าใจภาพรวมของการประเมินเพื่อขอมี / เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู” (วPA)

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

การประเมินเพื่อขอ เลื่อนวิทยฐานะใหม่ “ตำแหน่งครู”

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
7050 ผู้เรียน
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

เครื่องมือช่วยครูในการเรียนออนไลน์ในคอร์สนี้ แนะนำเครื่องมือที่น่าสนใจ 3 ตัวช่วย คือ Google Earth, Line Open Chat แ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์
Starfish Academy

Micro Learning เครื่องมือช่วยสอนการเรียนออนไลน์

Starfish Academy
เครืองมือครู
ด้านความร่วมมือการ ทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
basic
1:30 ชั่วโมง

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

คุณภาพของผู้เรียนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในตัวผู้เรียนเอง แล้วกระบวนการเรียนการสอนที่ครู จัดให้เป็นสิ่งสำคัญต่อผลสัม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1
Starfish Academy

Micro Learning เทคนิคการจัดการเรียนการสอน 1

Starfish Academy
1035 ผู้เรียน
เครืองมือครู
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator

Coaching Through MBTI : Myers-Briggs Type Indicator เป็นคอร์สที่จะทำให้คุณครูได้เปลี่ยนจากครูที่ทำหน้าที่สอนให้เป็นโ ...

Starfish Academy
Starfish Academy
โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator
Starfish Academy

โค้ชชิ่งสู่เส้นทางที่ใช่ด้วย MBTI : Myers-Briggs Type Indicator

Starfish Academy

Related Videos

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
03:45
Starfish Academy

เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”

Starfish Academy
7726 views • 3 ปีที่แล้ว
เทคนิคการสอน สอนอย่างไรให้ได้ “สมรรถนะ”
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
03:43
Starfish Academy

Starfish Country Home School Foundation [ENG]

Starfish Academy
84 views • 3 ปีที่แล้ว
Starfish Country Home School Foundation [ENG]
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
05:24
Starfish Academy

TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข

Starfish Academy
429 views • 2 ปีที่แล้ว
TSQP Kick Off แนวคิดห้องเรียนแห่งความสุข
สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น
05:01
Starfish Academy

สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น

Starfish Academy
397 views • 3 ปีที่แล้ว
สรุปโครงการ TSQP ทั้ง 2 รุ่น