Active Learning In Science การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก
วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ รูปแบบการเรียนเชิงรุก หรือ Active Learning In Science เปลี่ยนจากห้องเรียนที่มีครูผู้สอนพูดคนเดียวกลายเป็นทุกคนในห้องเรียนมีบทบาทกันทั้งหมด แต่ละคนฉายแววตัวตนของตัวเองออกมา เด็ก ๆ ยกมือตั้งคำถามและตอบคำถามตลอด ซึ่งต่างจากห้องเรียนทั่วไปที่เด็กเข้ามานั่งฟังรับความรู้ มีความตั้งใจฟัง จดลงในสมุด แล้วอ่านตอนสอบเท่านั้น
Active Learning คืออะไร
Active Learning เป็นรูปแบบ การจัดการเรียนรู้ ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น ทำให้บทบาทของผู้เรียนเปลี่ยนจากผู้รับความรู้นั่งฝั่งบรรยายจากครูฝ่ายเดียว ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้
วิธีการสอน แบบ Active Learning ในช่วงแรก ผลลัพธ์คือเด็ก ๆ ถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่อย่างชัดเจน คือ
-กลุ่มที่ปรับตัวได้ไวกับการเรียนแบบ Active Learning
-กลุ่มที่ยังไม่พร้อมกับรูปแบบการเรียนแบบ Active Learning
ด้วยเหตุนี้ ครูต้องกลับมาคิดต่อว่าจะทำอย่างไรจึงจะดึงเด็กที่ยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เข้ามามีส่วนร่วม ครูจึงเข้าไปค้นหาบทเรียนที่อยู่ในรูปแบบการเรียนแบบ active learning เพื่อหาว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบไหนบ้างที่จะกระตุ้นให้เด็กกระตือรือร้นสนใจมากขึ้น หรือค้นหาความถนัดในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็ก ๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่
นำ THINKING BASED LEARNING มาใช้กับวิชาวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร
THINKING BASED LEARNING เป็นรูปแบบการจัดการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์ แนว Active Learning อีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเน้นพัฒนาเด็กให้มีการคิดเป็นลำดับขั้นตอนเพื่อให้เด็กสามารถวิเคราะห์และแยกแยะความคิดของตัวเองที่นำไปสู่ข้อสรุปได้ แล้วนำข้อสรุปนั้นไปแก้ปัญหาต่อไป
การนำ THINKING BASED LEARNING มาอิงกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เห็นผลอย่างชัดเจนว่าเด็กคิดเป็นลำดับขั้นแบบไหนได้บ้าง ตั้งแต่การกำหนดปัญหา ตั้งสมมติฐาน รวบรวมข้อมูล การทดลอง และการสรุปผล โดยครูอธิบายเป็นภาษาที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังนี้
1.การกำหนดปัญหา: อะไรคือปัญหาที่สำคัญ
2.การตั้งสมมติฐาน: การคาดเดาคำตอบ
3.การรวบรวมข้อมูล: ข้อมูลใดบ้างที่จะรวบรวมมาหาคำตอบ
4.การทดลอง: จากสมมติฐาน เราจะแก้ไขปัญหาอย่างไร
5.การสรุปผล: คาดการณ์ผลลัพธ์ ให้เปอร์เซ็นต์ พร้อมให้เหตุผล
การนำ เทคนิคการสอน ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปจับกับการทดลองทำให้เด็กมองเห็นตัวเองชัดเจนขึ้นว่าปัญหาที่เผชิญอยู่คืออะไร จะแก้ไขอย่างไร และคิดเป็นลำดับขั้นตอน การนำ THINKING BASED LEARNING ที่เป็นรูปแบบโครงงานมาใช้โดยอิงกับโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้งการสำรวจ การทดลอง และประดิษฐ์ โดยทำโครงการทดลองและ อบรมครู ให้มีหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างเดียว ส่วนเด็กจะมีหน้าที่หลักคือเลือกสิ่งที่ตนเองถนัดหรือสนใจ และทำงานกลุ่มกับเพื่อน ๆ
โดยเด็ก ๆ จะวางแผนการทดลองในแต่ละสัปดาห์นำมาคุยกับครูว่าควรปรับปรุงส่วนไหน ควรนำเสนอ Final Project แบบไหน หมายความว่าเด็กเป็นผู้นำโครงการทั้งหมดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำปรึกษาและปลายภาคเรียนจัดนิทรรศการและการอภิปรายในห้องเรียน เด็กกลุ่มที่สนใจการสำรวจแต่ไม่ได้ทำการทดลองด้วยตนเองจะได้เรียนรู้ด้านการทดลองและการประดิษฐ์จากเพื่อนอีกกลุ่ม เด็กต่างเล่าเรื่องความรู้และประสบการณ์แลกเปลี่ยนกัน สุดท้ายแล้วเด็ก ๆ จะผลงานของกลุ่มตนเองออกมา
