ชวนมารู้จักกับโรค Tics อาการยุกยิกที่น่ากลัวกว่าที่คิด

Starfish Academy
Starfish Academy 22962 views • 4 ปีที่แล้ว
ชวนมารู้จักกับโรค Tics อาการยุกยิกที่น่ากลัวกว่าที่คิด

ชวนมารู้จักกับโรค Tics อาการยุกยิกที่น่ากลัวกว่าที่คิด

ถ้าพูดถึง โรคติกส์ (Tic disorder) คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับโรคนี้เท่าโรคอื่น ๆ ที่เกิดในเด็ก เราจึงอยากจะชวนมารู้จักกันค่ะ เพราะนอกจะทำให้เด็ก ๆ มีพัฒนาการทางร่างกายไม่เต็มที่แล้ว โรคนี้ยังส่งผลต่อจิตใจอีกด้วย โรคนี้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งเพราะ บิลลี่ อายลิช (Billie Eilish) หนึ่งในนักร้องวัยรุ่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งในขณะนี้ก็เป็นโรคนี้เช่นกัน

โรคติกส์ในเด็ก (Tics) หรือภาวะกล้ามเนื้อกระตุก คืออะไร?

โรคติกส์ (Tic disorder) อาการ tics เกิดจากการที่สมองสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ (Motor tics) โดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น กระพริบตา อ้าปาก ยักไหล่ หรือแขนขากระตุก เป็นต้น หรือ อาจมีการเปล่งเสียงขึ้น ( Vocal Tics) จากลำคอ หรือจมูก โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจเช่น ไอ กระเอม สูดจมูก ส่งเสียงในลำคอ บางครั้งอาจมีพูดซ้ำ หรือสบถเป็นคำหยาบได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการทั้งสองอย่างเลย คือ Motor และ Vocal tics จึงเรียกว่า โรคทูเร็ตต์ อาการเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก (ไม่เกิน18ปี) พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

โรคติกส์ (Tic disorder) เกิดจากอะไร? 

เป็นโรคที่เกิดจากหลายสาเหตุค่ะ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงแน่ชัดของโรค แต่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นความบกพร่องในการทำงานของสมองอย่างหนึ่งที่มีสาเหตุเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน 

  1. จากพันธุกรรม เช่น การมีคนในครอบครัว หรือญาติพี่น้องมีประวัติเป็นโรคติกส์ โรคย้ำคิดย้ำทำ โรคสมาธิสั้น ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้นได้
  2. ความผิดปกติของสมอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมกล้ามเนื้อในส่วนของการเคลื่อนไหว ถ้าสมองส่วนนั้นทำงานผิดปกติไป ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคติกส์ได้
  3. การติดเชื้อ เบต้า-ฮีโมไลติก สเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ (Group A beta-hemolytic streptococcus ) ทำให้มีอาการอักเสบเจ็บคอ และเชื้อเข้าไปอยู่ในส่วนของสมอง ทำให้ภูมิคุ้มกันเข้าไปทำปฏิกิริยากับส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อ
  4. สาเหตุไม่ชัดเจน แต่อาจเกิดจากความเครียด หรือตื่นเต้นเกินไป รวมถึงปัจจัยทางจิตใจ เช่น ความเครียดทางด้านจิตใจ

อาการที่แสดงว่าลูกอาจเสี่ยงกับโรคติกส์ (Tic disorder) 

อาการมักเริ่มจาก จากกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Motor tics) เช่น กระพริบตา ย่นจมูก กระตุกมุมปาก หรือจากกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ยักไหล่ สะบัดคอ และเกิด Vocal tics (การออกเสียงที่ผิดปกติจากโรค tics)   ขึ้นตามมา ซึ่งอาจเป็นเพียงเสียงกระแอมจนไปถึงขั้น สบถคำหยาบคาย (แต่พบได้ไม่บ่อยหนัก) ลักษณะสำคัญของโรคคือ

  1. เกิดอาการขึ้นมาเอง เด็กไม่ได้ตั้งใจทำให้เกิดอาการนั้น เพราะอาการเกิดจากความปกติในสมอง แต่บางครั้งจะสามารถกลั้นหรือห้ามการเคลื่อนไหวได้ชั่วคราว อันนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตุอาการลูก ในเด็กเล็กอาจถามว่าหนูทำแบบนั้นไปทำไม? หรือทำไปเพื่ออะไร? 
  2. มีสติรู้ตัว ขณะเกิดอาการเด็กต้องมีสติรู้ตัวดี (ต่างจากอาการชักซึ่งจะไม่มีสติ) จะมีความรู้สึก และบอกได้ว่ากำลังจะเกิดอาการ เช่น คัน หรือตึงๆ ส่วนนั้น ตามมาด้วยอาการ เช่น เด็กอาจจะบ่นว่าปวดจมูก ตามมาด้วยย่นจมูกยุกยิกแบบไม่มีเหตุผล (ไม่มีกลิ่นฉุน หรืออาการภูมิแพ้) 
  3. อาการเดิม เป็นซ้ำ ๆ ความถี่ของอาการจะไม่เท่ากัน บางรายเป็นเกือบทุกวัน เป็นเรื้อรังนานกว่า 1 ปี แต่อาการอาจเป็น ๆ หายๆ เป็นช่วง บางครั้งเว้นระยะห่างออกไปแต่ไม่นานเกิน 3 เดือน ก็จะกลับมามีอาการใหม่ ดังนั้นหากให้แน่ใจ ควรปรึกษาคุณหมอจะดีกว่าค่ะ 
  4. ยิ่งเครียดยิ่งเป็น อาการอาจเป็นหนักมากขึ้นถ้าถูกทัก ดุว่า หรือห้ามไม่ให้ทำ หรือมีความเครียด ความกังวล ไม่ว่าทางร่ายกาย หรือจิตใจ เมื่อเด็กกลั้นอาการ พยายามไม่กระพริบตา หรือยักไหล่ และอาการจะเป็นน้อยลงเมื่อผ่อนคลาย หรือแทบจะไม่มีอาการเลยขณะนอนหลับ หากพบว่าลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ ก็ควรตระหนักได้ว่าลูกอาจจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ค่ะ

