สร้างอะไรยากสุดในชีวิต
ชีวิตความเป็นพระหนุ่มเณรน้อย สร้างตั้งแต่วัด ห้องน้ำ ศาลา โบสถ์ กำแพงวัด เมรุ ก่อร่างสร้างอาคารเรียนให้กับพระเณรได้เรียน ทั้งการทุ่มเทกายกับใจ และ ผ่านทั้งปัจจัย วิถีหัวใจคนเป็นครูทุกคนแล้ว คงไม่มีอะไรสุขใจไปกว่าการเห็นลูกศิษย์ที่สอน เรียนจบ ได้งานทำสุจริต ประสบความสำเร็จ นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด การสร้างคนให้ไปสร้างคนต่อได้ชื่อว่ายากแล้ว การสร้างพระสงฆ์ที่มี "มิจฉาทิฐิต่อการสร้างคน พัฒนาคน" ได้ชื่อว่า ยากยิ่งกว่า แน่นอนว่า คงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก สำหรับพระสงฆ์ที่มี Mindset ทิฏฐุปาทาน ยึดติดกรอบความคิด ความเชื่อ มุมมอง ประสบการณ์ วิธีการสอน ทฤษฎี ค่านิยมที่เคยสั่งสมมา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเผยแผ่ การสอนศีลธรรม การพัฒนาคน รวมถึงการพัฒนาตัวท่านเองด้วยและ ส่งผลเสียต่อพระพุทธศาสนา หากไม่ปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีสอนให้ถูกต้อง ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับผู้เรียนยุคใหม่แต่ประสบการณ์ทำงาน 10 กว่าปีที่ผ่านมาพิสูจน์แล้วว่า ได้ผลสำเร็จเชิงประจักษ์ตั้งแต่ก่อนให้เครื่องมือ และวิธีการพัฒนาใดหากเริ่มต้นด้วย "สัมมาทิฐิ"คือ "เชื่อ และศรัทธาว่ามนุษย์พัฒนาได้"เพราะการศึกษา (สิกขา) เป็นการฝึกฝนพัฒนา เชื่อในตัวคนที่เราจะไปพัฒนาว่าเขาพัฒนาได้ถึงแม้ว่าคนนั้นจะไม่เชื่อในตนเองก็ตามเชื่อในตัวครู เชื่อในตัวพระ การศึกษา การสอน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานด้านการศึกษา การพัฒนาคน เขาจะเชื่อเราได้อย่างไรแม้ตัวเราเองไม่เชื่อว่าคนพัฒนาได้ ฝึกฝนได้คำถามคือ ลึกๆ ในใจคุณเชื่อไหมถ้าไม่เชื่อ ไม่ศรัทธา การพัฒนาคน ก็ล้มเหลว และจะเหนื่อยสุดๆ เพราะใจเรามองคนอื่นแย่เสียแล้วตั้งแต่ยังไม่เริ่มพัฒนา พระพุทธศาสนาย้ำเตือนเสมอว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสร็ฐได้ด้วยการฝึกฝนหรือพุทธพจน์ที่ว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ และการฝึกฝนคน พัฒนาคนให้มีทั้งปัญญา และความประพฤติที่ถูกต้องดีงามด้วยแล้วยิ่งประเสริฐสุดในหมู่เทพ และมนุษย์เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะคือฝึกดีแล้ว นั่นเอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า..วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฐฺโฐ มนุสฺเสสุ ดังนั้น การทำงานด้านการศึกษาการปรับใจ ปรับความคิดของตนเองให้เป็น "สัมมาทิฐิ" ให้ได้เสียก่อนทุกคนฝึกฝน พัฒนาได้ จะเกิดผลเชิงบวกต่อการพัฒนา เพราะเห็นถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้นหลังจากนั้นหาเครื่องมือ และวิธีการพัฒนา
ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับบุคคลนั้นเพื่อปรับเปลี่ยนชุดความคิดการสอนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนสู่การเปลี่ยนแปลงห้องเรียน เด็กเยาวชนมีความสุขในการเรียนรู้ ดังนั้นการสร้าง และพัฒนาพระสงฆ์เพื่อให้สร้างคน พัฒนาคนต่อไปให้มีทั้งวิชชาและจรณะเกิดขึ้นเรียกได้ว่า เป็นมหากุศลอย่างยิ่งทั้งเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาและผลประโยชน์ตกอยู่ที่เด็กเยาวชนครอบครัว ชุมชน สังคม และชาติต่อไปการสร้างพระสงฆ์ให้เปลี่ยนแปลงการสอนพระพุทธศาสนา แม้ได้เพียง 1 รูป คือการเปลี่ยนเด็กอีกหลายร้อยพันคนหากพระสงฆ์ปรับเปลี่ยนการสอนหลายพันหมื่นรูปจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกับเด็กเยาวชน ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต้นไม้ต้นเดียวเป็นป่าไม่ได้จึงต้องอาศัยการร่วมใจพัฒนา เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนศีลธรรมสู่เด็กเยาวชนสงคราม ต้องการผู้กล้าการศึกษา และต้องการจิตวิญญาณครู
Related Courses
“ความกตัญญู” สร้างคนดีให้สังคม
ความกตัญญูทำให้สถาบันครอบครัวและสังคมมั่นคง ซึ่งนับว่าเป็นหลักธรรมพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์รู้จักการกระทำหน้าที่อันเหมาะสมของตนเอง ...
การชะลอการตัดสินต่อพฤติกรรมของนักเรียน
การเรียนรู้เรื่อง ชะลอการตัดสินนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะในการแยกแยะความจริงออกจากความคิดเห็น เพื่อชะลอการตัดสิน ...
เลี้ยงลูกให้ถูกธรรม
เรียนรู้การสอนลูกให้เป็นคนดีตั้งแต่วัยเด็ก ให้ลูก รู้จักคุณธรรมจริยธรรมส่งเสริมการมีความเมตตาต่อผู้อื่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่นและการ ...
การพัฒนาสุขภาวะกาย
คอร์สนี้จะทำให้ได้เรียนรู้ถึงและเข้าใจการสร้างสุขภาพกายที่ดีสำหรับเด็กประถมศึกษา เพราะสุขภาพกายมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กๆ