ห้องเรียนเปลี่ยนไปเมื่อมี Active Learning
การสอนวิทยาศาสตร์ ในแบบ Active Learning ช่วยให้เด็ก ๆ มีความสุขและความมั่นใจเมื่อได้นำศักยภาพและความถนัดของตนเองออกมาใช้มากที่สุด เด็กจะสนุกกับการเรียนกับคลาสที่ได้เป็นตัวของตัวเอง กระตุ้นหรือเร้าความสนใจของผู้เรียนให้สนุกกับการมาเรียนมากขึ้น เปลี่ยนจากห้องเรียนที่ครูพูดคนเดียว กลายเป็นห้องเรียนที่ทุกคนมีบทบาทกันทั้งหมด แต่ละคนฉายแววตัวตนของตัวเองออกมา กระตือรือร้นตั้งใจฟังและยกมือตอบคำถามตลอด ครูจะเห็นพัฒนาการของเด็กอย่างชัดเจน ต่างจากช่วงแรกที่เด็กยังไม่รู้จักตัวเอง มานั่งฟังจากครูและจดลงสมุดอย่างเดียวเพื่ออ่านตอนสอน
การเรียนแบบ active learning ส่งผลให้เด็กรู้จักตัวเองมากขึ้น กล้านำเสนอ กล้าแสดงความคิดเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ และมั่นใจกับสิ่งที่พูด ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในห้องเรียน ทำให้ห้องเรียนมีชีวิตชีวา มีการคิดตามและตอบคำถามครู มีความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ในห้องมากขึ้น การทำให้ห้องเรียนเป็น Active Learning เป็นการเปลี่ยนเด็กให้ก้าวออกจากกรอบและกล้าแสดงออกมากขึ้น
📍 สนใจเนื้อหา เพิ่มเติม ศึกษารายละเอียดได้จาก
✅ บูรณาการการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3HlaiEr
✅ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ Integrated Instruction : bit.ly/3ukpnm4
✅ บูรณาการ : การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : bit.ly/3J1f8Hr
📍รู้จักกับเราเพิ่มเติม 📍
✅สมัครเรียนออนไลน์ฟรี พร้อมรับเกียรติบัตรกับ Starfish Labz: www.starfishlabz.com
✅ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นประเมินทักษะและสมรรถนะด้วย Starfish Class: www.starfishclass.com
✅ ติดต่อรับบริการด้านการศึกษา Starfish Education Social Enterprise: www.starfishedu.org/
✅ กดติดตามข่าวสารอื่นๆ ของ STARFISH EDUCATION ได้ที่
• FACEBOOK: www.facebook.com/starfishlabz
• FACEBOOK: www.facebook.com/StarfishAcademy2019
• YOUTUBE : Starfish Labz Channel
• INSTAGRAM : www.instagram.com/starfishlabz/
วิดีโอใกล้เคียง
ชวนน้องชิล ผ่อนคลายต้านCovid-19 กับศุภนิมิต
เทคนิคการสอนภาษาไทยแบบ Active Learning สำหรับครูภาษาไทย
การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach วิธีการสอนแบบโครงงาน
Design Thinking กับวิชา IS
คอร์สใกล้เคียง
ปลูกผักไร้ดิน กินเองที่บ้าน (การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์)
ในปัจจุบันทุกคนต้องกักตัวที่บ้านเนื่อง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้ขาดแคลนอาหาร การปลูกผักแบบไร้ดินจึงเป็น ...
เจลล้างมือมีความจำเป็นอย่างไร
การเรียนรู้ 7 ขั้นตอนล้างมือด้วยสบู่เมื่อเด็กๆอยู่ที่บ้าน ความจำเป็นที่ต้องใช้เจลล้างมือ ขั้นตอนการผลิตเจลล้างมือแบบง่ายๆ และประ ...
เมนูถนอมอาหารสำหรับสถานการณ์ COVID-19
การงดการเดินทางที่ไม่จำเป็นอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยควบคุมสถานการณ์ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้ต้องรับประทานอาหารบาง ...
ครูสอน KIDS (คิด)
ครูสอน KIDS (คิด) ชวนคุณครูมาร่วมสร้าง Mindset ใหม่ๆ พร้อมหาไอเดียการตั้งคำถาม เพื่อสอนเด็กให้มีวิธีคิดและทำอย่างไรให้เ ...