ชวนครูมารู้จัก Competency-based education
ระบบการศึกษาไทยถูกออกแบบมาให้เด็กทุกคนเรียนรู้ และวัดผลในรูปแบบเดียวกัน รวมทั้งแบ่งสายการเรียนหลักเป็นสายวิทย์ และสายศิลป์ ทั้งที่นักเรียนแต่ละคนไม่ได้ชอบหรือถนัดเรื่องเดียวกันไปซะทั้งหมด รวมทั้งในชีวิตจริง มีสาขาอาชีพที่แยกย่อยมากกว่าแค่สายวิทย์ และสายศิลป์อีกด้วย เมื่อระบบการศึกษารูปแบบเดิมไม่ได้ตอบโจทย์ผู้เรียน จึงมีการออกแบบการศึกษาที่จะช่วยให้พวกเขา ได้พัฒนาศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ และทำให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ หนึ่งในนั้น คือ ระบบการศึกษาที่เรียกว่า “Competency-based Education”
ขอบคุณภาพจาก freepik
Competency-based Education : ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
Competency-based Education เป็นระบบการศึกษาที่สนับสนุนให้นักเรียนได้ค้นหาความชอบ ความถนัด และตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ด้วยตัวเอง โดยความแตกต่างของ Competency-based Education กับการศึกษารูปแบบเดิม (Traditional Education) ได้แก่
- ระบบการศึกษาแบบเดิม มองว่าความก้าวหน้าหรือพัฒนาการของเด็ก ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความถนัด หรือความเชี่ยวชาญ ขณะที่ Competency-based Education จะพิจารณาเรื่องความถนัดของเด็ก ๆ ด้วย
- เดิมทีจุดมุ่งหมายของการเรียนขึ้นอยู่กับระดับชั้น หรือช่วงวัย แต่ Competency-based Education จุดมุ่งหมายจะขึ้นกับความจำเป็น และความต้องการของเด็ก ๆ
- โดยทั่วไปเด็กกลุ่มที่ได้รับความสนใจ หรือดูแลเป็นพิเศษมักจะเป็นเด็กที่คะแนนสูงกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ แต่ Competency-based Education เด็กทุกคนจะได้รับการสนับสนุน และดูแลอย่างเท่าเทียมกัน ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
- การศึกษาในรูปแบบเดิมจะประเมินนักเรียนแบบเดียวกันทั้งหมด ส่วน Competency-based Education จะปรับรูปแบบการประเมินให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนมากขึ้น
- การศึกษาในรูปแบบเดิม ผลลัพธ์ส่วนใหญ่จะเน้นการท่องจำ และความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม ขณะที่ Competency-based Education จะเน้นความเข้าใจเชิงลึก และการนำไปปรับใช้กับสถานการณ์ที่หลากหลาย
- เดิมจะมีการประเมินศักยภาพของผู้เรียนผ่านเกรด การสอบ และคะแนนวัดผล ขณะที่ Competency-based Education จะประเมินผ่านความเชี่ยวชาญ หรือพัฒนาการของเด็ก ๆ ที่เพิ่มมากขึ้น
ขอบคุณภาพจาก macrovector
ข้อดีและข้อจำกัดของ Competency-based Education
สำหรับข้อดีของ Competency-based Education เช่น
- มีความยืดหยุ่น เท่าเทียม เพราะไม่ได้มองแบบแบ่งแยกส่วนว่าเป็นเด็กเก่ง เด็กระดับกลาง ๆ หรือเด็กที่ไม่เก่ง แต่มองว่าทุกคนมีเรื่องที่ถนัด/ไม่ถนัดแตกต่างกัน ซึ่งควรจะได้รับการสนับสนุนในแบบของเขาเอง
- เด็ก ๆ จะได้เตรียมพร้อม และโฟกัสกับทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในอนาคตอย่างเต็มที่ เพราะเข้าใจความถนัด และความต้องการของตัวเองทำให้รู้ว่า ควรจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะไหนเป็นลำดับแรก ๆ
- ผู้เรียนจะรู้สึกว่ามีส่วนร่วมมากขึ้น เพราะได้เป็นคนกำหนดทางเดินของตัวเอง สร้างแรงจูงใจในระยะยาวให้เขามีความรับผิดชอบ และอยากจะพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นนอกจากข้อดีแล้ว การศึกษารูปแบบนี้ยังมีข้อจำกัด และเงื่อนไข เช่น
- ต้องมีการกำหนดนิยามของทักษะ หรือความสามารถ (Competency) แต่ละอย่าง รวมทั้งการประเมินที่สามารถวัดผลได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และใช้เวลานาน
- ครูต้องคอยติดตามความก้าวหน้า หรือพัฒนาการด้านการเรียนของเด็ก ๆ อย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด ทำให้มีข้อมีข้อจำกัดเรื่องจำนวนนักเรียนต่อจำนวนครูผู้สอนหนึ่งคน
การปรับใช้การเรียนการสอนแบบ Competency-based Education
ตัวอย่างการปรับใช้การเรียนการสอนแบบ competency-based Education อ้างอิงจากหลักสูตรมัธยมปลายของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ไม่ได้แบ่งสายการเรียนเป็นวิทย์-สายศิลป์ แต่ปรับรูปแบบให้คล้ายมหาวิทยาลัยที่จะมีวิชาพื้นฐาน และวิชาเฉพาะทางให้เลือกตามความสนใจ โดยจะต้องเรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดไว้ ดังนั้นเด็ก ๆ จะสามารถวางแผนหรือออกแบบการเรียนของตัวเองได้ โดยมีครูคอยให้คำปรึกษา ซึ่งครูจะมี 3 บทบาทหลัก ได้แก่ “ที่ปรึกษา” ของนักเรียนและผู้ปกครอง “ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง” ที่ถ่ายทอดความรู้เชิงลึก และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน และ “กระบวนกร” ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพื้นฐานของเด็ก ๆ (สำหรับคุณครูที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่ (https://satit.tu.ac.th/high-school#:~:text=Competency-Based%20Education%20เป็นระบบ,มีระบบสนับสนุนการเรียน )
ขอบคุณข้อมูลจาก
Related Courses
Play and Learn classroom design
Play and Learn classroom design ออกแบบห้องเรียนให้สนุกด้วยเล่นปนเรียน เรียนรู้ความหมายของการเล่นปนเรียน ประ ...
ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
การเรียนรู้บทบาทภาระหน้าที่และเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และอุดมการณ์ของความเป็นครู
ลักษณะพระสอนศีลธรรมมืออาชีพ
การสอนคณิตศาสตร์ (3R)
คณิตศาสตร์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป แค่เรามีเทคนิคดีๆ มาเป็นตัวช่วยในการสอน คณิตศาสตร์ของเราก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่น่าเบื่ ...
สร้าง Self-Esteem เสริมคุณค่าให้กับนักเรียนอย่างไร
Self-Esteem หรือ การเคารพและเห็นคุณค่าของตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต เพื่อให้สามารถรับมือกับอารมณ์และสถานการ ...