โรคติกส์ (Tic disorder) รักษาได้ด้วยความเข้าใจ

แม้ปัจจุบันจะมีการรักษาโรค tics มีหลากหลายวิธี ทั้งการใช้ยา และพฤติกรรมบำบัด หรือแม้แต่บางครั้งที่อาการไม่มาก อาจหายเองได้เมื่อโตขึ้น การรักษานั้นก็ตามแต่คุณหมอจะพิจารณา และตามอาการที่ลูกเป็น แต่พ่อคุณแม่ และครอบครัวมีส่วนช่วยให้ลูกดีขึ้นจากอาการของโรคได้ ด้วยความเข้าใจ เห็นใจ และเข้าใจว่าอาการเกิดจากความบกพร่องในการทำงานของสมองบางส่วน ไม่ได้ตั้งใจหรือแกล้งทำ ไม่สามารถควบคุมอาการได้ และอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีภาวะเครียด ดังนั้นการให้ความเข้าใจ ไม่ควรพูดทัก ห้ามปราบ ดุ หรือเพ่งเล็งที่อาการของโรค จะช่วยลดอาการของโรคได้

โรค tics จึงไม่เป็นเพียงโรคที่เกิดปัญหากับทางร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อจิตใจ และพัฒนาการทุกด้านของลูกด้วย แต่ก็ไม่ได้ทำให้ลูกไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ ดังตัวอย่างของบิลลี่ อายลิช (Billie Eilish) หนึ่งในนักร้องวัยรุ่นชื่อดัง ก็เผชิญกับโรคนี้อยู่เช่นกัน แต่ด้วยความพยายามที่จะเอาชนะอุปสรรคทางร่างกาย บิลลี่จึงกลายเป็นนักร้องที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่ง ในระดับโลกได้เช่นกัน

มาร่วมเรียนรู้กับ Starfish Labz

แหล่งเรียนรู้และชุมชนออนไลน์เพื่อนักการศึกษาและผู้ปกครอง

ลงทะเบียน

Related Courses

การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
ด้านความสัมพันธ์ การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง การรู้จักสังคม
basic
2:00 ชั่วโมง

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

เด็ก LD คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ การรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม อาจช่วยให้ผู้ป่วยพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ได้อย่างเต็ม ...

Starfish Academy
Starfish Academy
เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี
Starfish Academy

เรียนรู้และเข้าใจเด็กแอลดี

Starfish Academy
การเลี้ยงลูกที่มีความต้องการพิเศษ
การรู้จักตนเอง การบริหารจัดการตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กออทิสติก เพื่อให้เป็นตัวช่วยในการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเด็กกลุ่มนี้

Starfish Academy
Starfish Academy
การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก
Starfish Academy

การส่งเสริมทักษะเด็กออทิสติก

Starfish Academy
1394 ผู้เรียน
พัฒนาการเด็ก
การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

เรียนรู้ความสำคัญ ตัวอย่างกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย แนวทางการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการด้านร่า ...

Starfish Academy
Starfish Academy
พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร
Starfish Academy

พัฒนาการด้านร่างกายสำคัญอย่างไร

Starfish Academy
6591 ผู้เรียน
การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม การรู้จักตนเอง
basic
2:00 ชั่วโมง

แนะนำหลักสูตร well being

คอร์สเรียนนี้จะชวนให้ทุกคน กลับมาดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กๆ กันนะคะ เพราะทั้งสองเรื่องนี้ จะเป็นประโยชน์โดยตรง ...

แนะนำหลักสูตร well being

แนะนำหลักสูตร well being

Starfish Labz

Related Videos

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
08:32
Starfish Academy

สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง

Starfish Academy
363 views • 2 ปีที่แล้ว
สอนลูกรู้จักรักและเคารพสิทธิของตนเอง
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
11:57
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
224 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 3 สัมพันธภาพ ความรัก & ความผูกพัน
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION
13:50
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
128 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 4 เล่นให้ได้ใจ INTERACTION
ตอนที่ 2 ก้าวแรก   เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ
16:40
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
603 views • 4 ปีที่แล้ว
ตอนที่ 2 ก้าวแรก เมื่อลูกเป็นเด็กพิเศษ